ปัญหาบางประการเกี่ยวกับบทบัญญัติที่ถูกปกป้องเป็นพิเศษตามมาตรา 256(8) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

Main Article Content

กิตติทร สุดประเสริฐ
สมคิด เลิศไพฑูรย์

Abstract

            “แนวความคิดบทบัญญัติที่ถูกปกป้องเป็นพิเศษ” เป็นกลไกหนึ่งที่รัฐธรรมนูญสมัยใหม่นำมาใช้เพื่อปกป้องตัวมันเองตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้รัฐธรรมนูญดำรงอยู่ให้สอดคล้องกับเจตจำนงของประชาชน ด้วยการผ่อนคลายความตายตัวของบทบัญญัติชั่วนิรันดร์หรือเรื่องพื้นฐานของการปกครองหรือส่วนประกอบของความเป็นประชาธิปไตยเรื่องที่สำคัญสามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้โดยวิถีทางของรัฐธรรมนูญ แต่ขณะเดียวกันยังคงคุ้มครองหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญไว้ด้วยเช่นเดียวกัน ด้วยการกำหนดกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องเหล่านั้นให้ต้องใช้กระบวนการพิเศษ ซึ่งมีความยุ่งยากซับซ้อนจนในความเป็นจริงแล้วแทบไม่สามารถแก้ไขได้เลย เพราะเหตุว่าการจะแก้ไขหลักการเรื่องดังกล่าวได้สำเร็จต้องอาศัยเสียงเห็นพ้องต้องตรงกันของกลุ่มการเมืองทุกฝ่ายในชาติร่วมกัน โดยเฉพาะต้องได้รับความเห็นชอบจาก “ประชาชน” โดยตรงหรืออย่างน้อยที่สุดก็ต้องโดยอ้อมในฐานะที่เป็นแหล่งที่มาของอำนาจอธิปไตย 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กิตติทร สุดประเสริฐ. “การแก้ไขเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติชั่วนิรันดร์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ.” ใน หนังสือประมวลบทความในการประชุมวิชาการนิติสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 3 หัวข้อ “ทบทวน / ถกเถียง / ท้าทาย นิติศาสตร์ในห้วงยามของความเปลี่ยนแปลง [Online]. Available URL: https://drive.google.com/file/d/1RjXNCMd0CVhdSJU xQ6vgKRoIExgLdD49/view, 2566 (พฤษภาคม, 1).

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. กฎหมายมหาชน เล่ม 3 ที่มาและนิติวิธี. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม, 2538.

ปิยบุตร แสงกนกกุล. เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยว่าด้วยอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญหรืออำนาจก่อตั้งระบอบการเมือง [Online]. Available URL: https://blogazine.pub/blogs/piyabut rsaengkanokkul/post/3755, 2555 (พฤษภาคม, 10).

ปูนเทพ ศิรินุพงศ์. รายงานผลการวิจัย เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญโดยองค์กรตุลาการ. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการวิจัยและสัมมนาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2555.

ไพโรจน์ ไชยนาม. กฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ (โดยสังเขป) เล่ม 1 ข้อความเบื้องต้นและหลักทั่วไปของกฎหมายรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง, 2495.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2555.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2562.

Albert, Richard. Constitutional Amendments Making, Breaking, and Changing Constitutions. New York: Oxford University Press, 2019.

Albert, Richard and Bertil Emrah Oder, eds. An Unamendable Constitution? Unamendability in Constitutional Democracies (Ius Gentium: Comparative Perspectives on Law and Justice Volume 68). Cham: Springer, 2018.

Böckenförde, Markus. Constitutional Amendment Procedures, [Online]. Available URL: https://www.idea.int/sites/default/files/publications/constitutional-amendment procedures-primer.pdf, 2014.

European Commission for Democracy through Law (Venice Commission). Report on Constitutional Amendment study no. 469/2008 [Online]. Available URL: https://www.venice.coe.int/webforms/documents/default.aspx?pdffile=CDL-AD(2010)001-e, 2010 (January, 19).

Fabrice Hourquebie. Pouvoir constituant dérivé et contrôle du respect des limites

[Online]. Available URL: www.enelsyn.gr/.../Paper%20by%20Fabrice%20Hourq...,

(June, 15).

Gözler, Kemal. Judicial Review of Constitution Amendment: a Comparative study. Bursa: Ekin Press, 2008.

Preuss, Ulrich K. “The Implications of “Eternity Clauses”: The German Experience.” Israel Law Review 44, 3 (2011): 429, 434.

Roznai, Yaniv. Necrocracy or Democracy? Assessing Objections to Constitutional Unamendability [Online]. Available URL: https://www.researchgate.net/publication/327400015_Necrocracy_or_Democracy_Assessing_Objections_to_Constitutional_Unamendability_Unamendability_in_ Constitutional_Democracies, 2007 (Jun, 15).

_______. Towards a Theory of Unamendability. New York University School of Law, Public Law Research Paper No. 15-12 [Online]. Available URL: https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=2569292, 2015 (February, 24).

Schmitt, Carl. Constitutional Theory. Durham and London: Duke University, 2008.

รัฐธรรมนูญนิวซีแลนด์ ฉบับปี 1852 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับปี 2014).

รัฐธรรมนูญภูฐาน ฉบับปี 2008.

รัฐธรรมนูญบัลแกเรีย ฉบับปี 1991.

รัฐธรรมนูญโปแลนด์ ฉบับปี 1997.

รัฐธรรมนูญเมียนมาร์ ฉบับปี 2008.

รัฐธรรมนูญยูเครน ฉบับปี 1996.

รัฐธรรมนูญรัสเซีย ฉบับปี 1993.

รัฐธรรมนูญเวเนซุเอลา ฉบับปี 1999.

รัฐธรรมนูญสเปน ฉบับปี 1978.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2535.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 15-18/2556.

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-22/2555.

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564.