การเยียวยาความบกพร่องของคำสั่งทางปกครองเกี่ยวกับอำนาจกระทำการโดยการให้สัตยาบัน

Main Article Content

ฐิติพร ลิ้มแหลมทอง

Abstract

                 การให้สัตยาบันเป็นการรับรองความบกพร่องต่าง ๆ ที่มีเหตุแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมายให้เป็นคำสั่งทางปกครองที่สมบูรณ์โดยไม่ต้องเพิกถอน เพื่อให้คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นมีความสมบูรณ์โดยปราศจากข้อสงสัยหรือเงื่อนไขใด ๆ ในทางนิตินัย วิธีการรับรองความบกพร่องปรากฏการให้ความเห็นชอบย้อนหลัง  การรับรองโดยผลแห่งกฎหมายในระบบกฎหมายเยอรมัน หรือหลักทฤษฎีทางกฎหมายเช่นทฤษฎีว่าด้วยข้าราชการโดยข้อเท็จจริงในระบบกฎหมายฝรั่งเศส ทำให้ระบบกฎหมายปกครองยอมรับแนวคิดการให้สัตยาบันเพื่อให้คำสั่งทางปกครองสมบูรณ์โดยที่เหตุแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมายอาจมีความบกพร่องในรูปแบบ ขั้นตอน ซึ่งการให้องค์กรฝ่ายปกครองเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่เกิดประโยชน์และเพิ่มขั้นตอนโดยไม่จำเป็นในเมื่อองค์กรฝ่ายปกครองยังคงออกคำสั่งทางปกครองที่มีเนื้อหาในทำนองเดียวกันอีก เพียงแต่การให้สัตยาบันรับรองคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น คำสั่งทางปกครองจะต้องไม่เป็นคำสั่งทางปกครองที่เป็นโมฆะหรือเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่มีอยู่จริงในระบบกฎหมาย และต้องไม่เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ต้องยกเลิกเพิกถอนโดยไม่สามารถแก้ไขเยียวยาภายหลังหรือให้สัตยาบันได้ จากการศึกษาความบกพร่องของคำสั่งทางปกครองเกี่ยวกับอำนาจกระทำการ ได้แก่ ขอบเขตอำนาจเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ เรื่อง พื้นที่ และเวลา ซึ่งเป็นเหตุความไม่ชอบด้วยกฎหมายภายนอกและระดับผลของคำสั่งทางปกครองแตกต่างกัน อย่างไรก็ดีเฉพาะคำสั่งทางปกครองที่ปรากฏเหตุความไม่ชอบด้วยกฎหมายภายนอกที่เยียวยาได้เท่านั้นจะถือเป็นเพียงเหตุบกพร่อง แต่ถ้าไม่ใช่เป็นเพียงความบกพร่องที่เยียวยาได้ก็ดำเนินการยกเลิกเพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้น ผลการศึกษาพบว่า เหตุไม่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวอำนาจกระทำการเกี่ยวกับเรื่อง และพื้นที่อำนาจระดังผลของคำสั่งทางปกครองถือว่าเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ต้องดำเนินการยกเลิกเพิกถอนคำสั่งทางปกครองดังกล่าว แต่หากเป็นกรณีความไม่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจกระทำการเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ถือเป็นความบกพร่องที่เยียวยาได้ เช่น เหตุบกพร่องเกี่ยวกับคำสั่งแต่งตั้งบุคคลให้เป็นเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจกระทำการไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ปรากฏภายหลังว่าได้รับการแต่งตั้งไม่ชอบจนเป็นเหตุใด้พ้นตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่งเช่นว่านี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นกระทำไปตามอำนาจหน้าที่  ซึ่งเป็นการรับรองโดยผลแห่งกฎหมาย ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เป็นหลักการเดียวกับทฤษฎีว่าด้วยข้าราชการตามความเป็นจริงในระบบกฎหมายฝรั่งเศส และการรับรองคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎหมายเยอรมันเกี่ยวข้าราชการสหพันธ์ บทบัญญัติมาตรา 19 เป็นข้อยกเว้นของหลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมายที่ไม่ควรตีความขยายความเกินเนื้อหาและวัตถุประสงค์โดยนำไปอุดช่องว่างเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งมาบังคับใช้โดยอนุโลมและถือเป็นการให้สัตยาบันโดยปริยาย ดัง ที่ปรากฏในความเห็นขององค์กรที่ให้ความเห็นทางกฎหมายได้ปรับใช้กับเหตุความไม่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจกระทำการเกี่ยวกับเวลาของเจ้าหน้าที่ซึ่งผู้วิจัยไม่เห็นด้วย หากแต่ต้องเป็นกรณีที่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายรองรับเท่านั้นเพื่อไม่ให้ขัดกับหลักการกระทำทางปกครองต้องไม่มีผลย้อนหลัง หลักความมั่นคงแห่งสถานะทางกฎหมาย หลักการใช้อำนาจเฉพาะตัว และหัวใจของหลักกฎหมายปกครอง คือ หลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กมลชัย รัตนสกาวงศ์. “องค์ประกอบของนิติกรรมทางปกครองของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน.” วารสารนิติศาสตร์ 1 (กันยายน 2532): 39.

กฤดี พฤกษ์อัครกูล. “หลักความไม่มีส่วนได้เสียของเจ้าหน้าที่: ศึกษากรณีการออกคำสั่งทางปกครอง.” วิทยานิพนธ์คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550.

จักรพันธ์ เชี่ยวพานิช. “ผลของคำสั่งทางปกครองที่ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักความไม่มีส่วนได้เสีย.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.

ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์. รายงานวิจัยเรื่องปัญหาขอบเขตการควบคุมคำสั่งทางปกครองระหว่างศาลปกครองกับศาลอาญา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2547.

ธีระชัย จาตุรนต์สวัสดิ์. ทฤษฎีบริการสาธารณะในกฎหมายปกครองฝรั่งเศส: ข้อความคิด แนวทางการใช้ และระบบกฎหมาย [Online]. Available URL: http://thaiaixois.online.fr/ etc.chai_service1.htm, 2563 (ตุลาคม, 15).

นิรดา จรูญศักดิ์. “การให้ความเห็นชอบย้อนหลังต่อคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556.

บุญศรี มีวงศ์อุ่โฆษ. กฎหมายมหาชนเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2555.

บุปผา อัครพิมาน. “หลักกฎหมายทั่วไป.” วารสารวิชาการศาลปกครอง 5, 1 (มกราคม-เมษายน 2548): 17-19.

บรรเจิด สิงหะเนติ. หลักกฎหมายมหาชน หลักนิติธรรม/หลักนิติรัฐ ในฐานะ “เกณฑ์” จำกัดอำนาจรัฐ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2561.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. คำอธิบายกฎหมายมหาชน (เล่ม 3) ที่มาและนิติวิธี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2538.

______. ที่มาของกฎหมายมหาชนและหลักความชอบด้วยกฎหมาย คู่มือการศึกษาวิชากฎหมายปกครอง. กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2545.

ปัญญา จั่นสกุล. “ผลของคำสั่งทางปกครองที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ที่มีเหตุบกพร่องในอำนาจ: ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเยอรมัน ฝรั่งเศสและไทย.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2550.

ปิยบุตร แสงกนกกุล. กฎหมายปกครองเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2556.

______. กฎหมายปกครองของประเทศในยุโรป. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2556.

ปิยะศาสตร์ ไขว้พันธุ์. “การทำคำสั่งทางปกครองของข้ารัฐการที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งมาโดยมิชอบ (CE, 16 mai 2001, Prẻfet de police c/Mtimet).” ใน รวมบทความทางวิชาการ เล่ม 1 กฎหมาย ปกครอง ภาคสารบัญญัติ (2548): 99-101.

ประพฤกษ์ ชมพู่. “หลักการคุ้มครองความเชื่อถือและไว้วางใจ วิเคราะห์กรณีศาลปกครองสูงสุดพิพากษาเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งรองอธิบดีกรมสรรพากร.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554.

ประสาท พงษ์สุวรรณ. “เหตุที่ใช้อ้างในการเพิกถอนนิติกรรมทางปกครอง.” วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 (มิถุนายน 2545): 261.

พัชฌา จิตรมหึมา. ความเป็นกลางในการพิจารณาทางปกครอง เปรียบเทียบแนว คำวินิจฉัยของสกาแห่งรัฐ และหลักความเป็นกลางตามกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศส [Online]. Available URL: http://web.krisdika.go.th/pdfPage.jsp?type=act&actCode=345, 2563 (เมษายน, 15).

ภัสวรรณ อุชุพงศ์อมร. “ความไม่มีผลย้อนหลังของนิติกรรมทางปกครอง.” รัฐสภาสาร 66, 4 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2561): 53.

มานิตย์ วงศ์เสรี. นิติวิธี การใช้และการตีความกฎหมาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2562.

วรนารี สิงโต. การคุ้มครองความเชื่อโดยสุจริตกรณียกเลิกเพิกถอนคำสั่งทางปกครองในระบบกฎหมายเยอรมัน (Der Vertrauensschutzbei der AufhebungeinesVerwaltungsaktes) [Online]. Available URL: http://web. krisdika.go.th/pdfPag.jsp?type=act&actCode=116, 2563 (ตุลาคม, 15).

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย: หลักการพื้นฐานในกฎหมายปกครองและการกระทำทางปกครอง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2546.

______. “คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย.” วารสารวิชาการศาลปกครอง 6, 1 (มกราคม -เมษายน 2549): 569-582.

______. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในระบบกฎหมายเยอรมัน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์-วิญญูชน, 2549.

______. “เอกสารเสนอในงานรำลึก 100 ปีชาตกาล ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์: การใช้และการตีความกฎหมายมหาชน 2551.” คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 30 มีนาคม 2551.

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. ข้อความคิดและหลักการพื้นฐานบางประการของกฎหมายปกครอง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2561.

ศนันทกรณ์ โสตถิพันธุ์. คำอธิบายว่าด้วยนิติกรรมสัญญา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2543.

ศุภวัฒน์ สิงห์สุวงษ์. ข้อพิจารณาบางประการเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง [Online]. Available URL: http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1957, 2563 (ตุลาคม, 14).

_______. ปัญหาความเป็นกลางของเจ้าหน้าที่ซึ่งมีส่วนร่วมพิจารณาทางปกครองในหลายขั้นตอน [Online]. Available URL: www.krisdika.go.th, 2560 (กุมภาพันธ์, 25).

_______. โมฆะกรรมของคำสั่งทางปกครอง: มุมมองเชิงกฎหมายเปรียบเทียบและพัฒนาการล่าสุดในระบบกฎหมายไทย [Online]. Available URL: http://web.krisdika.go.th/ data/outsidedata/outside16/file/15Feb60-3.pdf, 2563 (เมษายน, 9).

_______. หลักเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับการลบล้างนิติกรรมทางปกครองในระบบกฎหมายฝรั่งเศส [Online]. Available URL: http://web.krisdika.go.th/data/outsitedata/outsite16/file/15Feb60-5.pdf, 2563 (เมษายน, 9).

_______. หลักทั่วไปในการดำเนินงานของคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครอง [Online]. Available URL: www.krisdika.go.th, 2563 (มีนาคม, 18).

สำนักงานกฎหมายปกครอง. งานวิเคราะห์ความเห็นทางกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทาปกครอง. หัวข้อ การบริหารงานบุคคล.

_____. “นิติกรรมทางปกครอง,” คู่มือการศึกษาวิชากฎหมายปกครอง. กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2554.

เอกสารราชาการ. เรื่อง เสร็จที่ 636/2549 บันทึกคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เรื่อง ความชอบด้วยกฎหมายของการประชุม อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 ในคราวประชุมที่ไม่ได้แจ้งนัดประชุมกรรมการครบทุกคน.

ฤทัย หงส์สิริ. คู่มือการศึกษาวิชากฎหมายปกครอง. กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติ บัณฑิตยสภา, 2545.

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539.

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550.

พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551. แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562.

พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2562.

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.118/2551.

ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) เรื่องเสร็จที่ 47-48/2556.

German Law Archive. Administrative Procedure Act (Verwaltungsverfahrensgesetz, VwVfG) [Online]. Available URL: https://germanlawarchive.iuscomp.org/?p= 289, 2020 (April, 19).

RÈPUBLIQUE FRANÇAISE. Code des relations entre le public et l’ Administration [Online]. Available URL: https://www.legifrance.gouv.fr/contenu/menu/droit-national-en-vigueur/constitution, 2020 (April, 14).

Sign, MahendraP. German Administrative Law in Common Law Perspcctive. 2nd ed. Berlin: Springer-Verlag, 2001.

_______. Section 44 Invalidity of an administrative act (1) An administrative act shall be invalid where it is very gravely erroneous and this is apparent when all relevant circumstances are duly considered. [Online]. Available URL: https://germanlawarchive.iuscomp.org/?p=289, 2020 (April, 19).