การปฏิบัติตามความตกลงด้านศุลกากรของประชาคมอาเซียนเกี่ยวกับราคาศุลกากร: ศึกษาเฉพาะกรณีพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2560

Main Article Content

รัฐศักดิ์ พิศุทธางกูร

Abstract

            ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีและให้สัตยาบันความตกลงอาเซียนด้านศุลกากร (ASEAN Agreement on Customs) ประกอบความตกลงในการนำมาตรา 7 ของความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า 1994 มาถือปฏิบัติ (Agreement on Implementation of Article VII of the General Agreement on Tariffs and Trade 1994) และในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาหน่วยงานศุลกากรของประเทศไทยได้จ่ายเงินสินบนรางวัล ตามกฎหมายให้แก่สายสืบและเจ้าหน้าที่รวมเป็นจำนวนเงินมหาศาล ดังนั้น การนำเข้าของหรือสินค้ามาในประเทศไทยจึงเกิดปัญหาข้อพิพาทเรื่องอากรศุลกากรอย่างมาก ปัญหาข้อพิพาทเรื่องอากรศุลกากรดังกล่าวมีความเชื่อมโยงอย่างมีนัยสำคัญกับหลักเกณฑ์การกำหนดราคาศุลกากร หลักเกณฑ์ดังกล่าวนี้ผู้นำเข้าต้องใช้ในการสำแดงราคาศุลกากรต่อหน่วยงานศุลกากรเพื่อเสียอากรขาเข้าศุลกากร และเป็นหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานศุลกากรต้องใช้ประเมินราคาศุลกากรต่อผู้นำเข้าเพื่อบังคับเก็บอากรขาเข้าศุลกากรด้วย กล่าวคือ เป็นหลักเกณฑ์ที่กำหนดกำหนดฐานภาษี (Tax Base) ของอากรขาเข้าศุลกากร


           แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนได้พบว่าหลักเกณฑ์การกำหนดราคาศุลกากร ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2560 มาตรา 16 และ กฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดและการใช้ราคาศุลกากร พุทธศักราช 2560ปัจจุบัน มีหลักเกณฑ์บางส่วนที่เป็นมูลเหตุที่ส่งผลกระทบต่อการบังคับจัดเก็บอากรขาเข้าของหน่วยงานศุลกากรไทย และส่งผลกระทบต่อความเป็นธรรมและความแน่นอนเกี่ยวกับภาระภาษีของผู้นำเข้าและประชาชนผู้บริโภคสินค้านำเข้านอกจากนี้  ผู้เขียนพบว่า กรณีที่ผู้นำเข้าเป็นผู้จำหน่ายของที่นำเข้านั้นแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย เป็นธุรกิจการค้าในลักษณะตลาดการผูกขาด (Monopoly) ผนวกกับกรณีที่ผู้นำเข้าดังกล่าวกับผู้ผลิตและหรือผู้ขายในต่างประเทศมีความสัมพันธ์กันเช่นนี้ ทำให้สภาพปัญหาเกิดผลกระทบเพิ่มขึ้นและเป็นสถานการณ์ที่ตรวจสอบราคาหรือมูลค่าที่แท้จริงแห่งของนำเข้าได้ยาก ดังนั้น หลักเกณฑ์ส่วนที่เป็นมูลเหตุดังกล่าวควรเพิ่มเติมหลักเกณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเจตนารมณ์ของความตกลงอาเซียนด้านศุลกากร ประกอบความตกลงในการนำมาตรา 7 ของความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า 1994 มาถือปฏิบัติมากยิ่งขึ้น เพื่อลดปัญหาทางกฎหมายในการปฏิบัติตามความตกลงอาเซียนด้านศุลกากร ข้อ 20 ราคาศุลกากรตามกฎหมายไทย และขณะเดียวกันหลักเกณฑ์การกำหนดราคาศุลกากรไทยจะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

บุญธรรม ราชรักษ์. ทฤษฎีภาษีอากร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2558.

ปรีชา สุวรรณทัต. วิชาธรรมศาสตร์ว่าด้วยการคลัง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2557.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554.สะดวก [Online]. Available URL: https://dictionary .orst go.th/, 2565(พฤษภาคม, 11).

วิทย์ตันตยกุล. กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร. กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตย-สภา, 2528.

อเนก เธียรถาวร. การคลังรัฐบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์น่ำกังการพิมพ์, 2522.

อาธิ ครูศากยวงศ์. เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม (Economic Industrial).กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น (มหาชน), 2553.

กฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดและการใช้ราคาศุลกากร พุทธศักราช 2560.

Agreement on Implementation of Article VIIof the General Agreement on Tariffs and Trade 1994,

Customs Valuation Regulations 1997 (Revised Edition 2002).

The Customs (Rules of Valuation) Regulations 1999.