การนำแนวคิดยุติธรรมชุมชนมาใช้ในการระงับข้อพิพาทจากการบุกรุกแนวเขตที่ดินของรัฐ

Main Article Content

สัจจวัตน์ เรืองกาญจน์กุล

Abstract

                การทับซ้อนกันของแนวเขตที่ดินระหว่างที่ดินของประชาชนกับที่ดินของรัฐ ในปัจจุบันถือเป็นปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการที่ดินและการใช้ประโยชน์ในที่ดินทั้งของรัฐและของประชาชนเป็นอย่างมาก ส่งผลให้เกิดเป็นข้อพิพาทเรื่องแนวเขตที่ดินระหว่างรัฐกับประชาชน และเป็นปัญหาสะสมวนเวียนอยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน บางครั้งรัฐต้องดำเนินการฟ้องร้องและหรือขับไล่ประชาชน ออกจากที่ดินในคดีบุกรุกแนวเขตที่ดินของรัฐ จากกรณีปัญหาดังกล่าว รัฐมีการออกนโยบายและมาตรการทางกฎหมายต่างๆ เพื่อนำมาเป็นแนวปฏิบัติในการลดปัญหาและการฟ้องร้องเป็นคดีข้อพิพาทจากการบุกรุกหรือการทับซ้อนกันของแนวเขตที่ดินระหว่างที่ดินของรัฐกับประชาชน แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปัญหาและปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น ไม่ได้สะท้อนถึงการลดจำนวนคดีหรือข้อพิพาทลงได้อย่างที่ควรจะเป็น เพราะมาตรการทางกฎหมายที่รัฐใช้นั้นมักจะมุ่งเน้นการใช้กระบวนการยุติธรรมกระแสหลักซึ่งเป็นมาตรการเชิงการปราบปรามและลงโทษโดยรัฐเป็นผู้ดำเนินการฝ่ายเดียว โดยขาดกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในลักษณะเชิงไกล่เกลี่ยป้องกันและนับวันยิ่งทวีความขัดแย้งและคดีพิพาทมากขึ้นระหว่างประชาชนกับภาครัฐในเรื่องแนวที่ดินกับพื้นที่เขตอนุรักษ์หรือเขตที่ดินของรัฐ 


                เพื่อลดปัญหาข้อพิพาทและคดีความ ที่รัฐฟ้องร้องประชาชนกรณีการบุกรุกแนวเขตที่ดินของรัฐ ควรนำแนวคิดยุติธรรมชุมชนมาใช้ในการระงับข้อพิพาทแทนการใช้กระบวนการยุติธรรมกระแสหลักเพียงอย่างเดียว  โดยการส่งเสริมให้ประชาชนซึ่งอยู่ในฐานะคู่กรณีพิพาทกับรัฐหันมาให้ความร่วมมือกับรัฐ ในลักษณะความเป็นหุ้นส่วน (Partnership) เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาของชุมชนด้วยตนเองในลักษณะการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการและรับผลจากการดำเนินงานร่วมกัน เมื่อเกิดข้อพิพาทเกี่ยวกับการบุกรุกหรือการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ ควรให้ชุมชนใช้กระบวนการยุติธรรมชุมชนเข้ามาใช้เพื่อแก้ไขปัญหา และเป็นการใช้กระบวนการยุติธรรมชุมชนในเชิงสร้างสรรค์ เช่น การรับเรื่องร้องเรียนผ่านอาสาสมัครยุติธรรมชุมชนหรือโดยศูนย์ยุติธรรมชุมชน และการไกล่เกลี่ยโดยชุมชน และบังคับตามกติกาของชุมชน เป็นต้น  ซึ่งทำให้รัฐและประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและเกิดความสมานฉันท์มากขึ้น

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

กิตติพงษ์ กิตยารักษ์. การพัฒนาระบบยุติธรรมชุมชนในไทยในยุติธรรมชุมชน: บทบาทการอำนวยความยุติธรรมโดยชุมชนเพื่อชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย, 2550.
กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ และคณะ. “ยุติธรรมชุมชน...รากฐานความเป็นธรรมของสังคม.” เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ในงานมหกรรมวิชาการฯ สวก., กรุงเทพมหานคร, 22 มิถุนายน 2555.
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว. กระบวนการยุติธรรมทางเลือก ความคุ้มค่าที่ไม่ควรมองข้าม [Online]. Available URL: https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/646056, 2563 (พฤษภาคม, 10).
กองพัฒนายุติธรรมชุมชน. “บทบาทหน้าที่ของส่วนราชการสังกัดกระทรวงยุติธรรมในการดำเนินงานตามแนวทางการรับและแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ตามนโยบายการอำนวยความยุติธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม.” เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม, 10-11 ธันวาคม 2557.
ข่าวไทยพีบีเอส. แจกโฉนดที่ดินฉบับชุมชนบ้านหลวง [Online]. Available URL: https://news. thaipbs.or.th/content/277565, 2563 (พฤษภาคม, 17).
จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. ระบบยุติธรรมและยุติธรรมทางเลือกแนวการวิเคราะห์เชิงสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.
นิตยา โพธิ์นอก และณัฎฐกาญจน์ ศุกลรัตนเมธี. ระบบยุติธรรมชุมชนในประเทศประชาคมอาเซียน: กรณีศึกษาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า, 2560.
มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. ระบบความยุติธรรมแห่งอนาคตกับสันติสุขในสังคมและชุมชน [Online]. Available URL: https://tdri.or.th/wp-content/uploads/ 2013/07/YE2004_1_06.pdf, 2563 (พฤษภาคม, 3).
วุฒิสาร ตันไชย และคณะ. รายงานการวิจัยโครงการนำร่องเพื่อเตรียมความพร้อมในการขยายบทบาทและภารกิจงานยุติธรรมสู่ท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงยุติธรรมและวิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า, 2554.
วันชัย รุจนวงศ์. ยุติธรรมชุมชน: การสร้างความยุติธรรมโดยชุมชน ใน ยุติธรรมชุมชน: บทบาทการอํานวยความยุติธรรมโดยชุมชนเพื่อชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย, 2550.
วันชัย วัฒนศัพท์. ถวิลวดีบุรีกุล และศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์. คู่มือการเพิ่มพลังความสามารถกระบวนการจัดการข้อพิพาท. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท, 2550.
สำนักงานกิจการยุติธรรม. กระบวนการยุติธรรมทางอาญาไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการยุติธรรม, 2552.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. วาระปฏิรูปที่ 11: ปฏิรูปที่ดินและการจัดการที่ดิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักการพิมพ์สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2558.
สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม, กรอบความเห็นการปฏิรูปประเทศไทยด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม [Online]. Available URL: https://library2.parliament.go.th/giventake/ content_nrcinf/nrc2557-issue3-reform01.pdf, 2563 (พฤษภาคม, 3).
ร่างพระราชบัญญัติยุติธรรมชุมชน พ.ศ. ....
Hardin, Garrett. “The tragedy of the commons.” Science 162, 3859 (December 1968): 1243-1248.
Karp, David R. and Todd R. Clear. “Community Justice: A Conceptual Framework.” Criminal Justice 2 (July 2000): 323-368.
McCold, P. and T. Wachtel. Community is Not a Place. Paper presented at the International Conference on Justice without Violence, Albany, June 5-6 [Online]. Available URL: http://www.realjustice.org/pages/albany.html, 2020 (May, 3).
Wachtel, Ted. Restorative justice in Everyday life: Beyond the Formal Ritual [Online]. Available URL: https://www.iirp.edu/news/restorative-justice-in-everyday-life-beyond-the-formal-ritual, 2020 (May, 3).