มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยในการควบคุมมลพิษทางทะเลจากแหล่งมลพิษทางบก
Main Article Content
Abstract
การศึกษาปัญหามาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยในการควบคุมมลพิษทางทะเลจากแหล่งมลพิษทางบก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายของไทยให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์และปฏิบัติตามพันธกรณีที่ไทยมีต่อกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องของคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลของประเทศไทยเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ว่าด้วยเรื่องของหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development)
ประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 มีพันธกรณีอนุวัติกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับอนุสัญญาดังกล่าว จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายแม่บทที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรทางทะเลโดยเฉพาะ แต่ต้องอาศัยพระราชบัญญัติส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ประกอบกับ พ.ศ. 2561 ซึ่งก็ไม่ได้กล่าวถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลอย่างชัดเจน ส่งผลต่อการแก้ปัญหาขยะทะเลที่จะอาศัยเพียงพระราชบัญญัติดังกล่าวประกอบกับนโยบายและแผนการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติซึ่งไม่มีสภาพบังคับ นอกจากนี้ ปัญหากฎหมายภายในประเทศก็ยังไม่สามารถป้องกัน (Prevent) ลด (Reduce) หรือควบคุม (Control) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสนอแนะ ประเทศไทยควรพิจารณาการตรากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเลโดยตรง เช่น พระราชบัญญัติการป้องกันและควบคุมมลพิษทางทะเล รวมถึงจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อมเป็นศาลชำนัญพิเศษ สำหรับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมควรนำทฤษฎีและการดำเนินการทางเศรษฐศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการอนุวัติกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับพันธกรณีที่ไทยมีต่อกฎหมายระหว่างประเทศต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เขมจุฑา สุวรรณจินดา. “การคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลของประเทศไทยตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982: ศึกษากรณีภาวะมลพิษจากแหล่งบนบก.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556.
ฐานข้อมูลความรู้ทางทะเล (Marine Knowledge Hub). ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเล. ขยะทะเล [Online]. Available URL: http://www.mkh.in.th/index.php?option=com_
content&view=article&layout=edit&id=309&Itemid=158&lang=th, 2562 (มิถุนายน, 23).
ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล. ไทยแลนด์ไม่ใช่แดนถังขยะโลก เรียกร้องลงสัตยาบันภาคแก้ไข ของอนุสัญญาบาเซลฯ [Online]. Available URL: https://www.sarakadee. com/2021/06/29/อนุสัญญาบาเซล, 2566 (มกราคม, 11).
เดชาธร วิเวโก. “วิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติการป้องกันมลพิษทางทะเลเนื่องจากการทิ้งเทของเสียหรือวัสดุอื่นลงทะเล พ.ศ. …: บทนิยามของการทิ้งเท.” วารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชย์นาวี 14, 19 (พฤศจิกายน 2563): 19.
นัยน์ปพร ขุนจันทร์. “ความเป็นไปได้ของประเทศไทยในการเข้าร่วมเป็นภาคีพิธีสาร 1996 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันภาวะมลพิษทางทะเล จากการทิ้งเทของเสียและสสารอื่น.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559.
ประชาชาติธุรกิจ. ชงร่างคุมนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มพลาสติกขอโควตานำเข้าหมื่นตัน [Online]. Available URL: https://www.prachachat.net/economy/news-209830, 2561, 2563 (กันยายน, 24).
ประเสริฐ สิทธินวผล. “บทบาทในการดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมของศาลยุติธรรมและศาลปกครอง: เชิงเปรียบเทียบ.” วารสารกระบวนการยุติธรรม 11, 3 (กันยายน – ธันวาคม 2561): 56-57.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย [Online]. Available URL: https://sdgs.nesdc.go.th/, 2562 (ตุลาคม, 19).
พิริยะ ผลพิรุฬห์. แนวโน้มตลาดแรงงานภาคการท่องเที่ยวหลังยุคโควิด-2019 [Online]. Available URL: https://econ.nida.ac.th/2023/แนวโน้มตลาดแรงงานภาคการท่องเที่ยวหลังยุคโควิด, 2566 (กรกฎาคม, 19).
ลัฐกา เนตรทัศน. สถานการณ์ขยะพลาสติกทะเลในอาเซียน [Online]. Available URL: https://lawforasean.krisdika.go.th/File/files/Article_1_Dec2019plasticdebris.pdf 2565 (กันยายน, 25).
สำนักข่าวสับปะรด. สนธิสัญญาบาเซล ควบคุมการเคลื่อนย้ายของเสียอันตรายข้ามแดน [Online]. Available URL: https://www.pineapplenewsagency.com/th/c166/สนธิสัญญาบาเซลควบคุมการเคลื่อนย้ายของเสียอันตรายข้ามแดน, 2563 (มิถุนายน, 12).
สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ. คู่มือปฏิบัติในการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตราย ตามอนุสัญญาบาเซล. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไอเดียสแควร์, 2551.
Katz, Cheryl. How China’s Ban on Importing Waste Has Stalled Global Recycling [Online]. Available URL: https://e360.yale.edu/features/piling-up-how-chinas-ban-on-importing-waste-has-stalled-global-recycling, 2019 (March, 7).
National Oceanic and Atmospheric Administration. What is marine debris? [Online]. Available URL: https://oceanservice.noaa.gov/facts/marinedebris.html, 2023 (April, 15).
Ocean Conservancy and McKinsey Center for Business and Environment. Stemming the Tide: Land-based strategies for a plastic- free ocean [Online]. Available URL: https://www.mckinsey.com, 2015 (August, 2019).
Plastic Ethics. The countries polluting the oceans the most with plastic waste [Online]. Available URL: https://www.plasticethics.com/home/2019/3/17/the-countries-polluting-the-oceans-the-most-with-plastic-waste, 2019 (June, 3).
_____. The Countries Polluting The Oceans The Most [Online].Available URL: https://www.statista.com/chart/12211/the-countries-polluting-the-oceans-the-most/, 2019 (April, 15).
Plastic Waste Partnership. Basel Convention on the Control of Transboundary Movements of Hazardous Wastes and Their Disposal [Online]. Available URL: http://www.basel.int/Implementation/Plasticwastes/ConsultationsandMeetings/tabid/8203/Default.aspx ,2019 (November, 18).
Proposed amendments. Basel Convention [Online]. Available URL: http://www.basel.int/TheConvention/Amendments/Proposedamendments/tabid/7906/Default.aspx, 2020 (September, 24).
United States Environment Protection Agency. 1996 Protocol to the Convention on the Prevention of Marine Pollution by Dumping of Wastes and Other Matter, 1972 (London Protocol) [Online]. Available URL: https://www.epa.gov/ocean-dumping/1996-protocol-convention-prevention-marine-pollution-dumping-wastes-and-other-matter, 2023 (April, 3).
ร่างพระราชบัญญัติการป้องกันมลพิษทางทะเลเนื่องจากการทิ้งเทของเสียหรือวัสดุอื่นลงทะเล พ.ศ. ...
The Environment code of Sweden.
United Nations Convention on the Law of the Sea.
Convention and Management of The Living Resources of The High Sea, Right to Fish on the High Seas.
International Rules and National Legislation to Prevent, Reduce and Control Pollution of The Marine Environment.