ปัญหาเขตอำนาจศาลในคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินสาธารณประโยชน์
Main Article Content
Abstract
บทความนี้ มุ่งนำเสนอเกี่ยวกับปัญหาการดำเนินคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินสาธารณประโยชน์ในศาลไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินสาธารณประโยชน์ เขตอำนาจศาลปกครองและศาลยุติธรรมทั้งของประเทศไทย สาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินสาธารณประโยชน์เป็นคดีที่มีเนื้อหาของคดีคาบเกี่ยวระหว่างหลักกฎหมายปกครองอันเป็นกฎหมายมหาชนและหลักกฎหมายแพ่งอันเป็นกฎหมายเอกชน คดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินสาธารณประโยชน์จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ทั้งศาลปกครองและศาลยุติธรรม จึงเกิดปัญหาว่าคดีลักษณะดังกล่าวควรได้รับการพิจารณาพิพากษายังศาลใด ประเทศไทยแม้จะมีคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดเขตอำนาจระหว่างศาล แต่ก็ยังไม่ได้แก้ปัญหาการนำคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินสาธารณประโยชน์มาสู่ศาล เพราะต้นตอของปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและถูกต้องตามหลักกฎหมาย ซึ่งคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินสาธารณประโยชน์จะเป็นคดีที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานทางปกครองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ และเป็นเรื่องการตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานทางปกครองที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการทางปกครอง และเป็นคดีที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินในขณะเดียวกัน การต่อสู้ทางคดีจำเป็นต้องใช้พยานหลักฐานทางเทคนิคและผู้เชี่ยวชาญในการสนับสนุนทางคดีเป็นส่วนใหญ่ ราษฎรทั่วไปที่มีข้อพิพาทกับฝ่ายรัฐจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่เสียเปรียบทางคดี เพราะหน่วยงานรัฐจะมีข้อมูลและผู้เชี่ยวชาญที่สามารถสนับสนุนคดีฝ่ายตนได้มากและดีกว่าฝ่ายราษฎรทั่วไป อีกทั้งหากคดีถูกนำไปสู่ศาลยุติธรรมซึ่งใช้ระบบการพิจารณาแบบกล่าวหา ฝ่ายราษฎรก็จะตกอยู่ในภาวะกฎหมายปิดปาก เพราะภาระการพิสูจน์จะตกแก่ฝ่ายราษฎรที่อ้างข้อต่อสู้ข้อเถียงของตนว่าเอกสารที่ฝ่ายรัฐทำขึ้นมานั้นไม่ถูกต้องอย่างไร ตามมาตรา 127 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง อีกทั้งศาลยุติธรรมไม่อาจพิพากษาเกินคำฟ้องหรือคำขอตามมาตรา 142 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทำให้ไม่อาจค้นหาความจริงได้มากเท่าศาลปกครองที่ใช้การวิธีพิจารณาคดีในระบบไต่สวนตามระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2543 ข้อ 5 วรรคแรก จึงมีอำนาจในการแสวงหาข้อเท็จจริงในคดีได้มากกว่าศาลยุติธรรม ซึ่งศาลปกครองเป็นศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สินใดๆ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และมาตรา 71(4) อีกทั้งมีอำนาจในการวินิจฉัยประเด็นเรื่องกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองอันเป็นประเด็นรองแห่งคดีได้ตามระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 ข้อ 41 วรรคสอง คดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินสาธารณประโยชน์จึงเป็นคดีปกครองและควรอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลชัย รัตนสกาววงศ์. ทรัพย์สินทางปกครองในกฎหมายเยอรมนี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2538.
____________. กฎหมายปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2544.
กิตติศักดิ์ ปรกติ และสมเกียรติ วรปัญญาอนันต์. รายงานฉบับสมบูรณ์ ปัญหาเขต
อำนาจศาลในคดีพิพาทเกี่ยวกับการใช้อำนาจหรือการดำเนินการทางปกครองในเรื่องสิทธิในที่ดิน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2562.
จรีรัตน์ สร้อยเสริมทรัพย์. “รายงานการวิจัย เรื่อง มาตรการทางกฎหมายในการ
บังคับใช้เกี่ยวกับการบุกรุกที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินในประเทศไทย.”
นนทบุรี: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2552.
ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์. กฎหมายและการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: แสงจันทร์การพิมพ์, 2522.
ชาญชัย แสวงศักดิ์. คำอธิบายกฎหมายปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2545.
____________. ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2545.
ดิสฑัต โหตระกิตย์. “บันทึกเรื่อง การนำสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมือง
ใช้ร่วมกันไปให้เอกชนใช้ประโยชน์อื่นชั่วคราวตามกฎหมายฝรั่งเศส.”
วารสารกฎหมายปกครอง 11, 2 (2535): 331 – 347.
บุบผา อัครพิมาน. ศาลปกครองกับหลักกรรมสิทธิ์. กรุงเทพมหานคร: ศาลปกครอง, 2547.
โภคิน พลกุล. หลักกฎหมายมหาชน. กรุงเทพมหานคร: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2515.
____________. สาระสำคัญของกฎหมายว่าด้วยศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ประชาชน, 2545.
มาโนช นามเดช. “หลักการสำคัญของการจัดตั้งศาลชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลของประเทศ
ฝรั่งเศส.” วารสารวิชาการศาลปกครอง 12, 2 (เมษายน – มิถุนายน 2555).
ฤทัย หงส์สิริ. ศาลปกครองและการดำเนินคดีในศาลปกครอง. กรุงเทพมหานคร:
สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2557.
วรวุฒิ เทพทอง. คำอธิบายกฎหมายที่ดิน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2557.
สุนทรียา เหมือนพะวงศ์. “เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล: ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข.” เอกสารสัมมนาทางวิชาการ คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล. สุราษฎร์ธานี, 25 – 27 เมษายน 2551.
สุชาติ มงคลเลิศลพ. คดีปกครองเกี่ยวกับที่ดิน. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางปกครอง และวิทยาลัยการยุติธรรมทางปกครอง สำนักงานศาลปกครอง, 2558.
สมจิตร์ ทองศรี. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2563.
สํานักงานเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล. ศาลยุติธรรม. รวมย่อคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล [Online]. Available URL: https://oscj.coj.go.th/th/content/category/articles/id/8/cid/119, 2566 (มกราคม, 3).
สำนักแผนงานและงบประมาณ. ศาลยุติธรรม. หนังสือรายงานสถิติคดีของศาลยุติธรรมประจำปีพุทธศักราช (ฉบับภาษาไทย) [Online]. Available URL: https://oppb.coj.go.th/th/content/category/articles/id/8/cid/2085, 2566 (มกราคม, 3).
อักขราทร จุฬารัตน. ประมวลกฎหมายในกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง. กรุงเทพมหานคร: บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด, 2556.
อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ. กฎหมายปกครองเปรียบเทียบ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2526.
Brown, L. Neville. French Administrative Law. 5th ed. Oxford: Clarendon Press, 1998.
David, Rene. Les Grands Systemes de Droit Contemporains. 8th ed. Paris: Dalloz, 1982.
Dufau, Jean. Le domaine public. Paris: Moniteur, 1977.