อุปสรรคจากกฎหมายและนโยบายกับการค้าสินค้าเกษตรในประเทศไทย

Main Article Content

พรชัย วิสุทธิศักดิ์
นิสิต พันธมิตร

Abstract

        บทความวิจัยนี้วางอยู่บนฐานวิจัยที่มุ่งศึกษาอุปสรรคที่เกิดจากกฎหมายและนโยบายในการค้าสินค้าเกษตร 3 ชนิด ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของไทยในการส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ยางพารา อ้อยและน้ำตาลทราย โดยทำการวิเคราะห์ทางด้านกฎหมาย การดำเนินนโยบาย และมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาลที่ส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตรของไทย โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัย 3 แบบ คือ 1) การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) 2) การศึกษาเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Research) และ 3) การเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In Depth Interview) โดยการวิจัยนำเสนอการสรุปปัญหาทางกฎหมายและนโยบายที่สร้างอุปสรรคโดยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ผลกระทบจากกฎหมาย (Regulatory Impact Assessment (RIA)) และสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคจากกฎหมายต่อการค้าข้าว ยางพารา อ้อยและน้ำตาลทราย


        จากการศึกษาประเด็นปัญหาทางกฎหมายที่ก่อให้เกิดอุปสรรคการค้าสินค้าเกษตร ข้าว ยางพารา อ้อยและน้ำตาลทรายงานวิจัยพบว่ากฎหมายเป็นส่วนสำคัญส่งผลให้มีการจำกัดการทำการค้า ข้าว อ้อย ยาง โดยแต่สินค้าเกษตรจะมีกฎหมายเฉพาะเพื่อการกำกับซึ่งแม้ว่ากรอบกฎหมายที่กำกับแต่ละสินค้าจะสร้างให้เกิดแบบแผนที่ชัดเจนในการทำการค้าสินค้าเกษตรข้าว อ้อย ยาง แต่ทว่ากฎหมายก็เป็นส่วนทำให้มีการจำกัดทางการค้านำไปสู่การกระจุกตัวของผลประโยชน์การค้าข้าว อ้อย ยางที่เกษตรกรไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคา


          งานวิจัยเสนอให้มีการปฏิรูปกฎหมายการที่กำกับการเกษตรและการค้าสินค้าเกษตร โดยควรมีการปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมายเพื่อลดกฎหมายและขั้นตอนของกฎหมายที่ไม่จำเป็นต่อการทำการค้า มีการสร้างกรอบกฎหมายและนโยบายการเข้าถึงตลาดแก่เกษตรกรและผู้ค้ารายย่อย รวมถึงการพยายาม การวางกรอบกฎหมายและนโยบายให้เกษตรกรเป็นผู้ค้าสินค้าการตลาดได้อย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

เจนพล ทองยืน และสุมาลี วงษ์วิทิต. “การพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล.” วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (มกราคม 2559): 110-125.

ไฉไล ศักดิวรพงศ์ และ สุรพันธ์ เพชราภา. “กฎหมายการเกษตร: การถือครองที่ดินของเกษตรกรไทย (ภาค 2).” วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ 18, 2 (2540): 184-194.

พรชัย วิสุทธิศักดิ์ และ นิสิต พันธมิตร. โครงการอุปสรรคจากกฎหมายและนโยบายกับการค้าสินค้าเกษตรในประเทศไทย [Online]. Available URL: https://www.agripolicyresearch.com/?p=5674, 2565 (มีนาคม, 19).

ธนาคารแห่งประเทศไทย. “Regulatory Guillotine ปฏิรูปกฎหมาย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ.” The Knowledge 4 (2562): 26-29.

นิพนธ์ พัวพงศกร. “การแทรกแซงตลาดสินค้าเกษตรกับการกระจุกตัวของผลตอบแทนส่วนเกิน.” ใน โครงการการปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อความเป็นธรรมในสังคม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2554.

พงษ์ศักดิ์ ปัตถา. ระบบอนุญาตในพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2542 [Online]. Available URL: https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/

ewt_dl_link.php?nid=2449, 2565 (กันยายน, 14).

วิโรจน์ ณ ระนอง และคณะ. การศึกษาเพื่อปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทย [Online]. Available URL: https://tdri.or.th/wp-content/uploads/2015/06/structural-change-sugar-cane-industry.pdf, 2565 (สิงหาคม, 7).

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การวิเคราะห์ ผลกระทบในการออกกฎหมาย [Online]. Available URL: https://www.lawreform.go.th/uploads/files/1574751600-5lkm1-ee09v.pdf, 2565 (สิงหาคม, 22).

อิทธิพงศ์ มหาธนเศรษฐ์. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการการส่งผ่านราคาข้าวที่ไม่สมมาตรในตลาดข้าวของประเทศไทย [Online]. Available URL: https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/kukr/search_detail/result/413170, 2565 (มิถุนายน, 20).

Chou, Zou-Nan. Enhancing the role of Taiwan farmer's association in respones to changes in food consumption [Online]. Available URL: https://ap.fftc.org.tw/article/1214, 2022 (April, 20).

Rodrigo, Delia. Regulatory Impact Analysis in OECD Countries Challenges for developing countries [Online]. Available URL: https://www.oecd.org/gov/regulatory-policy/35258511.pdf, 2022 (August, 22).

The Farmers Association in Taiwan. Taiwan Review [Online]. Available URL: https://taiwantoday.tw /news.php?unit =8,8,29,32,32,45&post=13802, 2022 (December, 1).