มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมการสร้างป่าเอกชน: ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายป่าไม้ของประเทศฝรั่งเศสและประเทศไทย

Main Article Content

ภัทราวรรณ รัตนเกษตร

Abstract

                มาตรา 7 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ (แก้ไขฉบับที่ 8) พ.ศ.2562 ส่งผลให้ไม้ที่ขึ้นในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามหนังสือแสดงสิทธิที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีไม่เป็นไม้หวงห้าม เพื่อก่อให้เกิดแรงจูงใจแก่เอกชนที่จะปลูกไม้ในที่ดินของตนเองในลักษณะของป่าเอกชนนอกเหนือจากการทำสวนป่าตามพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ.​2535 ซึ่งอาจเกิดปัญหาการตรวจสอบแหล่งที่มาของไม้และการจัดการป่าอย่างยั่งยืนในพื้นที่ป่าเอกชน ดังนั้นเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงศึกษาเปรียบเทียบกับมาตรการทางกฎหมายในการจัดการป่าเอกชนตามกฎหมายป่าไม้ของประเทศฝรั่งเศส เนื่องจากเป็นหนึ่งในสามของประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรปที่มีการจัดการป่าเอกชนอย่างเป็นระบบ


               ผลการศึกษาพบว่า การนำการจัดการป่าเอกชนตามกฎหมายป่าไม้ของประเทศฝรั่งเศสมาปรับใช้กับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับป่าเอกชนของประเทศไทยให้เกิดประสิทธิผลได้ ต้องประกอบด้วย 1) กำหนดให้เอกชนผู้เป็นเจ้าของป่ามีหน้าที่บำรุงและจัดการป่าอย่างยั่งยืนภายใต้แผนจัดการป่าเอกชน 2) กำหนดจำนวนเนื้อที่ซึ่งต้องทำแผนและกำหนดให้ชัดเจนว่า กรณีใดได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำแผนจัดการป่าเอกชน แต่ยังคงอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมและตรวจสอบแหล่งที่มาของไม้

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมป่าไม้. “หนังสือที่ ทส. 1613.5.3/11404 เรื่อง การรับรองไม้ที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน.” วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2562.

กรมป่าไม้ สำนักงานกฎหมาย. ขอหารือกรณีทำไม้หวงห้ามในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2562 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน [Online]. Available URL:https://www.forest.go.th/suratthani11/wp-content/uploads/sites/46/2020/06/ forest11_4333.pdf, 2563 (ธันวาคม, 15).

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. “หนังสือเลขที่ กษ 0208/2478 เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิตามมาตรา 7 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484.” วันที่ 22 มิถุนายน 2563.

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “หนังสือเลขที่ ทส 1609.2/1116 เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิ ตามมาตรา 7 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2562.” วันที่ 12 พฤษภาคม 2563.

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “หนังสือเลขที่ ทส 1609.2/1116 เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิ ตามมาตรา 7 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2562.” วันที่ 12 พฤษภาคม 2563.

ข่าวไทยพีบีเอส. ปลดล็อก ม. 7 พ่นพิษ “ทสจ.” เอี่ยวแก๊งตัดยางนาสวมส่งขายจีน [Online]. Available URL: https://news.thaipbs.or.th/content/285353, 2562 (ตุลาคม, 21).

“ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิเพื่อให้ไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินดังกล่าวไม่เป็นไม้หวงห้าม พ.ศ.2563.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 292 ง (วันที่ 16 ธันวาคม 2563).

“พระราชบัญญัติสวนป่า แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558 และระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการจัดทำบัญชีแสดงชนิดและจำนวนไม้ที่ขึ้นทะเบียนที่ดินเป็น สวนป่า พ.ศ.2562.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 37 ง (วันที่ 18 กุมภาพันธุ์ 2563): 12.

“พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ.2535.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 20 ก (วันที่ 13 มีนาคม 2535): 7.

พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484.

พระราชบัญญัติป่าไม้ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2525.

พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ.2535.

พระราชบัญญัติสวนป่า (แก้ไขฉบับที่ 2) พ.ศ.2558.

ระบบฐานข้อมูลการผลิต การบริการและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. ประกาศราชกิจจาฯ ปลดล็อค “ไม่หวงห้าม” แล้ว ปลูกที่ดินกรรมสิทธิ์ตัดขายได้ นิรโทษคดีเก่า [Online]. Available URL: https://scpdatacenter.deqp.go.th/newsdetail.php?id=633, 2563 (ธันวาคม, 6).

“ระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการออกหนังสือรับรองไม้ พ.ศ.2563.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 74 ง (วันที่ 31 มีนาคม 2563): 1.

ราชกิจจานุเบกษา. กฎกระทรวงการขอและการออกใบสำคัญรับรองการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน พ.ศ.2561 [Online]. Available URL: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/ PDF/2561/A/046/9.PDF, 2563 (ธันวาคม, 10).

ราชกิจจานุเบกษา. ระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการจัดทำบัญชีแสดงชนิดและจำนวนไม้ที่ขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า พ.ศ.2562 [Online]. Available URL: http://www. ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/037/T_0012.PDF, 2563 (ธันวาคม, 10).

สิริโฉม พรหมโฉม. “สิทธิในที่ดิน.” จุลนิติ 57, 1 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2557): 135-145.

Centre National De la Propriété Forestière. Rapport d’ activités 2019 [Online]. Available URL: https://www.cnpf.fr/, 2020 (December, 10).

Code de Bonnes Pratiques Sylvicoles. Guide de la forêt privée [Online]. Available URL: https://bourgognefranchecomte.cnpf.fr/data/cbps_franche_comte.pdf, 2020 (December, 2).

Code de l'environnement.

Code de procédurepénale.

Code Forestier.

Didier Boutetand Marc-Andre Philippe. La petitepropriétéforestièreprivéedans la francecontemporaine [Online]. Available URL: https://journals.openedition. org/etudesrurales/8008, 2020 (December, 10).

Foret. info. Le Plan Simple de Gestion [Online]. Available URL: https://www.foret. info/guide-foret-privee,45,le-plan-simple-de-gestion.html, 2020 (December 12).

Mann, Stefan. Forest Protection and Sustainable Forest Management in Germany and the P.R. China: A Comparative Assessment, Federal Agency for Nature Conservation (BfN), 2012.