การคุ้มครองเครื่องหมายรูปลักษณ์โดยรวมบนเว็บไซต์

Main Article Content

ชมพูนุท สถิตย์เสมากุล

Abstract

     ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทที่สำคัญต่อวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ทำให้มีการดำเนินธุรกิจผ่านเว็บไซต์ที่ลูกค้าทั่วโลกสามารถเข้าถึงบริษัทของผู้ประกอบการได้ 24 ชั่วโมง ดังนั้น เพื่อที่จะดึงดูดความสนใจของลูกค้า ทำให้เกิดการซื้อขายสินค้าหรือบริการได้ง่ายและรวดเร็ว จึงส่งผลให้ต้องมีการพัฒนาเว็บไซต์ตลอดจนสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ต การตกแต่งร้านจากเดิมที่ต้องตกแต่งหน้าร้านเพื่อเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่ทำให้ลูกค้าจดจำและแยกแยะความแตกต่างของผู้ประกอบการแต่ละรายได้ เปลี่ยนมาเป็นการตกแต่งผ่านเว็บไซต์ของตนให้มีเอกลักษณ์เฉพาะเป็นที่จดจำแทน จนเป็นดังเครื่องหมายรูปลักษณ์ที่ปรากฏบนเว็บไซต์ (Web Dress) เพราะรูปแบบการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมิได้ให้ความคุ้มครองเครื่องหมายรูปลักษณ์ แม้ผู้ประกอบการไทยจะเป็นผู้คิดค้นออกแบบเว็บไซต์เอง แต่เมื่อมีผู้ลอกเลียนทำเว็บไซต์ทั้งในไทยหรือต่างประเทศ ผู้ประกอบการนั้นก็ไม่สามารถได้รับความคุ้มครองแต่อย่างใด ทั้งที่ตนต้องสูญเสียโอกาสทางธุรกิจอย่างไม่เป็นธรรมอันเกิดจากการลอกเลียนการออกแบบเว็บไซต์และส่งผลเสียหายในวงกว้างเพราะการละเมิดเครื่องหมายรูปลักษณ์นั้นสามารถถ่ายทอดผ่านการมองเห็นไปทั่วโลกผ่านระบบอินเทอร์เน็ต จนทำให้ผู้บริโภคสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของธุรกิจ


     บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องมีการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้า (Trade Mark) ในลักษณะเครื่องหมายรูปลักษณ์ (Trade Dress) ซึ่งเป็นประเภทของเครื่องหมายการค้าชนิดหนึ่งที่หมายความรวมถึงเครื่องหมายบริการด้วย โดยเฉพาะกรณีรูปลักษณ์โดยรวมของเว็บไซต์ (Web Dress) โดยศึกษาว่าควรปรับแก้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 อย่างไร จึงจะสามารถคุ้มครองผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของสินค้าหรือบริการซึ่งได้มีการออกแบบเว็บไซต์เพื่อใช้ในกิจการของตนอย่างเป็นธรรม ตลอดจนคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับสินค้าหรือบริการตรงตามคุณภาพและความประสงค์ที่แท้จริง


     ผลการศึกษาพบว่า เมื่อพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 (แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559) ยังมิได้ให้ความคุ้มครองเครื่องหมายรูปลักษณ์จึงนำไปสู่ประเด็นทางกฎหมายที่ต้องพิจารณาทั้งสิ้น 4 ประการ ดังนี้ 1. ปัญหาในการคุ้มครองเครื่องหมายรูปลักษณ์โดยรวมบนเว็บไซต์ในประเทศไทย  2. ปัญหาของการให้คำนิยามของคำว่า “เครื่องหมาย” “เครื่องหมายการค้า” “เครื่องหมายบริการ” “เครื่องหมายรับรอง” และ “เครื่องหมายร่วม” 3. ปัญหาของการกำหนดลักษณะบ่งเฉพาะในรูปลักษณ์โดยรวมบนเว็บไซต์ และ 4. ปัญหาของการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายรูปลักษณ์โดยรวมบนเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย


     ผู้วิจัยเสนอแนะว่า การบัญญัติหรือการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองแก่เครื่องหมายรูปลักษณ์ เพื่อรองรับกับการให้ความคุ้มครองในสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตควรเปิดกว้างให้ความคุ้มครองไปถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เมื่อมองภาพรวมแล้ว สามารถแยกแยะแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือบริการได้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบังคับใช้ จึงควรแก้ไขคำจำกัดความของคำว่า “เครื่องหมาย” ให้มีความยืดหยุ่นไม่จำกัดเพียงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันจะทำให้เครื่องหมายรูปลักษณ์ได้รับความคุ้มครองในอนาคต


นอกจากนี้ การตรวจสอบความมีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเอง ต้องทำการตรวจสอบจากภาพรวม  การออกแบบเว็บไซต์ว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะหรือไม่ มิใช่ตรวจสอบจากองค์ประกอบเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งที่ปรากฏบนเว็บไซต์ และการออกแบบเว็บไซต์นั้นอาจมีลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้ จึงควรแก้ไขมาตรา 7 วรรคสาม โดยกำหนดขอบเขตเรื่องระยะเวลาในการเผยแพร่ และมีวิธีพิสูจน์ถึงความแพร่หลาย ภาครัฐจึงจำเป็นต้องขอคำแนะนำเพิ่มเติมทางเทคนิคจากผู้มีความเชี่ยวชาญในระบบคอมพิวเตอร์และออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องหลักเกณฑ์การพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสามต่อไป


     ทั้งนี้ ควรมีการกำหนดความหมายของ “เครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป” ให้ชัดเจนไว้ในมาตรา 4 รวมถึงประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ต้องกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาถึงความแพร่หลายให้ชัดเจน เพื่อลดปัญหาการใช้ดุลพินิจของนายทะเบียนและผู้ที่เกี่ยวข้องในการพิจารณารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และเมื่อเครื่องหมายรูปลักษณ์ที่ปรากฏบนเว็บไซต์จนมีชื่อเสียงแพร่หลายได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกันกับเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย (Well-known Marks) แล้ว ควรมีหลักเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานเฉพาะสำหรับการตรวจสอบความแพร่หลายทางเว็บไซต์ซึ่งเป็นเรื่องทางเทคนิคที่จำเป็นต้องปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญระบบคอมพิวเตอร์ร่วมด้วย

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. กฎหมายเครื่องหมายการค้า - สาธารณรัฐประชาชนจีน [Online]. Available URL: https://www.ipthailand.go.th/images/781/L_china_8.pdf, 2565 (มิถุนายน, 25).

_______. ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง คู่มือการพิจารณารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ฉบับปี พ.ศ. 2565 [Online]. Available URL: https://www.ipthailand.go.th/images/

/2565/TM/TM_2565.pdf, 2565 (มกราคม, 5).

กระทรวงพาณิชย์. ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป [Online]. Available URL: https://onestopservice.ditp.go.th/download/file/34dip.pdf, 2565 (มกราคม, 5).

เครื่องหมายการค้า. เครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย (Well-known Marks) [Online]. Available URL: https://thaitradebrand.com/knowledge/4_Well_Known_Marks. pdf, 2566 (มีนาคม, 8).

ชวจารี เรี่ยวแรงกุศล. “กฎหมายเครื่องหมายการค้ากับการคุ้มครอง เครื่องหมายรูปลักษณ์.” สุทธิปริทัศน์ 30, 96 (ตุลาคม-ธันวาคม 2559): 190.

นินนาท บุญยเดช. “การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปในประเทศไทยตามพันธกรณีในกฎหมายระหว่างประเทศ.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552.

นลินทร ชาติศิริ. “การกระทำอันเป็นการแข่งขันอันไม่เป็นธรรมทางการค้าและสภาพบังคับทางกฎหมาย : ศึกษาเฉพาะกรณีทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.

ไพศาล ลิ้มสถิตย์, จุณวิทย์ ชลิดาพงศ์ และจุมพล แดงสกุล. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการมาตรการทางกฎหมายในการจัดการปัญหาเครื่องหมายการค้า ที่มีความคล้ายคลึงกับเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามกฎหมายเครื่องหมายการค้า และข้อเสนอในการแก้ไขกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ [Online]. Available URL: https://cas.or.th/?p=8053, 2565 (มิถุนายน, 25).

อรพัทธ์ วงศาโรจน์. “การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในกรณีการตกแต่งร้าน.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 2556.

อรรยา สิงห์สงบ. “แนวทางการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในรูปลักษณ์โดยรวมของเว็บไซต์ (Web Dress) ในประเทศสหรัฐอเมริกา.” วารสารกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ครบรอบ 12, 15 (มีนาคม 2553): 306.

Thai Franchise Center. ดังโดนก๊อป! Cafe’Amazon (ไทย) vs CaféAmazing (กัมพูชา) [Online]. Available URL: https://www.thaifranchisecenter.com/document/show.php?docuID=3075, 2565 (พฤศจิกายน, 2).

WAIWY4.0. แนะนำวิธีดูเว็บปลอมหน่วยงานรัฐ มิจฉาชีพใช้หลอกติดตั้งแอปมัลแวร์ พร้อมยกตัวอย่างเทียบของจริง [Online]. Available URL: https://droidsans.com/fake-thai-site-for-malware-download-examples/, 2566 (กุมภาพันธ์, 10).

Bao, Xuri. China: Strengthening trade dress protection in China [Online]. Available URL: https://www.worldtrademarkreview.com/portfolio-management/china-strengthening-trade-dress-protection-china, 2017 (May, 1).

Batzella, Laura and Fredrick Xie. China: [China IP] Chanel N.5: Bottle Shape Is Protected, Packaging No [Online]. Available URL: https://www.mondaq.com/ china/trademark/1192488/china-ip-chanel-n5-bottle-shape-is-protected-packaging-no, 2022 (May, 12).

Brand Buffet Team (CMMU Insights). วิเคราะห์ แบรนด์ Cafe Amazon และ The Amazon’s Embrace [Online]. Available URL: http://www.brandbuffet.in.th/2013/08/brand-analysis-cafe-amazon-embrace/, 2565 (พฤศจิกายน, 2).

Cooper, Cheryl. CAN TRADE DRESS PROTECT YOUR WEBSITE FROM COPYCATS? [Online]. Available URL: https://www.whitehouse-cooper.com/can-trade-dress -protect-website-copycats/, 2022 (May, 14).

Federal Register. Changes to Implement Provisions of the Trademark Modernization Act of 2020 [Online]. Available URL: https://www.federalregister.gov/documents /2021/11/17/2021-24926/changes-to-implement-provisions-of-the-trademark-modernization-act-of, 2020 (May, 21).

Gambino, Darius C. and William L. Bartow. Trade Dress: Evolution Strategy and Practice. UK: Oxford University Press, 2013.

Ghajar, Bobby and Lori Levine. Ingrid & Isabel, LLC v. Baby Be Mine, LLC [Online]. Available URL: https://www.lexology.com/library/detail.aspx?g=6e2ff965-b395- 4fc5-b885-eeb2b2a17741, 2023 (March, 10).

Inwood Laboratories v. Ives Laboratories, 456 U.S. 844 (1982).

Justia. Express Lien Inc v. Nationwide Notice Inc, No. 2:2016cv02926 - Document 42 (E.D. La. 2017) [Online]. Available URL: https://law.justia.com/cases/federal/ districtcourts/louisiana/laedce/2:2016cv02926/176364/42/, 2021 (March, 25).

Justia. Ingrid & Isabel, LLC v. Baby Be Mine, LLC et al, No. 3:2013cv01806 - Document 67 (N.D. Cal. 2014) [Online]. Available URL: https://law.justia. com/cases/federal/district-courts/california/candce/3:2013cv01806/265474 /67/, 2021 (March, 25).

Labs, Lepton. LLC v. Walker et al., case number 2: 14-cv-04836 in the U.S. District Court for the Central District of California (filed September 23, 2014) [Online]. Available URL: https://docs.justia.com/cases/federal/districtcourts/california /cacdce/ 2:2014cv04836/592641/27, 2020 (May, 18).

Locke, Scott D. Trade Dress in the age of e-commerce: The challenge of protecting the “look and feel” of website and mobile apps [Online]. Available URL: https://dorflaw.com/wp-content/uploads/2017/09/201709015- Trade-Dress-of-Websites.pdf, 2022 (April, 13).

Moga, Thomas T. Design Patents vs. Trade Dress: Protecting IP in China [Online]. Available URL: https://www.chinabusinessreview.com/design-patents-vs-trade- dress-protecting-ip-in-china/, 2020 (July, 31).

Mohr, Stephen F. and Glenn Michell. Functionality of trade dress : a review and analysis of U.S. case law. New York: International Trademark Association, 1994.

Roulo v. Russ Berrie & Co., 886 F. 2d 931, 937. 12 U.S.P.Q. 2d (BNA) 705, 725 (7th Cir. 1989).

Sandberg, Scott C. “Trade Dress: What does it mean?.” Franchise Law Journal 29, 1 (Summer 2009): 2.

SG Servs. v. God’s Girls Inc., 2007 U.S. Dist. LEXIS 61970 (C.D. Cal. May 9, 2007).

Shanahan, Dan R. Australian Trade Mark Law and Practice. New South Wales: Star Printery Pty. Ltd., 1982.

Tools USA & Equip. Co. v. Champ Frame Straightening Equip. Co., 87 F. 3d 654, 662, 39 U.S.P.Q. 2d (BNA) 1355, 1357 (4th Cir. 1996).

The Trademark Modernization Act of 2020 as incorporated in Consolidated Appropriations Act, 2021 (Public Law 116-260, Subtitle B, Section 221).

TrafFix Devices, Inc. v. Marketing Displays, Inc., 532 U.S. 23 (2001).

Wal-Mart Stores, Inc. v. Samara Brothers, Inc, 529 U.S. 205 (2000).

Zhu, Chanyuan. Getting creative: when to protect trade dress under trademark or competition law [Online]. Available URL: https://www.lexology.com/library /detail.aspx?g=ae0d70eb-9755-4425-9e08-8a18f502718e, 2020 (September, 24).

U.S. 763, 112 S.Ct. 2753, 120 L.Ed.2d 615 (1992).