ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับส่วนได้เสียในสัญญาประกันชีวิต
Main Article Content
Abstract
บทความวิจัยเรื่อง ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับส่วนได้เสียในสัญญาประกันชีวิต มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี กฎหมายประกันภัย และส่วนได้เสียในสัญญาประกันชีวิต รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับส่วนได้เสียในสัญญาประกันชีวิต
ผลของการวิจัยพบว่า การทำสัญญาประกันภัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นความผูกพันที่ก่อให้เกิดหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน แต่กฎหมายได้กำหนดให้ผู้เอาประกันต้องมีส่วนได้เสีย หากไม่มีส่วนได้เสียสัญญาไม่ผูกพัน ตามมาตรา 863 เมื่อสัญญาไม่ผูกพันจึงไม่มีหนี้ที่ต้องชำระ ปัญหาเกี่ยวกับส่วนได้เสีย ตามมาตรา 863 ในสัญญาประกันชีวิต คือ กฎหมายไม่ได้กำหนดความหมาย ระยะเวลา และบุคคลที่ต้องมีส่วนได้เสียไว้เป็นการเฉพาะจึงต้องอาศัยหลักการพิจารณาตามแนวคำพิพากษาของศาล และความหมายตามที่มีผู้ศึกษาและนำเสนอไว้เพื่อพิจารณาว่า ผู้เอาประกันมีส่วนได้เสียในสัญญาประกันชีวิตหรือไม่ โดยเฉพาะกรณีที่มีการเอาประกันชีวิตผู้อื่น ปัญหาที่พบในกรณีนี้ คือ ปัญหาเกี่ยวกับส่วนได้เสียของคู่หมั้น สามีภริยา ทายาท และปัญหาเกี่ยวกับส่วนได้เสียของบุคคลที่เกี่ยวข้องในทางธุรกิจ ซึ่งบุคคลต่างๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์กัน แต่จะถึงขั้นมีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันชีวิตกันได้หรือไม่ การพิจารณาจึงต้องอาศัยเงื่อนไขอันได้แก่ ความเดือดร้อนหรือประโยชน์ที่จะได้รับหากผู้ถูกเอาประกันชีวิตตายหรือมีชีวิตอยู่ หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการได้รับการอุปการะ การส่งเสียเลี้ยงดู ที่ผู้เอาประกันได้รับจากผู้ถูกเอาประกัน
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายในหมวดสัญญาประกันชีวิต โดยกำหนดบทเฉพาะสำหรับกรณีที่มีการทำสัญญาประกันชีวิตด้วยเหตุแห่งความทรงชีพหรือมรณะของผู้อื่น เพิ่มเติมความชัดเจนเกี่ยวกับการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างผู้เอาประกันและผู้ถูกเอาประกันชีวิต โดยกำหนดเงื่อนไขความเดือดร้อนหรือผลประโยชน์ที่จะได้รับหากผู้ถูกเอาประกันตายหรือยังมีชีวิตอยู่ และในการพิจารณาส่วนได้เสียในสัญญาประกันชีวิตของบริษัทประกันชีวิตอาจพิจารณาบุคคลดังต่อไปนี้ให้อยู่ในฐานะที่เอาประกันชีวิตกันได้ ได้แก่ คู่หมั้น คู่สมรส สามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสแต่อุปการะส่งเสียเลี้ยงดูกัน บิดามารดากับบุตร (กรณีบุตรหากบรรลุนิติภาวะแล้วจะเอาประกันชีวิตบิดามารดาได้เมื่อบุตรนั้นอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา) บุตรบุญธรรมกับผู้รับบุตรบุญธรรม พิจารณาเช่นเดียวกับบิดามารดากับบุตร ญาติ เฉพาะที่มีการอุปการะเลี้ยงดูกัน ผู้เป็นหุ้นส่วนเจ้าหนี้กับลูกหนี้ เฉพาะเจ้าหนี้เป็นฝ่ายเอาประกันชีวิตลูกหนี้ นายจ้างกับลูกจ้าง เฉพาะลูกจ้างที่มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญงาน
Article Details
References
จิตติ ติงศภัทิย์. กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2524.
_______. กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2530.
จิ๊ด เศรษฐบุตร. คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ ฝากของในคลังสินค้า ประนีประนอม การพนันขันต่อ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง, 2492.
จำรัส เขมะจารุ. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะประกันภัยอนุสรณ์เนื่องในงานฌาปนกิจศพ นายเจียก เขมะจารุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2522.
ไชยยศ เหมะรัชตะ. กฎหมายว่าด้วยการประกันภัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525.
“ประกันภัย.” ใน รายงานธุรกิจประกันภัยในประเทศไทย พ.ศ.2518. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานประกันภัย กระทรวงพาณิชย์, 2521.
ประเสริฐมนูกิจ, หลวง. คำสอนชั้นปริญญาตรี กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอม การพนันขันต่อ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง, 2482-2483.
ประมูล สุวรรณศร. คำสอนชั้นปริญญาตรี กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง, 2493.
พรรณี หมั่นทำการ. “ส่วนได้เสียอันอาจเอาประกันภัยได้.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2523.
สัมฤทธิ์ รัตนดารา. กฎหมายกับการประกันชีวิตในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2527.
สิทธิโชค ศรีเจริญ. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประกันภัย. กรุงเทพมหานคร: ประชุมทองการพิมพ์, 2528.
สุดา วัชรวัฒนากุล. “ส่วนได้เสียในสัญญาประกันภัย.” วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2, 15 (มิถุนายน 2528): 84.
สุธรรม พงศ์สำราญ และคณะ. หลักการประกันชีวิต. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิชย์, 2521.
สุเมธ จานประดับ. รายงานการวิจัย ความยินยอมในการประกันชีวิตผู้อื่น. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพมหานคร: 2553.
เสนีย์ ปราโมช, ม.ร.ว. กฎหมายอังกฤษว่าด้วยลักษณะสัญญาและละเมิด. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง, 2479.
พระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขาย พ.ศ. 2471.
พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535.
พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.
คำพิพากษาที่ 1366/2509.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1769/2521.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2499.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2519.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2500.
Birds, John. Ben Lynch and Simon Paul. Mac Gillivray on Insurance Law. UK: Sweet & Maxwell, 2018.
Blackburn J. Wilson v Jones (1867) Halebury, Yol.22 Third /edition, p.96.
Harse V. Pearl. Life Assurance, (1904) K.B.558, (1904-1907) All E.R.Rep.630.
Ivamy, E.R. Hardy. General Principles of Insurance Law. London: Bulterworth, 1970.
Kecton, Robert E. Basic text on Insurance Law. St. Paul, MN: West Publishing Co., 1971.
Life Insurance Act. 1774 14 Geo.3,c.48.
Maclean, Joseph B. Life Insurance. 8th ed. Publisher: Mcgraw-Hill Book Company, 1962.
M’ Farlane V. Royal London Friendly Society (1886), 2 T.L.R. 755.
Patterson, Edwain W. Cases and Materials on the Law of Insurance. Brooklyn, The Foundation Press, Inc., 1955.
The Life Assurance Act. 1774.
Vance, William R. Handbook On The Law Of Insurance. 3rd ed. St. Paul, MN: West Publishing Co., 1951.