การใช้สิทธิปฏิเสธการรักษาของผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามกฎหมายสุขภาพแห่งชาติ: ศึกษาเปรียบเทียบประเทศไทยและไต้หวัน
Main Article Content
Abstract
สิทธิปฏิเสธการรักษาของผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Right to refuse medical treatment) เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของผู้ป่วยในการปฏิเสธการรักษาเพื่อยืดชีวิตในวาระสุดท้ายหรือการปฏิเสธการรักษาที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดทรมานในวาระสุดท้ายของชีวิตผ่านพินัยกรรมชีวิต (Living will) ประเทศไทยได้รับรองสิทธิปฏิเสธการรักษาและอนุญาตให้ปล่อยผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างสงบเองตามธรรมชาติ (passive euthanasia) ไว้ในมาตรา 12 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ในปัจจุบันแม้สิทธิดังกล่าวตามกฎหมายสุขภาพแห่งชาติได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ดี ยังมีปัญหาทางกฎหมายที่สำคัญสองประการ กล่าวคือ ปัญหาผู้มีอำนาจตามกฎหมายในการแสดงเจตนาแทนผู้ป่วยกรณีผู้ป่วยไม่ได้ทำหนังสือแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษาในวาระสุดท้ายไว้ล่วงหน้า และปัญหาการไม่มีหลักเกณฑ์กำหนดชัดเจนกรณีการดูแลประคับประคองโดยการลดระดับการรู้สึกตัวในระยะใกล้เสียชีวิต (Palliative Sedation) บทความนี้จึงมุ่งศึกษาปัญหาดังกล่าวของประเทศไทยโดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิเสธการรักษาและการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองของไต้หวัน ทั้งนี้ บทความนี้เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง หรือออกประกาศสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติฉบับใหม่เพื่อกำหนดลำดับญาติใกล้ชิดผู้มีอำนาจแสดงเจตนาตามกฎหมายแทนผู้ป่วยระยะสุดท้าย และเสนอแนะให้ออกกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการกำหนดการดูแลประคับประคองโดยการลดระดับการรู้สึกตัวในระยะใกล้เสียชีวิต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จรัญ โฆษณานันท์.สิทธิมนุษยชนไร้พรมแดน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2559.
นันทน อินทนนท์.“ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการตายโดยสงบ.” บทบัณฑิตย์57, 4 (ธันวาคม 2544): 129-157.
นพพล วิทย์วรพงศ์.การตัดสินใจในระยะท้ายของชีวิตกับสังคมไทย: บทเรียนจากประสบการณ์ของต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, 2563.
นิรมัย พิศแข มั่นจิตร.กฎหมายว่าด้วยสิทธิของผู้ป่วยและการจัดทำบริการทางด้านสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561.
บัณฑิตบุญกระเตื้อง.“มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพชาติพ.ศ. 2550 ในมุมมองทางมหาชน.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์, 2557).
ปิติพร จันทรทัต ณ อยุธยา.ตายอย่างมีศักดิ์ศรี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ, 2546.
ยงยุทธ ภู่ประดับกฤต.การตายดี: สิทธิซึ่งทุกคนพึงได้รับกับปัญหาในทางปฏิบัติ [Online]. Available URL: https://www.krisdika.go.th/data/activity/act13459.pdf, 2563 (มิถุนายน, 3).
รุ่งนิรันดร์ประดิษฐสุวรรณ.“การทําหนังสือแสดงเจตนาเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยในระยะสุดท้ายของชีวิต (advance directives) และการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบประคับประคอง (palliative care).” ใน นิติเวชศาสตร์และกฎหมายการแพทย์.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2555.
วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์.กฎหมายการแพทย์สมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2561.
_______. “สิทธิที่จะปฏิเสธการรักษา-สิทธิที่จะตาย.” ดุลพาห 56, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2552):56-58.
ศรีเวียง ไพโรจน์กุล. “สิทธิปฏิเสธการรักษาในระยะท้ายของชีวิตกับปัญหาในทางปฏิบัติ.” ในงานวิชาการรำลึกศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ครั้งที่ 24.จัดโดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร, 2562, หน้า 49.
แสวง บุญเฉลิมวิภาส และเอนก ยมจินดา.กฎหมายการแพทย์.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ วิญญูชน, 2546.
แสวง บุญเฉลิมวิภาส.หลักการมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ คือ สิทธิที่จะขอตายตามธรรมชาติ[Online]. Available URL:file:///C:/Users/Administrator/Downloads/%E0%
B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%2012%20%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%20%E0%B8%9E.%E0%B8%A3.%E0%B8%9A.%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%204%20%E0%B8%A1.%E0%B8%84.59.pdf, 2563 (มิถุนายน, 3).
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550.
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ. 2553.
ประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2563.
ประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง นิยามปฏิบัติการ (Operational definition) ของคำที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) สำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2563.
Hfocusเจาะลึกระบบสุขภาพ, คกก.สุขภาพชาติเห็นชอบคำนิยาม‘การดูแลแบบประคับประคอง’ รองรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย [Online]. Available URL: https://www.hfocus.org/content/2019/
/18113, 2563 (มิถุนายน, 3).
Broeckaert, Bert. “Palliative sedation, physician-assisted suicide, and euthanasia: “Same, same but different”?.” The American Journal of Bioethics11, 6 (June 2011): 62-64.
Chen, Rong-Chi. “The Spirit of Humanism in Terminal Care: Taiwan Experience.” The Open Area Studies Journal 2 (March 2009): 9.
Cheng, Shao-Yi, Ching-Yu Chen, and Tai-Yuan Chiu.“Advances of Hospice Palliative Care in Taiwan.”The Korean Journal of Hospice and Palliative Care 19, 4 (December 2016): 292.
Cho, Chun-Ying. “From cure to care: the development of hospice care in Taiwan.”Hospice& Palliative Medicine International Journal 2, 5 (2018): 286-287.
Di, Zhang. Why China Should Start Planning for Legal Euthanasia [Online]. Available URL: https://www.sixthtone.com/news/1003690/why-china-should-start-planning-for-legal-euthanasia, 2020 (June, 3).
Lin, Yiting. Asia’s First ‘Natural Death’ Law, Will Taiwan be Ready?[Online]. Available URL: https://english.cw.com.tw/article/article.action?id=1975, 2020 (June, 3).
Med Crave. Hospice & Palliative Medicine International Journal [Online]. Available URL: https://medcraveonline.com/HPMIJ/HPMIJ-02-00108, 2020 (June, 3).
World Medical Association Declaration of Lisbon on The Rights of The Patient ค.ศ. 2005.
World Medical Association.WMA Declaration of Lisbon on the Rights of the Patient[Online]. Available URL: https://www.wma.net/policies-post/wma-declaration-of-lisbon-on-the-rights-of-the-patient/, 2020 (June, 3).
Zhang, Xiaomeng. Taiwan Legal Research Guide [Online]. Available URL: https://www.nyulawglobal.org/globalex/Taiwan.html#iii3, 2021 (May, 17).
Hospice Palliative Care Act.