การล้อเลียนงานอันมีลิขสิทธิ์กับกฎหมายลิขสิทธิ์ไทย: กรณีศึกษาปัญหาการตีความว่าด้วยการใช้งานที่เป็นธรรม

Main Article Content

พิศวาท สุคนธพันธุ์
ณัฐพงศ์ สุวรรณอินทร์

Abstract

              การล้อเลียนงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น (“parody”) เป็นประเด็นปัญหาในทางกฎหมายลิขสิทธิ์ที่ได้รับความสนใจในแวดวงกฎหมายและแวดวงวิชาการในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ประเด็นที่ได้รับการถกเถียงกันอยู่บ่อยครั้งก็คือ “parody” (1) เป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงที่มีลักษณะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ และ (2) เป็นการกระทำที่ได้รับยกเว้นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 (ตามที่แก้ไขแล้ว) หรือไม่ นักกฎหมายส่วนใหญ่เห็นว่า “parody” เป็นการกระทำที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของหรือผู้สร้างสรรค์งานนั้น เพราะการล้อเลียนงานของบุคคลใดย่อมต้องทำซ้ำหรือดัดแปลงงานของบุคคลนั้นเพื่อให้ผู้รับสารสามารถเข้าใจได้ว่าเป็นการล้อเลียนงานใด ประเด็นที่ยังต้องถกเถียงกันจึงอยู่ที่ “การล้อเลียนดังกล่าวสามารถได้รับการยกเว้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามมาตรา 32 ของกฎหมายลิขสิทธิ์ไทยหรือไม่”


               ด้วยพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฉบับปัจจุบัน มิได้บัญญัติอย่างชัดแจ้งให้ “parody” เป็นการกระทำ ที่ได้รับการยกเว้นว่าไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ทำให้การอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ในบริบทของการใช้และการตีความสถานะของมาตรา 32 ซึ่งนักกฎหมายมีความเห็นในประเด็นนี้ต่างกันออกไปเป็นสองกลุ่มความเห็น


                บทความฉบับนี้เสนอแนวทางการตีความสถานะของมาตรา 32 อันเกี่ยวกับกรณีของ parody ภายใต้กรอบความตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งได้แก่ Berne Convention และ TRIPS (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Article 13) โดยพิจารณาถึงหลักการตีความสนธิสัญญาภายใต้อนุสัญญา กรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา (Vienna Convention on the Law of Treaties) การตีความเช่นนี้เป็นอีกมุมมอง/ทัศนะหนึ่งและนำไปสู่ความเห็นที่ว่า การตีความมาตรา 32 ควรเป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เมื่อเป็นเช่นนั้น parody ไม่อาจอาศัยข้อยกเว้นว่าด้วยการใช้ ที่เป็นธรรมตามกฎหมายลิขสิทธิ์ไทยได้

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

ชมพูนุช ศิริสวัสดิ์. “การคุ้มครองงานแปลงรูป (Transformative Works) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยและต่างประเทศ.” วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัย- สงขลานครินทร์ 30 (กรกฎาคม 2562): 99-108.

ปริญญา ดีผดุง.“ปัญหาการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายลิขสิทธิ์.” เอกสารประกอบการบรรยายโครงการอบรมหลักสูตรพิเศษ ประกาศนียบัตรกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา รุ่นที่ 3. สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 9 เมษายน - 16 พฤษภาคม 2547.

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 (ตามที่แก้ไขแล้ว).

ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน. คู่มือกฎหมายระหว่างประเทศสำหรับประชาชน [Online]. Available URL: http://library.nhrc.or.th/ulib/document/Fulltext/F05955.pdf, 2562 (เมษายน, 12).

อรพรรณ พนัสพัฒนา. คำอธิบายกฎหมายลิขสิทธิ์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2523.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5843/2543.

คำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ คดีหมายเลขดำที่ ทป. 145/2545คดีหมายเลขแดงที่ ทป. 116/2546.

คำพิพากษาศาลอาญาคดีหมายเลขดำที่ อ. 326/2542 คดีหมายเลขแดงที่ อ. 784/2542.

Arrow Productions, LTD. v. Weinstein Co. LLC, 44 F. Supp. 3d 359, 369 (2014).

Campbell v. Acuff-Rose Music, 510 U.S. 569 (1994).

Fruehwald, Scott. “The Parody Fair Use Defense After Campbell.” Columbia-VLA Journal of Law & the Arts 18 (1993): 103-154.

Hustler Magazine, Inc. v. Falwell, 485 U.S. 46 (1988).

Indananda, Nandana and Suebsiri Taweepon. Fair Use: A Narrow Exception to Copyright Infringement in Thailand [Online]. Available URL: https://www. tilleke.com/resources/fair-use-narrow-exception-copyright-infringement-thailand, 2010 (November, 30).

Knights, Roger. “Limitations and Exceptions under the “Three-Step-Test” and in National Legislation—Differences between the Analog and Digital Environment.” in the Regional Workshop on Copyright and Related Rights in the Information Age. Moscow: World Intellectual Property Organization, 2001.

Lee, Jay. “Campbell v. Acuff-Rose Music: The Sword of the Parodist is Mightier than the Shield of the Copyright Holder.” University of San Francisco Law Review29 (1994): 279-313.

Schwabach, Aaron. “Reclaiming Copyright from the Outside In: What the Downfall Hitler Meme Means for Transformative Works, Fair Use, and Parody.” Buffalo Intellectual Property Law Journal 8 (April 2012): 1-26.

United Nation. Vienna Convention on the Law of Treaties [Online]. Available URL: https://treaties.un.org/doc/publication/unts/volume%201155/volume-1155-i-18232-english.pdf, 2019 (November, 30).

World Intellectual Property Organization.Treaties and Contracting Parties (Thailand) [Online]. Available URL: https://www.wipo.int/treaties/en/remarks.jsp?cnty _id=1035C, 2019 (April, 12).

¬_______. WIPO Copyright Treaty (WCT) [Online]. Available URL: https://www.wipo. int/publications/en/details.jsp?id=321&plang=EN, 1996, 2019 (April, 30).

_______. WIPO Performances and Phonograms Treaty (WPPT) [Online]. Available URL: https://www.wipo.int/publications/en/details.jsp?id=322&plang=EN, 1996,2019 (April, 30).

World Trade Organization. TRIPS [Online]. Available URL:https://www.wto.org/ english/docs_e/legal_e/27-trips.pdf, 2019 (April, 12).

_______. WTO Analytical Index: TRIPS Agreement—Article 13 (Jurisprudence) [Online]. Available URL: https://www.wto.org/english/res_e/publications_e/ ai17_e/trips_art13_jur.pdf, 2000 (June, 15).

YouTube. เปรียบเทียบตัวล้อเลียนฟรีแล้วว์และตัวอย่างฟรีแลนซ์ [Online]. Available URL:

https://www.youtube.com/watch?v=Y07Jxuu3QnQ, 2558 (กันยายน, 3).

YouTube. ล้อเลียนเพลงดัง EP.1 | เลิกคุยทั้งอำเภอเพื่อเธอคนเดียว, ขอโสด, คอยถ่า, คาคอ [Online]. Available URL: https://www.youtube.com/watch?v=JJFuzaVc3E0, 2562 (เมษายน, 12).

_______. Kitty Woman (Pretty Woman Parody) [Online]. Available URL: https:// www.youtube.com/watch?v=LTkS-weXlBc, 2019 (April, 26).

_______. Pretty Woman [Online]. Available URL: https://www.youtube.com/watch?v= QGlD9WFi6Lo, 2017 (March, 8).

_______. 2 Live Crew Discuss Pretty Woman Supreme Court Case “Campbell v Acuff-Rose” [Online]. Available URL: https://www.youtube.com/watch?v= CRssktqjvOk, 2014 (March, 12).