ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading Scheme - ETS)

Main Article Content

ธนพร ปักษาจันทร์

Abstract

          ภาวะโลกร้อนก่อให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับการลดก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน กลไกหนึ่งที่ประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศใช้คือระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งนำแรงจูงใจทางการเงินมาใช้เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยสามารถนำสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับจัดสรรจากภาครัฐมาซื้อขายระหว่างกันในระบบได้ ซึ่งจากการวิจัยพบว่าสหภาพยุโรปและประเทศเกาหลีใต้ต่างก็มีองค์กรภาครัฐในการกำกับดูแลระบบอย่างเข้มงวดและมีกฎหมายเฉพาะที่ใช้ควบคุมการดำเนินการต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ


          สำหรับประเทศไทยมีความประสงค์ที่จะนำระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาปรับใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ผู้วิจัยจึงกำหนดขอบเขตในการศึกษาโดยเน้นศึกษากฎหมายเกี่ยวกับระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยและต่างประเทศเพื่อศึกษาแนวทางการร่างกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายต่อระบบนี้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้ระบบมีความโปร่งใสและมีมาตรฐานสากล จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยยังไม่มีองค์กรในการกำกับดูแลระบบแม้ว่าจะมีองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการลดก๊าซเรือนกระจกก็ตาม แต่หน่วยงานดังกล่าวเป็นองค์การมหาชนที่มีข้อจำกัดในส่วนอำนาจหน้าที่ จึงไม่สามารถกำกับดูแลระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ อีกทั้งประเทศไทยไม่มีกฎหมายที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ จึงทำให้ขาดกฎหมายในการกำกับดูแลระบบ ผู้วิจัยเสนอแนะว่าควรแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนของอำนาจหน้าที่ อบก. ให้สามารถดำเนินการใด ๆ ในระบบได้โดยไม่เป็นการกระทบสิทธิของผู้ประกอบการในระบบ และควรมีการยกร่างกฎหมายเฉพาะเพื่อใช้กำกับดูแลระบบให้มีความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศต่อไป

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมองค์การระหว่างประเทศ. ความตกลงปารีส: ก้าวสำคัญของการดำเนินการด้านการ

เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ [Online], available URL: https://thai-inter-

org.mfa.go.th /th/page/ความตกลงปารีส?menu=5d847835517e9b159b5e ba97,

(ตุลาคม, 11).

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน. กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ

(UNFCCC) [Online], available URL: http://www.eppo.go.th/index.php/th

/planpolicy/ climatechange/unitednation/unfccc, 2562 (สิงหาคม, 2).

_____ . พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) [Online], available URL: https://www.eppo.go.th/index.

php/th/plan-policy/climatechange/unitednation/kyotocol-protocol/kyotocol-

protocol, 2562 (สิงหาคม, 10).

สำนักงานนวัตกรรมไม้เศรษฐกิจ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้. กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean

Development Mechanism: CDM) [Online]. Available URL: http://www.fio.

co.th /p/km/ document/km-530107.pdf, 2565 (ตุลาคม, 29).

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). หลักการและกรอบแนวคิดของระบบการซื้อ

ขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก [Online]. Available URL: http://

carbonmarket.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=Y29uY2VwdF

cmFkZQ==, 2562 (สิงหาคม, 2).

European Commission. EU Emissions Trading System (EU ETS) [Online]. Available

URL: https://climate.ec.europa.eu/eu-action/eu-emissions-trading-system-eu-

ets_en, 2018 (November, 18).

European Commission. The EU ETS Handbook [Online]. Available URL:

https://www.sallan.org/pdf-docs/ets_handbook_en.pdf, 2015 (July, 16).

Francesco Bassett. Success or failure? The Kyoto Protocol’s troubled legacy

[Online]. Available URL: https://www.climateforesight.eu/articles/success-or-

failure-the-kyoto-protocols-troubled-legacy/, 2023 (May, 2).

German Environment Agency German Emissions Trading Authority (DEHSt). The

German Emissions Trading Authority [Online]. Available URL: https://www.

dehst.de/EN/service-and-publications/getting-to-know-dehst/getting-to-know-

dehst-node.html, 2021 (July,15).

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2550.

ร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. …

ร่างพระราชบัญญัติมาตรการการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม พ.ศ. …

Act on The Allocation and Trading of Greenhouse-gas Emission Permits 2012.

Directive 2003/87/EC of The European Parliament and of The Council of 13 October 2003.

Framework Act on Low Carbon, Green Growth.

Kyoto Protocol 1997.

Paris Agreement 2016.

United Nations Framework Convention on Climate Change 1992.