หลักการว่าด้วยความรับผิดของฝ่ายปกครองตามกฎหมายฝรั่งเศส

Main Article Content

ณฐ สันตาสว่าง

Abstract

                 ในการดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะของฝ่ายปกครองนั้น อาจก่อให้เกิดความรับผิดแก่ฝ่ายปกครองได้ในสองสถานการณ์ ซึ่งอาจจะเป็นความรับผิดตามสัญญาหรืออาจจะเป็นความรับผิดทางละเมิดในกรณีที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเอกชน การที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องรับผิดในการกระทำความผิดในศาลยุติธรรมหรือในศาลปกครองนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของความผิดที่ได้ก่อให้เกิดขึ้น กล่าวคือ เมื่อใดความผิดดังกล่าวเป็นความผิดส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ซึ่งหมายถึง ความผิดที่เจ้าหน้าที่ได้กระทำไปโดยแยกออกมา หรือไม่มีส่วนสัมพันธ์กับหน้าที่ของหน่วยงาน เจ้าหน้าที่อาจถูกฟ้องเป็นความผิดส่วนตัวต่อศาลยุติธรรม และเมื่อใดที่การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายเกิดจากการกระทำในหน้าที่ กล่าวได้ว่า เป็นความผิดของหน่วยงานคดีจะต้องถูกฟ้องยังศาลปกครอง แต่ก็อาจเกิดสถานการณ์ที่ความผิดส่วนตัวของเจ้าหน้าที่กับความผิดของหน่วยงานเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ในกรณีเช่นนี้จะเป็นไปตามหลัก “ความรับผิดร่วม” ซึ่งผลของความรับผิดร่วม คือ ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเลือกที่จะฟ้องเจ้าหน้าที่เป็นความผิดส่วนตัวต่อศาลยุติธรรม หรือจะเลือกฟ้องฝ่ายปกครองให้ต้องรับผิดอันเป็นความผิดของหน่วยงานต่อศาลปกครองก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ความรับผิดร่วมนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้เสียหายที่จะได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนซ้ำซ้อนสองครั้ง โดยอาศัยการฟ้องต่อศาลปกครองและในขณะเดียวกันก็ฟ้องต่อศาลยุติธรรมด้วย ดังนั้น ผู้เสียหายจะต้องเลือกฟ้องยังศาลใดศาลหนึ่งที่ตนเห็นว่าจะได้รับประโยชน์สูงสุด

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

Dancy, Gilles. La responsabilité de l’administration. Paris, Dallaz, 1996.

Guetttier, Christophe. La responsabilité administrative. Paris, L.G.D.J. 1996.

Jean-Claude Bonichot, Paul Cassia et Bemard Poujade. Les Grands Arrêts du contentieux administratif. 1re éd. Paris, Dalloz, 2006.

M. Long, P. Well, G. Braibant, P. Delvové et B. Genevois. Les Grands Arrèts de la jurisprudence administrative. 16e éd. Paris, Dalloz, 2007.

Moreau, Jacques. La responsabilité administrative. 3rd ed. Corrigêe. Paris, P.U.F., 1996.

Paillet, Michel. La responsibilité administrative. Paris. Dalloz, 1996.

René Chapus. Droit du contentieux administrative. Paris Montchrestien, 2006. 12e éd.

Rougevin-Baville, Michel. La responsabilité administer 4 ative. Paris, Hachetle, 1992.