แนวทางการพัฒนาองค์กรในการจัดเก็บภาษีของประเทศไทย

Main Article Content

สัจจวัตน์ เรืองกาญจน์กุล

Abstract

          องค์กรจัดเก็บภาษีส่วนกลางของไทย ประกอบด้วย กรมสรรพากร กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากร ซึ่งมีสถานะเป็นส่วนราชการภายใต้กระทรวงการคลัง ซึ่งทั้งสามองค์กรดังกล่าวถือเป็นกลไกสำคัญในการอำนวยรายได้ให้แก่รัฐบาลเพื่อนำเงินงบประมาณมาใช้ในการบริหารและพัฒนาประเทศ อย่างไรก็ดีจากการศึกษาปัญหาองค์กรจัดเก็บภาษีทั้งสามกรมมีข้อจำกัดบางประการที่ทำให้การจัดเก็บรายได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายประมาณการในแต่ละปี กล่าวคือมีรายได้น้อยกว่าที่ตั้งเป้าหมายในการจัดเก็บไว้ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากรูปแบบ โครงสร้างองค์กร อำนาจหน้าที่ การบริหารงานบุคคลและการบริหารต้นทุน งบประมาณในการจัดเก็บภาษีและการจัดการด้านข้อมูลของผู้เสียภาษีที่ไม่ครอบคลุมและขาดประสิทธิภาพ


          จากการศึกษาพบว่า รูปแบบ ลักษณะโครงสร้าง อำนาจหน้าที่และการบริหารองค์กรจัดเก็บภาษีในปัจจุบันที่มีสถานะเป็นส่วนราชการที่อยู่ภายใต้กฎหมาย ระเบียบปฏิบัติที่เคร่งครัด และมีสายการบังคับบัญชาที่ยาว และการดำเนินการจัดเก็บภาษีที่ทับซ้อนกันในหลายหน่วยงานทำให้เกิดต้นทุนในการบริหารจัดเก็บที่สูงและไม่สอดคล้องกับประมาณการรายได้เพื่อใช้งบประมาณในแต่ละปี ดังนั้น หากมีการพัฒนารูปแบบขององค์กรจัดเก็บภาษีจากการเป็นส่วนราชการภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มาเป็นรูปแบบองค์กรกึ่งอิสระ มีลักษณะรูปแบบเหมือนองค์การมหาชน ที่ยังมีฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นเพียงหน่วยงานในการกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง โดยการยุบรวมทั้งสามกรมภาษีเดิมมาอยู่ภายใต้องค์กรใหม่ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งสำนักงานจัดเก็บภาษีแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ก็จะสามารถแก้ปัญหาให้การบริหารงานองค์กรมีความคล่องตัว เชี่ยวชาญ ลดความซ้ำซ้อนและบูรณาการการจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กิตติภพ วังคำ. “ความเป็นไปได้ในการจัดตั้งหน่วยงานจัดเก็บภาษีกึ่งอิสระในประเทศไทย.”

Graduate Law Journal 12, 4 (2019): 570-584.

จอมสุภางค์ อินสุชาติ. “การปฏิรูปกฎหมายองค์กรจัดเก็บภาษี: กรณีศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมาย

สิงคโปร์และกฎหมายมาเลเซีย.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,

ชาญชัย แสวงศักดิ์. คำอธิบายกฎหมายปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน,

นันททศพร ศิริสัมพันธ์ และคณะ. หลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่าย

บริหาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ, 2553.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. กฎหมายปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์

วิญญูชน, 2560.

วันเพ็ญ ส่งเสริมทรัพย์. “การจัดระบบองค์การมหาชนอิสระในกระบวนการจัดทำบริการสาธารณะ

ในประเทศไทย.” ใน นันทวัฒน์ บรมานันท์, หลักกฎหมายปกครองเกี่ยวกับบริการสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2560.

สมยศ เชื้อไทย. กฎหมายมหาชนเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์

วิญญูชน, 2560.

สภาปฏิรูปประเทศ. วาระปฏิรูปที่ 8 : การปฏิรูประบบและโครงสร้างภาษี. กรุงเทพมหานคร:

สำนักการพิมพ์สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2558.

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. ผลงานทางวิชาการ:ย้อนมองรายได้ของรัฐบาลสร้างอนาคตด้วย

นวัตกรรมการจัดเก็บรายได้. ในสัมมนาวิชาการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ประจำปี 2558 นวัตกรรมการคลังการเงินเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. คำแถลงนโยบาย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแถลง

ต่อรัฐสภา วันที่ 25 พฤษภาคม 2562.

อุดม รัฐอมฤต และคณะ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยการจัดการงบประมาณ

ขององค์การมหาชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงบประมาณ, 2552.

Crandall, William. Autonomy in Tax Administration and the Revenue Authority

Model Technical Notes and Manuals. Washington, DC: IMF, 2010.

CommonLII. Inland Revenue Board of Malaysia Act 1995. [Online]. Available URL:

http://www.commonlii.org/, 2021 (June, 10).

Inland Revenue Authority of Singapore. History and Milestones. [Online]. Available

URL: https://www.iras.gov.sg/irashome/About-Us/Our-Organisation/History-

and-Milestones/, 2021 (June, 10).

JENKINS, Glenn, et al. Modernization of Tax Administrations: Revenue Boards

and Privatization as Instruments for Change. JDI Executive Programs, 1994.

MANASAN, Rosario G. Tax Administration Reform: (Semi-) Autonomous Revenue

Authority Anyone?. PIDS Discussion Paper Series, 2003.

National Tax Agency Japan. Organization. [Online]. Available URL:

https://www.nta.go.jp/english/about/organization/index.htm, 2021 (June, 10).

The World Bank. Difficulties with Autonomous Agencies. [Online], Available URL:

http://siteresources.worldbank.org/EXTADMCIVSERREF/Resources/

DAAgencies.pdf, 2019 (April, 10).

Haldenwang, Christian von. Armin von Schiller and Melody Garcia. “Tax collection in developing countries–New evidence on semi-autonomous revenue agencies (SARAs).” Journal of Development Studies 50, 4 (2014): 541-555.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

ประมวลรัษฎากร พุทธศักราช 2481.

พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485.

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534.

พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542.

พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551.

พระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562.

มติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2549 เรื่อง ขั้นตอนการจัดตั้งองค์การมหาชน.

มติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 3 เมษายน 2550 เรื่อง หลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐ.

มติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 เรื่องการซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการ

จัดตั้งหน่วยงานของรัฐ.