ปัญหาในทางทฤษฎีของการให้: การส่งมอบการให้
Main Article Content
Abstract
บทความนี้ศึกษาปัญหาในทางทฤษฎีของการให้ โดยศึกษาเฉพาะเรื่องการส่งมอบการให้ เนื่องจาก มาตรา 523 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติว่า “การให้นั้น ท่านว่าย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้” คำว่า “สมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้” นี้ มีประเด็นว่า การส่งมอบถือเป็นแบบของการให้หรือไม่ หากไม่ส่งมอบจะมีผลเช่นไร ในเรื่องนี้นักวิชาการของไทยมีแนวคิดที่ต่างกัน โดยเห็นว่าการส่งมอบเป็นแบบของการให้ หากไม่ส่งมอบจะทำให้การให้ตกเป็นโมฆะ และที่เห็นว่าการส่งมอบไม่ใช่แบบของการให้ หากยังไม่ส่งมอบก็มีผลเพียงทำให้สัญญาให้ยังไม่บริบูรณ์และเสร็จเด็ดขาด ความเห็นที่ต่างกันของนักวิชาการในเรื่องนี้มีผลต่อการตีความและการนำบทกฎหมายในเรื่องนี้ไปปรับใช้กับข้อเท็จจริง เพื่อศึกษาปัญหาดังกล่าว บทความนี้จึงได้ศึกษาเปรียบเทียบเรื่องนี้กับระบบกฎหมายฝรั่งเศส เยอรมัน และสกอตพบว่ากฎหมายของประเทศทั้งสามไม่ได้กำหนดให้การส่งมอบเป็นแบบแต่เป็นการทำให้การให้มีผลสมบูรณ์ ดังนั้น จากการศึกษาจึงเห็นว่า การส่งมอบไม่ใช่แบบแต่เป็นการทำให้การให้มีผลสมบูรณ์และเสร็จเด็ดขาดควรแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อความในมาตรา 521 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อให้เข้าใจและปรับใช้ได้ถูกต้อง
Article Details
References
จิ๊ด เศรษฐบุตร. หลักกฎหมายแพ่งลักษณะนิติกรรมและสัญญา. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551.
ตะวัน กุลกาญจนวรรณ. “ปัญหาทางกฎหมายของสัญญาให้ที่มีค่าภาระติดพัน.” วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559.
ปรีชา สุมาวงศ์. กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งนิติบัณฑิตสภา, 2532.
ไผทชิต เอกจริยกร. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรียงมาตรา ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2561.
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. ประมวลบทความกฎหมายแพ่ง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2548.
มุนินทร์ พงศาปาน. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้ เล่ม 1 ภาค 1-2. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2561.
ศักดิ์ สนองชาติ. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา (พร้อมทั้งระยะเวลาและอายุความและข้อสัญาที่ไม่เป็นธรมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญา ที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540). พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติบรรณาการ, 2557.
ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. คำอธิบายกฎหมายลักษณะซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2560.
ศศิภรณ์ นำรอดภัย. “การเรียกคืนทรัพย์สินที่ให้.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย-ธรรมศาสตร์, 2551.
สำเนารายงานการประชุมกรรมการชำระประมวลกฎหมาย พุทธศักราช 2466 (2466). หมายเลขเอกสาร ม-สคก 3/2, หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
สุรพล ไตรเวทย์. การร่างประมวลกฎหมายในประเทศสยาม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2550.
อัครวิทย์ สุมาวงศ์. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งนิติบัณฑิตยสภา, 2557.
Dawson, P. John. Gifts and promises continental and American law Storrs lectures on jurisprudence. New Haven: Yale University Press, 1980.
Hogg, Martin. “Promise and Donation in Louisiana and comparative law.” Tulane European and Civil Law Forum 26 (2011): 14.
Hyland, Richard. Gift: A study in comparative law. New york: Oxford University Press, 2009.
MacQueen, Hector and Martin Hogg. “Donation in Scot Law.” Juridical Review (2012): 1-5.