การพัฒนากฎหมายโดรนขนส่งทางอากาศของประเทศไทย: ศึกษากรณีการขนส่งทางอากาศภายในประเทศ

Main Article Content

พรพล เทศทอง และคณะ

Abstract

                โดรนหรืออากาศยานไร้คนขับเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมในด้านการขนส่งสินค้าภายในอนาคตอันใกล้นี้ เพื่อจะช่วยประหยัดเวลาในการขนส่งสินค้าและทำให้เกิดความสะดวกสบายกับผู้ใช้บริการมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบินโดรนแล้ว แต่กฎหมายยังไม่ได้มุ่งเน้นการนำโดรนมาใช้เพื่อการขนส่งทางอากาศ เพียงแต่กำหนดวัตถุประสงค์ในส่วนท้ายไว้เพื่อการอื่นๆ ซึ่งเป็นการกำหนดไว้อย่างกว้าง ดังนั้น เมื่อยังไม่มีกรอบกฎหมายกำหนดที่เฉพาะจึงยังไม่ชัดเจนว่าจะสามารถนำโดรนมาใช้เพื่อการขนส่งทางอากาศได้


               งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความเป็นไปได้ในกรณีการนำโดรนมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการขนส่งทางอากาศในประเทศไทย ภายใต้กฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยศึกษาเกี่ยวกับนิยาม ลักษณะและประเภทของโดรน รวมถึงความเป็นไปได้ในกรณีการนำโดรนมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการขนส่งทางอากาศในประเทศไทย รวมถึงเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโดรนเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการขนส่งทางอากาศในสาธารณรัฐฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น


              จากการศึกษา พบว่า การนำโดรนมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการขนส่งทางอากาศในประเทศไทย แม้จะมีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับโดรนแล้วก็ตาม แต่ยังไม่ครอบคลุมวัตถุประสงค์ทางด้านการขนส่งทางอากาศเพื่อการพาณิชย์ จึงควรปรับปรุงข้อบังคับการบินโดรนในด้านการขนส่งทางอากาศและกำหนดคำนิยามที่ชัดเจนเพื่อจัดประเภทให้ตรงตามวัตถุประสงค์ไว้ในกฎหมาย พร้อมทั้งลดการให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการใช้ดุลพินิจเพื่อออกใบอนุญาตโดรนในด้านการขนส่งทางอากาศ ควรออกนโยบายส่งเสริมการนำนวัตกรรมและให้ความสำคัญกับมาตรการความมั่นคงของประเทศและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนด้วย

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กิตติคุณ แย้มนิยม. “ปัญหากฎหมายที่เกี่ยวกับการใช้อากาศยานไร้นักบิน.” สารนิพนธ์นิติศาสตร-

มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559.

กิตติวัฒน์ เลาหกิจ. การศึกษากระบวนการโลจิสต์สำหรับการขนส่งทางอากาศในประเทศไทย.

กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสยาม, 2557.

กนกพร หาญสุทธีรากุล. “การศึกษามูลค่าของเวลาและค่าระวางเพื่อการตัดสินใจในการขนส่ง.”วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติก, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.

เฉลิมพงษ์ ซิ่วสุวรรณ. “มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน:กรณีศึกษาการยึดและปิดล้อมท่าอากาศยานระหว่างประเทศ.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, 2553.

ประกายเพชร ธีระพัฒน์สกุล และสมชาย พิพุธวัฒน์. โดรนตามกฎหมายการเดินอากาศ, MFU

Connexion, 2558.

Cassart, Alexandre. Droit des drones : Belgique, France, Luxembourg. Paris: Bruylant, 2017.

Custer, B. The Future of Drone Use – springer. Netherlands: T.M.C. Asser, 2016.

Directorate General for Civil Aviation (Direction générale de l'Aviation civile). AÉRONEFS CIRCULANT SANS PERSONNE à BORD : ACTIVITÉS PARTICULIÈRES [Online]. Available URL: https://www.aeroport.fr/uploads/documents/Guide_ A%C3%89RONEFS%20CIRCULANT%20SANS%20PERSONNE%20%C3%A0%20BORD%20%20ACTIVIT%C3%89S%20PARTICULI%C3%88RES_v1.pdf, 2015 (December, 22).

_____. Documents OACI - Edition 2021–2022 Marchandises dangereuses [Online]. Available URL: https://www.ecologie.gouv.fr/sites/default/files/Nouveautes_2021_2022.pdf, 2020 (November, 1).

Elias, Bart. Unmanned Aircraft Operations in Domestic Airspace: U.S. Policy Perspectives and the Regulatory Landscape [Online]. Available URL: file:/// C:/Users/Administrator/Downloads/789767.pdf, 2020 (December, 14).

L' Agence nationale des fréquences (ANFR), Le tableau national de répartition des bandes de fréquences [Online]. Available URL: https://www.anfr.fr/gestion-des-frequences-sites/tnrbf/, 2021 (May, 4).

Mazoyer, S. Les drones aériens: passé, présent et avenir, approche globale, La Documentation française Paris, 2013.

Ministère de la Transition écologique, Règlementation pour l’exploitation d'avions et hélicoptères (AIROPS) [Online]. Available URL: https://www.ecologie. gouv.fr/reglementation-lexploitation-davions-et-helicopteres-airops, 2021 (April, 01).

Muñoz, César A. and others. “Unmannedaircraft systems in the national airspace system: aformal methods perspective.” ACM SIGLOG News 3, 3 (August 2016): 67-76.

Steinberg, Joseph. Drones in America Must Now Be Registered. Here's What You Need to Know. [Online]. Available URL: https://www.inc.com/joseph-steinberg/drones-in-america-must-now-be-registered-here-is-what-you-need-to-know.html, 2021 (May, 4).

Williams, Thomas E. “That Drone in Your Holiday Stocking Must Now Be Registered With FAA.” National Law Review 5, 351 (December 2015).