การพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนบนหลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก

Main Article Content

ภัทราวรรณ รัตนเกษตร

Abstract

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนของประเทศไทยบนหลักประโยชน์สูงสุดของเด็กตามข้อ 13 แห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยศึกษาการนำหลักประโยชน์สูงสุดของเด็กมาใช้ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเฉพาะในสามประเด็นสำคัญ คือ การสอบสวน การใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดี และการป้องกันและติดตามเด็กและเยาวชนผู้กระทำความผิด โดยการวิจัยครั้งนี้ได้วิเคราะห์ข้อดีและลักษณะเด่นของกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นและกฎหมายของประเทศฝรั่งเศสซึ่งให้ความสำคัญต่อหลักประโยชน์สูงสุดของเด็กในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชน เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมต่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนของประเทศไทย


          จากการศึกษาวิจัยพบว่ากระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชนควรมีการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขทั้งด้านกฎหมายและนโยบายดังนี้ ประเด็นด้านกฎหมาย คือ แก้ไขวรรคสามของมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ให้มีสภาพบังคับโดยให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือผู้แทนองค์การซึ่งมีหน้าที่ดูแลเด็กหรือเยาวชน หรือพนักงานอัยการอย่างน้อยคนใดคนหนึ่งเข้าร่วมรับฟังการสอบสวน สำหรับการดำเนินกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งแทนการดำเนินคดีควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับลักษณะของการกระทำความผิด ความปลอดภัยของผู้เสียหายและการคุ้มครองผู้เสียหายอย่างต่อเนื่อง รวมถึงต้องมีกระบวนการติดตามและประเมินผลระหว่างดำเนินการและหลังดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงจากการตกเป็นเหยื่อซ้ำ การป้องกันและติดตามเด็กและเยาวชนควรให้ความสำคัญและระมัดระวังกลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการกระทำความผิดและมีแนวโน้มว่าจะกระทำผิดซ้ำภายหลังได้รับการปล่อยตัวโดยนำกฎหมายคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กมาใช้บังคับให้เหมาะสมต่อลักษณะและสภาพแวดล้อมของเด็กและเยาวชน ประเด็นด้านนโยบาย คือ รัฐบาลควรกำหนดนโยบายการพัฒนาเด็กและเยาวชนเป็นนโยบายระดับชาติ โดยเน้นการป้องกันการกระทำผิด การแก้ไขพฤติกรรม การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางสังคม และการใช้มาตรการพิเศษที่มุ่งต่อการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีของเด็กและเยาวชน

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)
Author Biography

ภัทราวรรณ รัตนเกษตร

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนของประเทศไทยบนหลักประโยชน์สูงสุดของเด็กตามข้อ 13 แห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก โดย ศึกษาการนำหลักประโยชน์สูงสุดของเด็กมาใช้ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเฉพาะในสามประเด็นสำคัญ คือ การสอบสวน การใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดี และการป้องกันและติดตามเด็กและเยาวชนผู้กระทำความผิด โดยการวิจัยครั้งนี้ได้วิเคราะห์ข้อดีและลักษณะเด่นของกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นและกฎหมายของประเทศฝรั่งเศสซึ่งให้ความสำคัญต่อหลักประโยชน์สูงสุดของเด็กในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชน เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมต่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนของประเทศไทย

          จากการศึกษาวิจัยพบว่ากระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชนควรมีการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขทั้งด้านกฎหมายและนโยบายดังนี้ ประเด็นด้านกฎหมาย คือ แก้ไขวรรคสามของมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ให้มีสภาพบังคับโดยให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือผู้แทนองค์การซึ่งมีหน้าที่ดูแลเด็กหรือเยาวชน หรือพนักงานอัยการอย่างน้อยคนใดคนหนึ่งเข้าร่วมรับฟังการสอบสวน สำหรับการดำเนินกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งแทนการดำเนินคดีควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับลักษณะของการกระทำความผิด ความปลอดภัยของผู้เสียหายและการคุ้มครองผู้เสียหายอย่างต่อเนื่อง รวมถึงต้องมีกระบวนการติดตามและประเมินผลระหว่างดำเนินการและหลังดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงจากการตกเป็นเหยื่อซ้ำ การป้องกันและติดตามเด็กและเยาวชนควรให้ความสำคัญและระมัดระวังกลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการกระทำความผิดและมีแนวโน้มว่าจะกระทำผิดซ้ำภายหลังได้รับการปล่อยตัวโดยนำกฎหมายคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กมาใช้บังคับให้เหมาะสมต่อลักษณะและสภาพแวดล้อมของเด็กและเยาวชน ประเด็นด้านนโยบาย คือ รัฐบาลควรกำหนดนโยบายการพัฒนาเด็กและเยาวชนเป็นนโยบายระดับชาติ โดยเน้นการป้องกันการกระทำผิด การแก้ไขพฤติกรรม การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางสังคม และการใช้มาตรการพิเศษที่มุ่งต่อการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีของเด็กและเยาวชน

References

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. รายงานสถิติคดี พ.ศ.2565 [Online]. Available URL: https://www.djop.go.th/storage/files/2/pdf, 2565 (ธันวาคม, 31)

วิชา มหาคุณ. “กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ : ทางเลือกใหม่สำหรับกระบวนการ ยุติธรรมไทย.” ใน กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ : ทางเลือกใหม่สำหรับกระบวนการยุติธรรมไทย. หน้า 26. กรุงเทพมหานคร: โครงการพัฒนาระบบกฎหมายไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ วิจัย (สกว.), 2545.

นิติธร วงศ์ยืน. “กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ด้วยวิธีการประชุมกลุ่มครอบครัว : หลักการสำคัญโดยย่อ และข้อคิดเห็นบางประการ.” ดุลพาห 52, 3 (กันยายน – ธันวาคม 2548): 152.

บรรเจิด สิงคะเนติ. แนวทางการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม: NIDA Model ปฎิรูปประเทศไทย [Online]. Available URL: https://www.nida.ac.th/th/download/news/NIDA%20MODEL.pdf, 2557 (กันยายน, 15).

พิชญา เหลืองรัตนเจริญ. “กระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีนิพนธ์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2555.

ยศวันต์ บริบูรณ์ธนา และพรประภา แกล้วกล้า. รายงานวิจัย เรื่อง ประสิทธิผลของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ที่มีต่อผู้เสียหายและผู้กระทำผิด. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและพัฒนากรมคุมประพฤติ, 2553.

สำนักพัฒนาและสนับสนุนคดีพิเศษ. รายงานการศึกษา เรื่อง ความเชื่อมั่นในการสอบสวนคดีพิเศษของกรมสอบสวนคดีพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนาและสนับสนุนคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ, 2557.

สุมนทิพย์ จิตสว่าง. “กระบวนการดำเนินการป้องกันปราบปราม สืบสวน และดำเนินคดีของตำรวจเกี่ยวกับคดีเด็กและเยาวชน.” วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์ 1, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2555): 6.

Flore, Capeller. Comprender la protection de l’enfance. Paris: Dunod, 2015.

Friedman, Lowreng M. A History of American Law, 4th ed. United Kingdom: Oxford, 2015.

Konishi, Tokikazu. “History, Aim, and Structure of the Juvenile Justice System in Japan.” Paper presented at the Global Forum 2018 Law School of Waseda University in collaboration with the Law School of the University of Pennsylvania, Goethe University, September 5-7, 2018.

_______. “On the Concept of the Pre-Deliquent juvenile in Japan: Its Construction and the Impact.” Waseda Bulletin of Comparative Law 25, 2 (November 2005): 1-18.

Ottenhof, Reynald. “Criminal Responsibility of Minors in National and International Legal Order.” Revue International de droit Penal 75, 1-2 (June 2004): 25-49.

Supreme Court of Japan. Outline of Criminal Justice in Japan 2021 [Online]. Available URL: https://www.courts.go.jp/english/vc-files/courts-en/Material/Outline_of_Criminal_Justice_in_Japan_

pdf, 2021 (January, 8).

Yamaguchi, Junsuke. Role of the police in juvenile justice in japan [Online]. Available URL: http://www.unafei.or.jp/english/pdf/PDF_kenya/session2.pdf,2016 (June, 8).

Zehr, Howard. Changing Lenses: A New Focus for Crime and Justice. Pennsylvania: Herald Press, 1990.