ศึกษาภาษีเงินได้ของประเทศมาเลเซียเปรียบเทียบประเทศไทย

Main Article Content

ยุทธนา ศรีสวัสดิ์

Abstract

                 การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและจัดทำข้อมูลกฎหมายของประเทศมาเลเซียในฐานะประเทศสมาชิกของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งหากพิจาณาจากประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว มาเลเชียมีความสําคัญในเชิงการเปรียบเทียบจากสภาพพื้นที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ติดกัน ความใกล้เคียงทางการค้า อุตสาหกรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นทั้งหุ้นส่วนและคู่แข่งที่สําคัญกับไทย โดยศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุนที่สำคัญของประเทศมาเลเซียซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับคนไทยที่ประกอบธุรกิจในประเทศมาเลเซีย  ซึ่งผู้วิจัยจึงเลือกนำข้อกฎหมายส่วนที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบบริษัทและภาษีเงินได้ของประเทศมาเลเซียที่เกี่ยวข้องกับนักลงทุนต่างชาติมาศึกษา เพื่อประโยชน์สำหรับการศึกษาต่อยอดในเชิงวิชาการและการกำหนดนโยบายของประเทศไทยได้ในอนาคต


             วิธีการวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ผู้วิจัยตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับรูปแบบของบริษัทและภาษีเงินได้ในประเทศมาเลเซีย โดยขอกล่าวถึง 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่


            1) การจัดตั้งบริษัทในประเทศมาเลเซียมี 2 รูปแบบ ได้แก่ บริษัทจำกัด และ บริษัทไม่จำกัด ทั้งนี้ บริษัทจำกัดยังแบ่งได้เป็น 2 ประเภทย่อย ได้แก่ บริษัทจำกัดตามการรับประกัน และบริษัทจำกัดตามหุ้น แต่คนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้จัดตั้งบริษัทได้เฉพาะในรูปแบบ ‘บริษัทจำกัดตามหุ้น’ เท่านั้น


             2) ประเทศมาเลเซียจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราคงที่ 24% แต่ก็มีนโยบายส่งเสริมธุรกิจ SME ที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 2.5 ล้านริงกิต (ประมาณ 18.75 ล้านบาท) โดยให้เสียภาษีในอัตรา 18% สำหรับกำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 500,000 ริงกิต (ประมาณ 3.75 ล้านบาท) และ


            3) ประเทศมาเลเซียกำหนดให้บริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งบนเกาะลาบวนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีพิเศษแตกต่างจากกรณีปกติ คือ บริษัทลาบวนสามารถเลือกได้ว่าจะเสียภาษีในอัตราคงที่ 3% ของกำไรสุทธิหรือเลือกเหมาภาษีรายปีเป็นเงิน 20,000 ริงกิตมาเลเซีย (ประมาณ 150,000 บาท)


               ทั้งนี้ รูปแบบการประกอบธุรกิจและภาษีเงินได้เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการตัดสินทำการค้าและลงทุน การศึกษารูปแบบบริษัทและภาษีเงินได้ของประเทศเพื่อนบ้านย่อมทำให้สามารถดำเนินนโยบายที่สร้างความได้เปรียบในการดึงดูดการค้าและการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยพัฒนาให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ในอนาคต

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

ธนาคารแห่งประเทศไทย. อัตราแลกเปลี่ยนประจำวัน [Online]. Available URL: https://www. bot.or.th/thai/_layouts/application/exchangerate/exchangerate.aspx, 2563 (ธันวาคม, 9).

Inland Revenue Board of Malaysia. Income Tax Rates [Online]. Available URL: http://www.hasil.gov.my/bt_goindex.php?bt_kump=5&bt_skum=1&bt_posi=2&bt_unit=5000&bt_sequ=11&bt_lgv=2, 2020 (December, 9).

Inland Revenue Board of Malaysia. Tax Rate of Company [Online]. Available URL: http://www.hasil.gov.my/bt_goindex.php?bt_kump=5&bt_skum=2&bt_posi=5&bt_unit=1&bt_sequ=1, 2020 (December, 9).

Inland Revenue Board of Malaysia. Tax Relief for Resident Individual [Online]. Available URL: http://www.hasil.gov.my/bt_goindex.php?bt_kump=5&bt_skum=1&bt_ posi=3&bt_unit=1&bt_sequ=1, 2020 (December, 9).

Labuan Corporation, Ministry of Federal Territory, Incentives [Online]. Available URL: https://www.pl.gov.my/en/insentif, 2018 (July, 31).

Ministry of Domestic Trade, Co-operatives and Consumerism Malaysia. Guidelines on Foreign Participation in the Distributive Trade Services [Online]. Available URL: https://www.kpdnkk.gov.my/kpdnkk/wp-content/uploads/2017/04/WRT_Guideline. pdf, 2018 (July, 11).

Ministry of Federal Territory. Incentives - Labuan Corporation [Online]. Available URL: https://www.pl.gov.my/en/insentif, 2020 (July, 31).

ประมวลรัษฎากร.

Companies Act 1965 (Revised - 1973).

Income Tax Act 1967.

Labuan Business Activity Tax Act 1990.

Labuan Companies Act 1990.