ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะการกระทำชำเรา ตามมาตรา 276* กับลักษณะการกระทำอนาจารโดยการล่วงล้ำ ตามมาตรา 278 วรรคสอง ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2562

Main Article Content

ปานรดา สุทธิทองแท้
อัจฉรียา ชูตินันทน์

Abstract

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาผลกระทบอันเกิดจากความไม่ชัดเจนแน่นอนของกฎหมายอาญาเกี่ยวกับจุดแบ่งแยกการกระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรากับความผิดฐานกระทำอนาจาร เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราและความผิดฐานอนาจารโดยการล่วงล้ำให้สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทของสังคมปัจจุบันและสอดคล้องกับหลักความชัดเจนแน่นอนของกฎหมายอาญา


          เดิมคำนิยามของคำว่า “การกระทำชำเรา” หมายความว่า “การกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น” ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับคำนิยามของการกระทำชำเรา ตามประมวลกฎหมายอาญาประเทศฝรั่งเศส แต่ในปัจจุบันประมวลกฎหมายอาญาได้กำหนดคำนิยามของการกระทำชำเราไว้ในมาตรา 1(18) หมายความว่า “กระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำ โดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำล่วงล้ำอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น” ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับคำนิยามของการกระทำชำเรา ตามพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับเพศ ค.ศ.2003 ในประเทศอังกฤษ สิ่งที่เปลี่ยนไปจากกฎหมายเดิม คือ การใช้สิ่งอื่นใดหรืออวัยวะอื่นใดของผู้กระทำสอดใส่อวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้เสียหายเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำ อันเป็นการกระทำชำเราผิดธรรมดามนุษย์ ได้ถูกย้ายไปเป็นเหตุเพิ่มโทษของการอนาจาร เรียกว่า “การกระทำอนาจารโดยการล่วงล้ำ” การแก้ไขกฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับลักษณะของการกระทำชำเราตามธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ตามเป็นกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์สังคมโลกปัจจุบันที่ว่าความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราควรมุ่งหมายที่จะคุ้มครองผู้ถูกกระทำทางเพศที่ไม่ใช่เพียงแค่การร่วมประเวณีตามแบบพื้นฐานปกติเท่านั้น ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ ไม่เป็นธรรม ขัดต่อหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อีกทั้ง ยังขาดความชัดเจนแน่นอน ซึ่งเป็นหลักประกันในกฎหมายอาญาและเป็นหลักประกันความเป็นนิติรัฐ จึงเห็นควรกำหนดจุดแบ่งแยกของลักษณะการกระทำชำเรากับลักษณะการกระทำอนาจาร เพื่อให้เกิดความชัดเจนแน่นอนในกฎหมายอาญา

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

“กฎหมายลักษณอาญา ร.ศ.127.” ราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่ม 25 (1 มิถุนายน 127): 260.

คณิต ณ นคร. กฎหมายอาญาภาคทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2563.

คณพล จันทน์หอม. คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคความผิด เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2563.

ปกป้อง ศรีสนิท. กฎหมายอาญาชั้นสูง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2563.

_______. การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาเรื่องเพศ : ความหมายใหม่และโทษใหม่ของการข่มขืนกระทำชำเรา [Online]. Available URL: https://www.the101.world/rape-in-thai-law/, 2564 (กุมภาพันธ์, 2).

_______. คำอธิบายกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2556.

“พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2562.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 69 ก (27 พฤษภาคม 2562): 127–134.

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 จุลศักราช 1166 พิมพ์ตามฉะบับหลวง ตรา 3 ดวง เล่ม 2 (ม.ป.ท., 2482).

ยิ่งรัก อัชฌานนท์. กฎหมายข่มขืนใหม่ ทำอะไรจะผิดฐานข่มขืนบ้าง [Online]. Available URL: https://ilaw.or.th/node/1859, 2564 (กุมภาพันธ์, 1).

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 [Online]. Available URL: https://dictionary.orst.go.th/, 2564 (มกราคม, 30).

สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. “เอกสารประกอบการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ.... (ความผิดเกี่ยวกับเพศ).” (กรุงเทพมหานคร: สำนักการพิมพ์, 2562).

หยุด แสงอุทัย. คำอธิบายกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2548.

อัจฉรียา ชูตินันทน์. คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2556.

_______. “หลักการกำหนดความผิดอาญาและหลักการกำหนดโทษในการตรากฎหมาย.” วารสารสุทธิปริทัศน์ 35, 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2564): 21-43.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.

ประมวลกฎหมายอาญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1133/2509.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4836/2547.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5828/2558.

Penal Code of Japan.

The French penal Code.

The Sexual Offences Act 2003.