มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีความลับทางการค้า
Main Article Content
Abstract
ความลับทางการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่มีความสำคัญในการประกอบธุรกิจ เนื่องจากก่อให้เกิดความได้เปรียบในเชิงพาณิชย์ และเมื่อมีการทำละเมิด กฎหมายกำหนดให้ผู้ควบคุมความลับทางการค้ามีสิทธินำคดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลได้ทั้งทางแพ่งและทางอาญา แต่เนื่องจากกระบวนการในการดำเนินคดีความลับทางการค้าของประเทศไทยยังกำหนดมาตรการในการให้ความคุ้มครองความลับทางการค้าไว้ไม่เหมาะสมเพียงพอ ก่อให้เกิดปัญหาในการเก็บรักษาข้อมูลการค้าอันเป็นความลับและการคงสภาพการเป็นความลับทางการค้า รวมทั้งกำหนดค่าสินไหมทดแทนไม่ครอบคลุมกับความเสียหายที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้รับ การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองความลับทางการค้า ศึกษาปัญหาและมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีความลับทางการค้าของประเทศไทยและของต่างประเทศ และพัฒนาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองความลับทางการค้าและการดำเนินคดีความลับทางการค้าของประเทศไทย โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการค้นคว้าเอกสารของประเทศไทยและต่างประเทศ และการเก็บข้อมูลภาคสนามโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก
ผลการศึกษาพบว่า กฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีความลับทางการค้าของประเทศไทย ตั้งแต่กระบวนการยื่นคำฟ้อง คำให้การและฟ้องแย้ง คำขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนฟ้อง คำขอสืบพยานหลักฐานไว้ก่อน การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่น การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และการพิจารณาคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ และศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ กำหนดมาตรการในการรักษาความลับทางการค้าไว้ไม่เหมาะสมเพียงพอ รวมทั้งกฎหมายกำหนดสินไหมทดแทนไม่ครอบคลุมกับความเสียหายที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้รับ และไม่มีหลักเกณฑ์ให้ศาลนำไปใช้ประกอบดุลพินิจ
ผู้วิจัยเสนอแนะว่า ควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 กำหนดให้การติดต่อระหว่างศาล หรือระหว่างศาลกับคู่ความหรือผู้เกี่ยวข้องในคดี กระทำโดยทาง โทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ให้ใช้การพิจารณาลับ และเมื่อเสร็จการพิจารณาให้ศาลมีคำสั่งให้บุคคลภายนอกส่งคืนเอกสารที่ปรากฏความลับทางการค้าต่อศาลเพื่อมอบให้แก่เจ้าของเอกสารต่อไป แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ห้ามมิให้บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลความลับทางการค้า คู่ความและบุคคลที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ต้องรักษาความลับ และต้องทำลายสำนวนไกล่เกลี่ยในทุกกรณี แก้ไขพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจกำหนดค่าสินไหมทดแทน โดยให้ศาลคำนึงถึงพฤติการณ์และความร้ายแรงของความเสียหาย รวมทั้งการสูญเสียประโยชน์ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการบังคับตามสิทธิของผู้ควบคุมความลับทางการค้า และออกคำสั่งแนวปฏิบัติในศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ และศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ให้จัดการสำนวนแบบลับ รวมทั้งกำหนดให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับสำนวนคดีความลับทางการค้ามีหน้าที่ต้องเก็บรักษาความลับนั้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ไชยยศ เหมะรัชตะ. ลักษณะของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2559.
ธนพจน เอกโยคยะ. “หลักกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองความลับทางการค้า.” ใน เอกสาร
ประกอบการบรรยายการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
รุ่นที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.พ.
พรชัย ด่านวิวัฒน์. กฎหมายการค้าและสิ่งสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2550.
Japanese Law Translation. Code of Civil Procedure [Online]. Available URL: https:www.japaneselawtranslation.go.jp, 2018 (August, 10).
_______. Unfair Competition Prevention Act [Online]. Available URL: https:www.japaneselawtranslation.go.jp, 2561 (สิงหาคม, 10).
WIPO. Paris Convention for the Protection of Industrial Property [Online],
Available URL: https://wipo.int/treaties/en/ip/paris/summary_paris.html, 2018
(October, 4).
_______. the TRIPs Agreement [Online], Available URL: http://www.wto.org, 2561
(October, 4).
_______. Uniform Trade Secret Act with 1985 Amendments [Online]. Available
URL: https:www.wipo.int/edocs/lexdocs/laws/en/us/us216en.pdf, 2561 (October, 13).
พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2540.
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.
ระเบียบศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2545.
ระเบียบศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติงานการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องคดี พ.ศ. 2562.
ข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540.
คำสั่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ 49/2560.
The Economic Espionage Act.
The Texas Uniform Trade Secret Act (TUTSA).
Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual property Rights.