ทรัพย์อิงสิทธิ: ทางเลือกใหม่ของการใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์?
Main Article Content
Abstract
บทความนี้กล่าวถึงการใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์โดยทั่วไปที่ใช้อยู่ในปัจจุบันโดยการให้เช่าหรือซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และอุปสรรคทางกฎหมายที่ทำให้การใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น ไม่สามารถทำได้เต็มที่ซึ่งทำให้เป็นที่มาของการตราพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ.2542 ซึ่งยังคงมีข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ภายใต้กฎหมายอยู่มากทำให้ไม่เป็นที่นิยม จนกระทั่งมีแนวคิดในการนำกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิการเช่ามาประยุกต์เป็นสิทธิชนิดใหม่ที่มีวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น อันเป็นที่มาของพระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ.2562 อย่างไรก็ดี พระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ.2562 นั้น ยังคงมีจุดอ่อนและความไม่ชัดเจนในหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของสิทธิที่ก่อตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติการก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิ การทำนิติกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์อิงสิทธิ สิทธิของผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิ การยกเลิกทรัพย์อิงสิทธิ รวมทั้งรูปแบบและกระบวนการในการจดทะเบียนก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิ ซึ่งยังคงต้องรอการออกกฎกระทรวง รวมถึงกฎหมายลำดับรองต่างๆ เพื่อให้มีความชัดเจนและสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเกิดคำถามว่าทรัพย์อิงสิทธินี้จะเป็นทางเลือกใหม่ของการใช้ประโยชน์ ในอสังหาริมทรัพย์เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทยสมดังเจตนารมณ์ในการออกกฎหมาย หรือเป็นเพียงสิทธิในรูปแบบใหม่ที่เป็นทางเลือกที่ไม่มีใครกล้าใช้งาน
Article Details
References
กรมที่ดิน. “หนังสือที่ มท 0515.3/ว 6396 เรื่อง การเรียกใช้ข้อมูลนิติบุคคลจากระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์.” 15 มีนาคม 2561.
กระทรวงมหาดไทย. “หนังสือด่วนที่สุด ที่ มท 0505.4/16900 เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการขอก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิ การจดทะเบียน การออกหนังสือรับรอง ทรัพย์อิงสิทธิ การออกใบแทนหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ การยกเลิกทรัพย์อิงสิทธิ และการเพิกถอนหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิ การออกหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ การจดทะเบียนนิติกรรม หรือการดำเนินการอื่นๆ เกี่ยวกับทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. ....” 16 ตุลาคม 2562.
เพลินตา ตันรังสรรค์. “สรุปการสัมมนาทางวิชาการ ทรัพย์อิงสิทธิ... เครื่องมือใหม่สำหรับนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์.” จุลนิติ (มีนาคม-เมษายน 2562): 59-72.
ไพโรจน์ อาจรักษา. คำอธิบายกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2559.
เรวัติ โฉมศรี, พธู เกสรสุคนธ์ และพราวทัศน์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. ทรัพย์อิงสิทธิ: ทรัพยสิทธิชนิดใหม่ในประเทศไทย [Online]. Available URL: https://www.siampremier.com/ imgadmins/publications/pub_pdf/20191002133251.pdf, 2563 (สิงหาคม, 26).
ลัทธพล เจริญชันษา. ทรัพย์อิงสิทธิกับสิทธิการเช่า [Online]. Available URL: http://www.fpo. go.th/main/getattachment/Department/Bureau-of-Legal-Affairs/8/10496/บทความ.pdf.aspx, 2563 (สิงหาคม, 26).
สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. พระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ.2562 : พร้อมทั้งสรุปสาระสำคัญ ประวัติ ความเป็นมา กระบวนการ และขั้นตอนในการตราพระราชบัญญัติดังกล่าว. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มงานการพิมพ์ สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 2562.
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง. “เปิดรับฟังความคิดเห็น ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. ....” 12 มิถุนายน 2561.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. “มติคณะรัฐมนตรี เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการขอก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิ การจดทะเบียน การออกหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ การออกใบแทน หนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ การยกเลิกทรัพย์อิงสิทธิ และการเพิกถอนหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิ การออกหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ การจดทะเบียน นิติกรรม หรือการดำเนินการอื่นๆ เกี่ยวกับทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ.” 26 พฤศจิกายน 2562.