มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองแรงงานสูงอายุ

Main Article Content

นันทพล พุทธพงษ์
ศศิประภา ศิสศิ วรรณาการ
วิณัฏฐา แสงสุข

Abstract

                 การก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” เป็นประเด็นที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีความตระหนักและกังวล สังคมผู้สูงอายุส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาวะพึ่งพิงและศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุของบุตรหลานของแต่ละครอบครัว ทั้งยังกระทบต่อระบบเศรษฐกิจเพราะทำให้เกิดภาวะขาดแคลนแรงงานได้ ดังนั้น ภาคแรงงานควรได้มีการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมถึงควรมีการพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ทางกฎหมายแรงงานที่จะนำมาสู่การคุ้มครองสิทธิของแรงงานสูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุและเพื่อให้ผู้สูงอายุยังคงอยู่ในภาคแรงงานต่อไป โดยหากพิจารณาจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จะเห็นได้ว่ากฎหมายคุ้มครองแรงงานดังกล่าวยังมิได้มีการกำหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์ในการคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุไว้ โดยในการคุ้มครองแรงงานสูงอายุนั้นมีประเด็นกฎหมายที่ต้องศึกษาและวิเคราะห์ถึงมาตรการการคุ้มครองแรงงานสูงอายุโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองในประเด็นต่างๆ เช่น เงื่อนไขการจ้าง สภาพการทำงาน การพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิต


              บทความวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาโดยเปรียบเทียบกับกฎหมายที่คุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุของประเทศญี่ปุ่น เครือรัฐออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปศึกษาเฉพาะราชอาณาจักรสวีเดน รวมถึงการพิจารณาทฤษฎีต่างๆ ทางพฤฒาวิทยาที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการทำงานของผู้สูงอายุ อาทิเช่น ทฤษฎีทางชีวภาพทฤษฎีทางสังคม ทฤษฎีจิตวิทยารวมถึงการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับการคุ้มครองแรงงานหญิง แรงงานหญิงมีครรภ์และแรงงานเด็ก โดยมุ่งศึกษาและวิเคราะห์ในประเด็นการคุ้มครองทางกฎหมายได้แก่ การคุ้มครองการเลือกปฏิบัติต่อลูกจ้างเพราะอายุ ความหมายของลูกจ้างผู้เป็นผู้สูงอายุ งานอันตรายที่ห้ามแรงงานสูงอายุทำสถานที่ที่ห้ามแรงงานสูงอายุทำ สภาพการจ้างเกี่ยวกับชั่วโมงการทำงาน เวลาพัก การทำงานในเวลากลางคืน การทำงานล่วงเวลาการทำงานในวันหยุด พิกัดน้ำหนักการยกของ วันลาของแรงงานสูงอายุ เงินประกันและค่าจ้างการปรับเปลี่ยนสภาพการจ้าง (Flexible Working Arrangements) การควบคุมและการตรวจสอบการทำงานของแรงงานสูงอายุการกำหนดสภาพบังคับหากนายจ้างมิได้ดำเนินการตามเงื่อนไขการคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุ จากการศึกษาและวิเคราะห์แล้วพบว่า ควรต้องมีการบัญญัติมาตรการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองมิให้เลือกปฏิบัติในการจ้างแรงงานเพราะเหตุอายุ การกำหนดบทนิยามของแรงงานสูงอายุ และการวางหลักเกณฑ์เพื่อคุ้มครองสิทธิแรงงานแก่แรงงานสูงอายุ โดยนำข้อพิจารณาจากทฤษฎีที่เกี่ยวกับการทำงานของแรงงานสูงอายุ แนวทางของกฎหมายต่างประเทศ และแนวทางจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องการคุ้มครองแรงงานหญิง แรงงานหญิงตั้งครรภ์ และแรงงานเด็ก มากำหนดเป็นกรอบในการบัญญัติกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิสำหรับแรงงานสูงอายุให้มีความชัดแจ้ง ในขณะเดียวกันก็คำนึงถึงความเหมาะสมด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อบริบทของแรงงานสูงอายุในสังคมไทย

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. รายงานประจำปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2555. นนทบุรี: บริษัท เอสเอสพลัส มีเดีย จำกัด, 2556.

Agediscrimination.info. Japan [Online]. Available URL: http://www.agediscrimination. info/international-age-discrimination/japan, 2020 (March, 22).

American Federation for Aging Research. Info aging guide: Theories of Aging [Online]. Available URL: https://www.afar.org/docs/migrated/111121_INFOAGING_GUIDE_ THEORIES_OF_AGINGFR.pdf, 2018 (July, 30).

Croucher, Rosalind. Access All Age-Older Workers and Commonwealth Laws Final Report. Sydney: Australian Law Reform Commission, 2013.

Japan International Labour Foundation. Revised Act for Stabilization of Employment of Older Persons Comes into Force [Online]. Available URL: https://www.jilaf. or.jp/eng/mbn/2013/122.html, 2020 (March, 20).

Jimmieson, Narina L. and Deborah J. Terry. “The moderating role of task characteristics in determining responses to a stressful work simulation.” Journal of Organizational Behavior 20, 5 (September 1999): 709-736.

Kowalczyk, Devin. Psychosocial Theories of Aging: Activity Theory, Continuity Theory & Disengagement Theory [Online]. Available URL: https://study.com/ academy/lesson/psychosocial-theories-of-aging-activity-theory-continuity-theory-disengagement-theory.html, 2018 (August, 9).