ประเทศไทยมีกระบวนการล้มละลายสำหรับสถาบันการเงินหรือยัง?

Main Article Content

ภุชงค์ ธีรนันทราพร

Abstract

                สถาบันการเงินมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจ โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงินเพื่อเชื่อมผ่านการรับฝากเงิน และการให้สินเชื่อระหว่างประชาชนผู้ที่ปริมาณเงินส่วนเกินกับประชาชนผู้ที่ต้องการเงินเพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ดังนั้น สถาบันการเงินจึงเป็นองค์กรที่มีปริมาณธุรกรรมสูง และมีความซับซ้อนมากโดยธรรมชาติ รวมถึงการล้มละลายของสถาบันการเงินจึงส่งผลกระทบรุนแรงต่อสภาพเศรษฐกิจโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อจำกัดขอบเขตผลกระทบจากการล้มละลายของสถาบันการเงินจึงจำเป็นต้องสร้างกระบวนการล้มละลายให้เหมาะสมสำหรับสถาบันการเงินโดยเฉพาะด้วย


               คณะทำงานของ Financial Stability Institute (FSI) จึงทำการศึกษาคุณลักษณะเฉพาะของกระบวนการล้มละลายสำหรับสถาบันการเงินจากหลายประเทศ และสรุปเป็นคุณลักษณะสำคัญ 3 ประการของกระบวนการล้มละลายสำหรับสถาบันการเงิน ซึ่งแตกต่างจากกระบวนการล้มละลายของบริษัทปกติ กล่าวคือ วัตถุประสงค์ของการดำเนินกระบวนการล้มละลาย จุดชี้วัดของความเป็นหนี้สินล้นพ้นตัว และผู้ที่มีสิทธิเริ่มต้นกระบวนการล้มละลาย รวมถึงบทบาทของเจ้าหนี้


               ผู้เขียนได้พิจารณาคุณลักษณะเฉพาะของกระบวนการล้มละลายสำหรับสถาบันการเงินทั้ง 3 ข้อข้างต้น ตามหลักเกณฑ์ของ FSI โดยเปรียบเทียบกับกระบวนการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจและการชำระบัญชีสถาบันการเงินแล้วพบว่า กระบวนการดังกล่าวมีคุณลักษณะสอดคล้องกับกระบวนการล้มละลายสำหรับสถาบันการเงินตามผลการศึกษา ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่าประเทศไทยมีกระบวนการล้มละลายสำหรับสถาบันการเงินแล้ว

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน. รายงานประจำปี 2561 [Online]. Available URL: https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutionsDevelopmentFund/About_ FIDF/DocLib_Report/ReportFIDF2561.pdf, 2562 (ตุลาคม, 21).

ธนาคารแห่งประเทศไทย. สถิติสถาบันการเงิน:เงินรับฝาก สินเชื่อ และเงินกู้ยืม [Online]. Available URL: https://www.bot.or.th/Thai/Statistics/FinancialInstitutions/Pages/StatDeposi tsAndLoans.aspx, 2562 (ตุลาคม, 21).

พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551.

พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551.

พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.2551.

สุทธาสินี อาภากร ณ อยุธยา และคณะ. โครงการวิจัยแนวทางการพัฒนาโครงสร้างและระบบการกำกับดูแลระบบการเงินระดับฐานราก [Online]. Available URL: http://www2.fpo. go.th/e_research/ebook/pdf_file/1510629263.pdf, 2563 (กุมภาพันธ์, 10).

Bank for International Settlements. Basel III: A Global Regulatory Framework for More Resilient Banks and Banking Systems [Online]. Available URL: https:// www.bis.org/publ/bcbs189.pdf, 2019 (November, 1).

Baudino, Patrizia and others. FSI Insights on policy implementation No10: How to manage failures of non-systemic bank? A review of country practices [Online]. Available URL: https://www.bis.org/fsi/publ/insights10.pdf, 2019 (September, 18).

Cranston, Ross and others. Principles of Banking Law. 3rd ed. Oxford: Oxford University Press, 2018.

Lastra, Rosa M. International Financial and Monetary Law. 2nd ed. Oxford: Oxford University Press, 2015.

The World Bank. Principles for Effective Insolvency and Creditor/Debt or Regimes [Online]. Available URL: http://pubdocs.worldbank.org/en/919511468425523509/ICR-Principles-Insolvency-Creditor-Debtor-Regimes-2016.pdf, 2019 (October, 22).

UNCITRAL. Legislative Guide on Insolvency Law [Online], Available URL: https:// uncitral.un.org/sites/uncitral.un.org/files/media-documents/uncitral/en/05-80722_ebook.pdf, 2019 (October, 24).