การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชนตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

Main Article Content

ปวริศร เลิศธรรมเทวี

Abstract

                 สิทธิและเสรีภาพที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญถูกจำกัดได้โดยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยถือเป็นบทยกเว้นดังที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ บทยกเว้นดังกล่าวเรียกว่า “หลักความชอบด้วยกฎหมาย” บทความนี้ได้ข้อสรุปที่สำคัญหลายประการ กล่าวคือ ประการแรก กฎหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล รัฐธรรมนูญต้องบัญญัติให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้งหรือโดยปริยาย อำนาจดังกล่าวต้องเป็นไปตามโครงสร้างลำดับศักดิ์แห่งกฎหมายโดยไม่จำเป็นต้องคำนึงว่าจะเป็นกฎหมายในลำดับศักดิ์ใด ประการที่สอง การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลส่วนใหญ่เกิดจากกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งถือเป็นบทกฎหมายหลัก ในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายลำดับรอง ไม่มีประเด็นทางรัฐธรรมนูญหากกฎหมายดังกล่าวอ้างอิงหรือตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ กล่าวได้ว่า ระบบกฎหมายไทยตรารัฐธรรมนูญขึ้นในช่วงที่มีกฎหมายเกิดขึ้นหลายฉบับ ย่อมก่อให้เกิดคำถามว่ากฎหมายดังกล่าวที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลจะชอบด้วยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันหรือไม่ กฎหมายดังกล่าวจะชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

นันทวัฒน์ บรมานันท์. กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส: ข้อคิดเพื่อการปรับปรุงกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันนโยบายศึกษา, 2541.

ปัญญา อุดชาชน. “พระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม: รากฐานการกำเนิดศาลรัฐธรรมนูญ.” รัฐสภาสาร 61, 8 (2556): 89-138.

ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนาพานิช. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย-ธรรมศาสตร์, 2560.

ปวริศร เลิศธรรมเทวี. การนำประเพณีในการปกครองประเทศไทยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาใช้ในการพิจารณาวินิจฉัยคดีรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, 2561.

______.“พัฒนาการขององค์กรวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญไทย.”วารสารกฎหมาย 34, 1 (2559): 165-186.

______.องค์กรวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ: ศึกษาเปรียบเทียบในกลุ่มประเทศอาเซียน.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, 2563.

ไพโรจน์ ชัยนาม. รัฐธรรมนูญและการปกครองของอิตาลี. กรุงเทพมหานคร: มิตรนราการพิมพ์, 2529.

มุนินทร์ พงศาปาน. ระบบกฎหมายซีวิลลอว์: จากกฎหมายสิบสองโต๊ะสู่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2562.

รวินท์ ลีละพัฒนะ. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2562.

วิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561.

วิษณุ เครืองาม. กฎหมายรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติบรรณาการ, 2530.

ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล. หลักและวิธีปฏิบัติในการบังคับใช้รัฐธรรมนูญในกรณีที่มีบทบัญญัติว่า “ทั้งนี้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ.” กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, 2547.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2538.

แสวง บุญเฉลิมวิภาส และอติรุจ ตันบุญเจริญ. ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2562.

อมร จันทรสมบูรณ์. รวมบทความเกี่ยวกับโครงสร้างและกลไกทางกฎหมายของรัฐธรรมนูญในทัศนะของ ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันนโยบายศึกษา, 2539.

Austin, John. The Province of Jurisprudence Determined. London: Richard Taylor, The University of London, 1832.

Barak, Aharon. Proportionality: Constitutional Rights and Their Limitations. New York: Cambridge University Press, 2012.

Currie, David P. The Constitution of the Federal Republic of Germany. Chicago: The University of Chicago Press, 1994.

Hogg, Peter W. Constitutional Law of Canada. Toronto: Thomson Carswell, 2007.

Jain, Mahabir Prashad. Indian Constitutional Law. London: Lexis Nexis Butterworths, 2003.

Navot, Suzie. The Constitutional Law of Israel.Alphen aan den Rijn, The Netherlands: Kluwer Law International, 2007.

Tribe, Laurence H. American Constitutional Law. New York: Foundation Press, 2000.