ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับอายุความและระยะเวลาในการบอกล้างโมฆียะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Main Article Content
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับอายุความและระยะเวลาในการบอกล้างโมฆียะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จากการศึกษาพบว่าการที่กฎหมายกำหนดระยะเวลาอาจไม่ใช่อายุความเสมอไป ซึ่งในทางกฎหมายระยะเวลาและอายุความมีความแตกต่างกัน อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง โดยกฎหมายกำหนดให้เจ้าหนี้ต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในเวลานั้น หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวสิทธิเรียกร้องย่อมขาดอายุความ ส่วนการที่กฎหมายกำหนดระยะเวลาอย่างอื่นที่มิใช่อายุความ จึงไม่นำบทบัญญัติกฎหมายเรื่องอายุความมาใช้บังคับ แต่อย่างไรก็ตาม อายุความและกำหนดระยะเวลาในการบอกล้างโมฆียะกรรมควรเป็นบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เพราะเจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการตั้งข้อขีดคั่นไว้เป็นกรอบระยะเวลาให้บุคคลกระทำการหรือใช้สิทธิภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และเมื่อบทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่อาจมีการตกลงให้แตกต่างเป็นอย่างอื่นได้ หากฝ่าฝืนย่อมตกเป็นโมฆะ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิ๊ด เศรษฐบุตร. หลักกฎหมายแพ่งลักษณะนิติกรรมและสัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556.
บุญช่วย วณิกกุล. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตอนที่ 4. พระนคร: โรงพิมพ์ปอทอง, 2477.
ประกอบ หุตะสิงห์. กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา. สำนักพิมพ์นิติบรรณการ: กรุงเทพมหานคร, 2507.
ปรีดี เกษมทรัพย์. กฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 5. ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์: คณะกรรมการบริหารทางวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มิถุนายน 2526.
ไพโรจน์ วายุภาพ. คำอธิบายกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 1 บททั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ปณรัชช, 2552.
รติชัย รถทอง. กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2563.
ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. คำอธิบายนิติกรรม-สัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 26. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2567.
ศักดิ์ สนองชาติ. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติบรรณการ, 2527.
สมศักดิ์ เอี่ยมพลับใหญ่. อายุความ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2561.
สรพลจ์ สุขทรรศนีย์. คำอธิบายกฎหมายลักษณะประกันภัย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2553.
เสนีย์ ปราโมช, ม.ร.ว. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้ เล่ม 1 (ภาค 1-2). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: กองทุนศาสตราจารย์ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559.
หยุด แสงอุทัย. หนังสือกฎหมายแพ่งมูลหนี้หนึ่ง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2517.
LSD. jus strictum [Online]. Available URL: https://www.lsd.law/define/jus-strictum, 2024 (March, 25)
Mengyong, Dai. “Juristic acts, public order and good morals.” Renmin Chinese Law Review 10, 10 (2023): 1-32.