การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย: ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายและหน่วยงานของประเทศออสเตรเลีย

Main Article Content

ปฐวี สิรินภากุล

Abstract

           การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์เป็นการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับนโยบาย แผน และแผนงานโดยการประเมินสิ่งแวดล้อมลักษณะนี้จะดำเนินการก่อนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมระดับโครงการ (environmental impact assessment (EIA))การดำเนินการประเมินสิ่งแวดล้อมดังกล่าวครอบคลุมลำดับสาขากิจกรรมหรือพื้นที่ภูมิภาคมากกว่าการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในโครงการใดโครงการหนึ่งหรือกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งโดยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์จะพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจสะสม (cumulative effect) จากการพัฒนาโครงการในพื้นที่ใกล้เคียงกันรวมทั้งให้ความสำคัญกับการจัดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของนโยบาย แผน และแผนงานการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์จึงถือได้ว่าเป็นการดำเนินการตามหลักการระวังไว้ก่อน (Precautionary Principle)


           จากการศึกษาพบว่าประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศหนึ่งที่มีการดำเนินงานการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์อย่างแพร่หลายและมีประสิทธิภาพ โดยมีการตราพระราชบัญญัติการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 1999 (Environment Protection and Biodiversity Conservation Act 1999 (EPBC Act)) ซึ่งได้มีการกำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบ รวมทั้งบัญญัติหลักเกณฑ์และขั้นตอนของการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ไว้อย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยนั้น พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2561)เพียงแค่กล่าวถึงการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ไว้เบื้องต้น แต่ก็ไม่มีการกำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบรวมถึงไม่มีการบัญญัติหลักเกณฑ์และขั้นตอนโดยละเอียดเกี่ยวกับการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์แต่อย่างใด ดังนั้น จึงทำให้การพัฒนาและป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมขาดการบูรณาการตั้งแต่ระดับการวางนโยบาย แผน และแผนงาน ซึ่งจะส่งผลทำให้การพัฒนาและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่อาจสอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนได้

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมควบคุมมลพิษ.รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษา ข้อเสนอแนะการปรับปรุงกลไกการควบคุมและ

บังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2540.

โกเมท ทองภิญโญชัย.“การใช้กฎหมายในการป้องกันและแก้ไขมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม.” นิติศาสตร์

มหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534.

ฉัตรไชย รัตนไชย.การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.

มัทยา จารุพันธ์ และ สุนีย์มัลลิกะมาลย์.กฎหมายควบคุมสภาวะแวดล้อมสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม.

กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522.

โรจนัจฉริย์ ด่านสวัสดิ์.การประเมินสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์.สงขลา: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,

โรจนัจฉริย์ ด่านสวัสดิ์.ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวางแผนจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่าง

ผสมผสานแบบยึดพื้นที่.สงขลา: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2540.

สุชานันหรรษอุดม.“ควรมีการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ในประเทศ

ไทยหรือไม่?.”วารสารนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์50,2 (เมษายน 2564): 46.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สี่ พ.ศ. 2520-2524[Online]. Available URL:http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link .php?nid=3779, 2564 (เมษายน,21).

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์.

กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2552.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.แนวทางการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์.

กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2563.

__________.การประชุมวิชาการ เรื่อง “(ร่าง) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. .......การประชุมกลุ่มย่อยระดมความคิดเห็นครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 6 กุมภาพันธ์ 2564.

อวิการัตน์ นิยมไทย.“หลักการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม.”วารสารจุลนิติ40,1 (มิถุนายน

: 15.

Department of Agriculture, Water and the Environmen.A guide to undertakingstrategic

AssessmentsSource [Online]. Available URL: https://www.environment.gov.au/epbc/Publications/guide-undertaking-strategic-assessments, 2021 (May, 3).

¬¬__________. Strategic AssessmentSource [Online]. Available URL: https://www.environment.gov.au/system/files/resources/0896f6de-4473-4c0e-bb2a-1ceeae34867c/files/strategic-assessment-guide_1.pdf, 2021 (May, 3).

Glasson,John.RikiTherivel and Andrew Chadwick.Introduction to Environmental Impact

Assessment.2 ed. New York: Routledge-Cavendish, 2005.

Marsden, Simon. “A Critique of Australian Environmental Law Reform for Strategic

Environmental Assessment.”University of Tasmania Law Review32, 2 (May 2013): 57-61.

Morrison-Saunders, Angus and Jos Arts.AssessingImpact : Handbook of EIA and SEA Follow-up. London: Earthscan, 2004.

Ross,Mitchell and ZsuzsaBanhalmi-Zakar.Just how ‘strategic’ are StrategicEnvironmental

Assessments? An assessment of the strategic nature of Australian Strategic

Assessments under the EPBC Act (1999)[Online]. Available URL: https://Conferences.iaia.org/2019/uploads/edited-presentations/

Final%20Paper%20Ross%20385.pdf, 2021 (July, 22).

Tetlow,MonicaFundingsland and Marie Hanusch.“Strategic EnvironmentalAssessment:The

State of the Art,”Journal of Impact Assessment and Project Appraisal

,2(January 2012): 22-24.

Therivel,Riki.Strategic Environmental Assessment in Action.London:Earthscan,2004.

United Nations World Commission on Environment and Development (WCED).OurCommon

Future. 2 ed. London: Oxford University Press, 1987.