การศึกษาเปรียบเทียบความรับผิดของผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตของกฎหมายประเทศไทยและต่างประเทศ

Main Article Content

รัฐสภา จุรีมาศ

Abstract

          พื้นที่บนอินเทอร์เน็ตมีลักษณะเหมือนพื้นที่สาธารณะดังเช่น สวนสาธารณะ โดยให้ทุกคนสามารถมีสิทธิในการใช้พื้นที่นี้และทำกิจกรรมสาธารณะต่าง ๆ ได้ตามต้องการ อย่างไรก็ตาม อาจเกิดกรณีบางกลุ่มที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบนพื้นที่ดังกล่าวได้ ซึ่งอาจทำให้ผู้ดูแลไม่สามารถควบคุมได้อย่างเหมาะสม และนำไปสู่การรับผิดชอบต่อพฤติกรรมของผู้ใช้บริการทางอินเทอร์เน็ต (Internet Service Providers: ISPs) โดยที่ไม่ใช่ความผิดของผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต


          ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่หลากหลายนำไปสู่การติดต่อสื่อสารส่งผ่านข้อมูลโดยอาศัยผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หลายประเทศมีการกำหนดให้ผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตต้องรับผิดจากการกระทำของบุคคลผู้ใช้บริการ ด้วยเหตุนี้ การให้บริการอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะที่เปิดโอกาสในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ แม้ว่าจะมีผู้ดูแลรับผิดชอบการจัดการพื้นที่สาธารณะอยู่ ซึ่งอาจจะไม่สามารถควบคุมกิจกรรมทั้งหมดได้ อย่างไรก็ตามหลักความรับผิดของผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตบนพื้นที่สาธารณะตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ นโยบาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องรวมถึง EU Electronic Commerce Directive กำหนดให้ผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของผู้ใช้บริการของตนตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายนั้น ๆ ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายในประเทศไทยที่ไม่มีการจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต (Internet Service Providers: ISPs) การกำหนดความรับผิดของผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตต่อการกระทำของผู้ใช้บริการในพื้นที่บนโลกอินเทอร์เน็ต จึงมีความจำเป็นต้องสร้างความสมดุลระหว่างการรับผิดชอบและการป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการให้บริการและการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญ การกำหนดความรับผิดอย่างเคร่งครัดโดยไม่มีกลไกการป้องกันที่เหมาะสมอาจส่งผลกระทบทางลบต่อนวัตกรรมและการแสดงออกอย่างเสรีได้


          บทความฉบับนี้จึงมุ่งเน้นในการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีของการคุ้มครองความรับผิดของผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตในการกระทำความผิดจากผู้ใช้บริการ ตลอดจนผลกระทบต่อการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่กฎหมายของประเทศไทยยังไม่มีมาตรการคุ้มครองผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต โดยศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะห์หลักพื้นฐาน นโยบาย และกฎหมายที่เป็นสากลต่อความรับผิดของผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงหลักความรับผิดของผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตตาม E-Commerce Directive ของสหภาพยุโรป และกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ ประเทศเวียดนาม เพื่อเสนอความจำเป็นในการวางแนวทางการคุ้มครองผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย ดังนั้น การหาวิธีความรับผิดของผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมออนไลน์ที่มีความสมดุลและเป็นระบบ

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific – United Nation ESCAP). ผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต. [Online]. Available URL: https://www.unescap.org/sites/default/files/Isp, 2563 (ตุลาคม, 23).

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development - OECD). ความหมายของผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต [Online]. Available URL: https://stats.oecd.org/glossary/detail.asp?ID=6740, 2563 (ตุลาคม, 23).

Thainetizen. รู้จักหลักการ “Notice and Notice” สำ หรับการกำกับเนื้อหาออนไลน์ [Online].

Available URL: https://thainetizen.org/2016/05/notice-and-notice-contentregulation/, 2559 (พฤษภาคม. 19).

Alexandre de Streel. Miriam Buiten and Martin Peitz. Liability of online hosting platforms: should exceptionalism end?. Centre on Regulation in Europe asbl (September 2018): 13-14.

Bach, Deborah. Liability of internet ‘intermediaries’ in developing countries [Online].

Available URL: http//www.sciencedaily.com/releases/2016/06/160 630145018.htm. 2016 (June, 30).

Chanhom, Kanaphon. Defamation and Internet Service Providers in Thailand [Online]. Available URL: http://researchgate.net/publication/303659572, 2016 (July, 28).

CMS Law Now. Vietnam’s new Cybersecurity Law requiring data localisation to take effect on 1 October 2022 [Online]. Available URL: https://cms-lawnow.com/en/ealerts/2022/08/vietnam-s-new-cybersecurity-law-requiring-datalocalisation-to-take-effect-on-1-october-2022, 2022 (July, 14).

EdiMA. Online Intermediaries [Online]. Available URL: https://www. copenhageneconomics.com/dyn/resources/Publication/publicationPDF/9/189/0/125301%20Edima%20Online%20Intermediaries%20Report%20FINAL%2010JAN2012.pdf, 2012 (March, 27).

ETDA. ISP (Internet Service Provider) [Online]. Available URL: https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/terminology/หมวดหมู่-I/329.aspx, 2020 (November, 16).

Freedom house. Freedom on the net Japan [Online]. Available URL: https://freedomhouse.org/country/japan/freedom-net/2021. 2021 (March, 28).

_____. Freedom on the net Singapore [Online]. Available URL: https://freedom house.org/country/singapore/freedom-net/2021, 2021 (March, 28).

Gasser and Wolfgang Schulz. NoC Online Intermediaries Research Project: Synthesis [Online]. Available URL: https://publixphere.net/page/NoC_Online _Intermediaries_Research _Project_Synthesis, 2015 (June, 12).

IMDA. The Electronic Transactions Act 2010 [Online]. Available URL: https://www.imda.gov.sg/regulations-and-licensing-listing/electronic-transactions-act-andregulations, 2021(July, 20).

OpenNet Initiative. Europe - Regional Overview (2009) [Online]. Available URL: http://open net.net/research/regions/ Europe, 2009 (July, 14).

The center of Democracy and Technology. Intermediary Liability: Protecting Internet Platforms for Expression and Innovation [Online]. Available URL: http://www.cdt.org/paper/intermediary-liability-protecting-internet-platformsexpressionandinnovatio, 2010 (April, 12).

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550.

Act on the Limitation of Liability for Damages of Specified Telecommunications Service Providers and the Right to Demand Disclosure of Identification Information of the Sender.

Decree No. 21/CP regarding the Promulgation of “Temporary Regulation on the Management, Establishment, and Use of the Internet in Vietnam,” issued by the Government of Vietnam on March 5, 1997], replaced by decree No. 55/2001/nd-cp in 2001, (Viet.).

Electronic Transactions Act 2010.

EU Electronic Commerce Directive 2000/31/EC.

Law on Cybersecurity 2018. Vietnam.

Law On Media.

The Constitution of The Socialist Republic of Vietnam. 2013. The citizen shall enjoy the right to freedom of opinion and speech. freedom of the press. of access to information. to assemble. form associations and hold demonstrations. The practice of these rights shall be provided by the law.

The Digital Millennium Copyright Act (DMCA).