แนวทางการพัฒนามาตรการคุ้มครองผู้บริโภคจากกรณีสินค้าไม่ได้มาตรฐานของประเทศไทย

Main Article Content

รัฐสภา จุรีมาศ

Abstract

                จากการศึกษากฎหมายที่มีการบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน พบว่าประเทศไทยยังไม่ปรากฏกฎหมายที่มีลักษณะเป็นการคุ้มครองเจาะจงไปยังสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานที่ได้มีการจำหน่ายไปแล้วให้แก่ผู้บริโภค มีแต่กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคทั่วไปและเป็นในลักษณะของกฎหมายประเภทคุ้มครองเมื่อเกิดความไม่ได้มาตรฐานของสินค้าขึ้นมาแล้วเท่านั้น นอกจากนี้เป็นเพียงมาตรการของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ว่ามาตรฐานสินค้าที่ต้องได้รับรองคุณภาพมาตรฐานอุตสาหกรรมเท่านั้น ยังไม่ครอบคลุมถึงสินค้าในลักษณะอื่นที่อาจไม่อยู่ในข่ายการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ในการเสนอแนวทางที่เหมาะสม การศึกษาโดยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก ตลอดจนการศึกษาเชิงเปรียบเทียบสามารถสร้างข้อเสนอแนะในการตรากฎหมาย


               ทั้งนี้ จากกระบวนการศึกษาเปรียบเทียบตามร่างพระราชบัญญัติความรับผิดต่อสินค้าชำรุดบกพร่อง พ.ศ. .... และกฎหมายของต่างประเทศนำไปสู่การพัฒนากฎหมายที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทย และนำมาสู่ข้อเสนอแนะในการกำหนดมาตรการทางกฎหมายโดยสามารถกำหนดให้เกิดความชัดเจนในเรื่อง 1) การกำหนดความหมายของสินค้าไม่ได้มาตรฐาน บุคคลผู้มีสิทธิเรียกร้อง และผู้ประกอบธุรกิจ 2) การกำหนดเงื่อนไขในการบังคับใช้สิทธิ 3) การกำหนดข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจ 4) การกำหนดมาตรการภายหลังการรับซื้อคืนและการขายสินค้าตามสภาพ และ 5) การกำหนดข้อกฎหมายในการรับประกันสินค้าของผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและสมดุลระหว่างสิทธิของผู้บริโภคและสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจอย่างเป็นธรรม ทั้งยังสามารถยกระดับมาตรฐานสินค้าของประเทศไทยให้มีการพัฒนาขึ้นในอีกระดับหนึ่ง

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กนกพร สุโพภาค. “การธํารงรักษาพนักงาน (EMPLOYEE RETENTION).” วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2553.
ชวินทร์ ลีนะบรรจง. เศรษฐศาสตร์ติดดิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554.
ดาราพร ถิระวัฒน์. สัญญาผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559.
ปกรณ์ นิลประพันธ์. การพัฒนามาตรการคุ้มครองผู้บริโภค [Online]. Available URL: http:// www.lawre form. go.th, 2548 (กุมภาพันธ์, 27).
ลาวัณย์ ถนัดศิลปะกุล. การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจของประชาชน [Online]. Available URL: http://law. stou.ac.th, 2559 (ตุลาคม, 17).
วิชา มหาคุณ. “ทฤษฎีกฎหมาย.” วารสารกฎหมาย 1, 3 (กันยายน 2517): 70-78.
สุรพล นิติไกรพจน์. “กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ.” เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย (นธป.) รุ่นที่ 1. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, 2550.
สุษม ศุภนิตย์. คำอธิบายกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.
อุเทน คำหล้า. รูปแบบเศรษฐกิจ [Online]. Available URL: https://sites.google.com/site/ outenzaa/1 neuxha-bth-reiyn/4-rup-baeb-khxng-sersthkic, 2559 (ตุลาคม, 23).
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.
ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า.
Cohn, Gustav. “Government and Laissez Faire.” The Economic Journal 17, 66 (June 1907): 180–191.
Corradi, Antonella. International Law and Consumer Protection: The history of consumer protection [Online]. Available URL: http://www.nyulawglobal.org/globalex/ International_Law_Consumer_ Protection.html, 2015 (January, 29).
Ebeling, Richard M. Economic Ideas: Adam Smith on Free Trade, Crony Capitalism, and the Benefits from Commercial Society [Online]. Available URL: https:// www.fff.org/explore-freedom/article /economic-ideas-adam-smith-free-trade-crony-capitalism-benefits-commercial-society/, 2016 (December, 19).
Krist, William. Globalization and American’s Trade Agreement: Chapter 3 Trade Agreement and Economic Theory [Online]. Available URL: https://www.wilsoncenter. org/chapter-3-trade-agreements-and-economic-theory, 2019 (May, 22).
Maslow, Abraham H. “A Theory of Human Motivation.” Psychological Review 50 (1943): 340-396.
California Civil Code: Song-Beverly Consumer Warranty Act, Tanner Consumer Protection Act.
Consumer Protection (Fair Trading) Act, Edition 2012, Singapore.
Directive 1999/44/EC of the European Parliament.
Magnuson-Moss Warranty Act, Federal Law, The Magnuson Moss Warranty Federal Trade Commission Improvement Act 1975, USA.
The Product Liability Act, No. 85, 1994, Japan.
The Uniform Commercial Code, USA.
C-65/09, Gebr. Weber GmbH. V. Jürgen Wittmer, 2011 E.C.R. I-05257.