สิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กับตัวอย่างการละเมิดสิทธิชุมชนในปัจจุบัน
Main Article Content
Abstract
การศึกษานี้มุ่งเน้นศึกษาสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และตัวอย่างของปัญหาการแสวงหาผลประโยชน์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยนำเสนอและยกตัวอย่างการละเมิดสิทธิชุมชนที่ปรากฏในปัจจุบัน และเพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาสิทธิชุมชนที่อาจเกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 การศึกษาครั้งนี้ยังศึกษาเกี่ยวกับประเด็นการมีส่วนร่วมบริหารจัดการการใช้และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยเปรียบเทียบระหว่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 3 ฉบับ ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
การเคลื่อนไหวของภาคสังคมในเรื่องสิทธิชุมชนขึ้นอยู่กับการจัดการทรัพยากร การปกครองท้องถิ่น และการศึกษาและให้ความรู้แก่คนในชุมชน การศึกษานี้เพื่อนำเสนอว่าสิทธิชุมชนอาจเป็นทางออกที่เป็นไปได้สำหรับการแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรของประเทศไทย และเพื่อใช้สิทธิชุมชนเป็นเครื่องมือในการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งของชุมชนในการจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
Article Details
References
กิตติศักดิ์ ปรกติ. สิทธิของบุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, 2550.
กุลชา จรุงกิจอนันต์. อวสาน “องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม” มาตรา67 วรรคสอง รธน.50** [Online]. Available URL: https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/643362, 2563 (สิงหาคม, 29).
กอบกุล รายะนาคร. “พัฒนาการของหลักกฎหมายสิ่งแวดล้อมและสิทธิชุมชน.” ใน การประชุมโครงการการมีสวนร่วมของประชาชนในการจัดทำร่างแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549.
กฤษฎา บุญชัย. 26 ปี พ.ร.บ.ป่าชุมชน บทสะท้อนความวกวนของประชาธิปไตยไทย [Online]. Available URL: https://thaipublica.org/2019/04/kritsada-boonchai-04/, 2563 (พฤศจิกายน, 15).
คณิน บุญสุวรรณ. ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, 2548.
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. แนวปฏิบัติเพื่อการจัดการร่วม ประเด็นสิทธิชุมชน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริ้นเอเบิ้ล จำกัด, 2563.
ฉลาดชาย รมิตานนท์. “ป่าชุมชน.” นิตยสารสารคดี 78 (2535): 86 - 88.
ชัยพงษ์ สำเนียง. กฎหมายที่แย่ไม่มีเสียดีกว่า: พ.ร.บ.ป่าชุมชน 2562 อำนาจของประชาชน หรือวาทกรรมอำพรางของรัฐ [Online]. Available URL: https://prachatai.com/journal/2019/ 12/85449#_ftn2, 2563 (พฤศจิกายน, 15).
ชุลีพร บุตรโคตร. ยุติการทวงคืนฝืนป่า ปัญหาไก่กับไข่ ชาวบ้านบุกรุกที่รัฐหรือรัฐทับที่ชาวบ้าน[Online]. Available URL: https://www.tcijthai.com/news/2014/29/scoop/ 5043, 2563 (สิงหาคม, 23).
เชาวนะ ไตรมาศ. “ศาลรัฐธรรมนูญกับการจัดระเบียบประโยชน์มหาชนในระบบนิติรัฐ.” วารสารศาลรัฐธรรมนูญ 6, 17 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2547): 131-133.
นิตยา โพธิ์นอก. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์นโยบายเกี่ยวกับสิทธิชุมชนในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิจัยและพัฒนาสถาบันพระปกเกล้า.
บุญชู ณ ป้อมเพ็ชร. สิทธิชุมชนในรัฐธรรมนูญไทย [Online]. Available URL: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS/article/download/64598/52992/, 2563 (สิงหาคม, 23).
ปวริศร เลิศธรรมเทวี. สิทธิด้านสิ่งแวดล้อมกับรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2559.
ประชาไทย. ตุลาการธิปไตย#4 นโยบายทวงคืนผืนป่าของ คสช. ผ่านกฎหมายเดิมที่อำนาจนิยมซึ่งใช้ได้ดีในยุคเผด็จการ [Online]. Available URL: https://prachatai.com/journal/2018/02/75535, 2563 (สิงหาคม, 15).
_______. 83 เครือข่ายภาคประชาสังคมแถลง “หยุดนโยบายทวงคืนผืนป่า คืนความเป็นธรรมให้คนจน” [Online]. Available URL: https://prachatai.com/journal/2019/07/83365, 2563 (สิงหาคม, 23).
พงษ์สวัสดิ์ อักษรสวาสดิ์. “สิทธิการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550.
“พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562.” ราชกิจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 136 ตอนที่ 71 ก (29 พฤษภาคม 2562).
ภูมินทร์ พาลุสุข และอลงกรณ์ อรรคแสง. “ผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่าที่มีต่อชาวบ้านในภาคอีสาน : กรณีศึกษาในจังหวัดสกลนคร.” วารสารการบริหารปกครอง 8, 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2562): 193.
ภาคภูมิ ศิลารัตน์. ปัญหาการรับรองและคุ้มครองสิทธิชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, ม.ป.ป.
ภาสพงษ์ เรณุมาศ. “สถิติคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญ (ตั้งแต่อดีต-พ.ศ. 2556).” วารสารศาลรัฐธรรมนูญ 15, 43 (มกราคม-เมษายน 2556): 52.
มูลนิติธรรมสิ่งแวดล้อม. คดีมาบตาพุด ฟ้องให้โรงงานปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 [Online]. Available URL: https://enlawfoundation.org/newweb/wp-content/uploads/039.pdf, (กันยายน, 15).
¬¬¬_______. คดีสิทธิชุมชนบ้านแม่อมกิ [Online]. Available URL: https://enlawfoundation.org/newweb/ wp-content/uploads/052.pdf, (พฤศจิกายน, 13).
______. คดีหมายเลขแดงที่ 5818/2549 [Online]. Available URL: https://enlawfoundation .org/newweb/wp-content/uploads/048.pdf, (กันยายน, 13).
_______. คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2552 [Online]. Available URL: https://enlawfoundation. org/newweb/wpcontent/uploads/087.pdf, 2563 (กันยายน, 13).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.
วัชราภรณ์ จุ้ยลําเพ็ญ. “หน้าที่ของรัฐ” แนวคิดตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ [Online]. Available URL: https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parcy_train/ewt _dl_link.php?nid=31523, 2563 (พฤศจิกายน, 13).
ศศิภา พฤกษฎาจันทร์. “สำนักกฎหมายบ้านเมืองสมัยใหม่: ข้อความคิดว่าด้วยกฎหมายในทรรศนะของ Hans Kelsen และ H.L.A. Hart และข้อวิจารณ์.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560.
สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์. นโยบาย ‘ทวงคืนผืนป่า’ กับภาพสะท้อน ‘อำนาจนิยม’ [Online]. Available URL: https://themomentum.co/reforestation-authoritarianism/, 2563 (พฤศจิกายน, 15).
เสน่ห์ จามริก. สิทธิมนุษยชนไทยในกระแสโลก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2549.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. หลักการใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 [Online]. Available URL: https://www.ubu.ac.th/web/files_up/00032f2019072617120912.ppt, 2563 (พฤศจิกายน, 13).
สิริพิชญ์ชนก คุณประเสริฐ. “การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (Environmental and Health Impact Assessment: EHIA).” Academic Focus (ตุลาคม 2561): 1-2.
สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: สํานักประชาสัมพันธ์, 2555.
หยุด แสงอุทัย. ความรู้ เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560.
อรทัย อินต๊ะไชยวงค์. “สิทธิชุมชน ในการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.” วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น 1, 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560): 178-179.
Ostrom, Elinor and Charlotte Hess. Private and Common Property Rights. Bloomington: Indiana University, 2007.