ปัญหาการบังคับทางปกครองให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน: ในกรณีความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
Main Article Content
Abstract
ในกรณีเจ้าหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ให้แก่ผู้เสียหายในกรณีที่ละเมิดต่อบุคคลภายนอกไปแล้วกรณีหนึ่ง หรือกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐอีกกรณีหนึ่ง หน่วยงานของรัฐที่เสียหายนั้นมีสิทธิออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ การที่หน่วยงานของรัฐออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นชดใช้ค่าสินไหมทดแทน คำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือให้ชำระเงินนั้น ถือเป็นคำสั่งทางปกครอง หากมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครองจึงต้องมีการดำเนินการบังคับทางปกครอง โดยเป็นกระบวนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ มีความมุ่งหมายเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครอง การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวนี้ เรียกว่า “มาตรการบังคับทางปกครอง” จากการวิจัยพบว่า กฎหมายเกี่ยวกับการบังคับทางปกครองให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ยังมีปัญหาบางประการ ทำให้การดำเนินการเป็นไปโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐ ทำให้การบังคับทางปกครองไม่บรรลุผล อันเป็นผลให้หน่วยงานของรัฐไม่ได้รับการชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทน รวมทั้งไม่เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง ซึ่งปัญหาที่พบมีดังนี้ ประการแรก คือ เรื่องของเจ้าพนักงานบังคับทางปกครองที่หน่วยงานของรัฐแต่งตั้งขึ้นนี้ มิได้เป็นเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจหน้าที่โดยตรงในราชการปกติในการบังคับทางปกครองโดยตรง จึงขาดทั้งความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน ประการที่สอง คือ จะต้องมีกระบวนการตรวจสอบโดยส่งสำนวนให้กระทรวงการคลังตรวจสอบก่อน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในแนวปฏิบัติที่ต้องรอการตรวจสอบจากกระทรวงการคลังก่อนจึงจะออกคำสั่งกำหนดให้ชำระเงินเป็นค่าสินไหมทดแทนได้ ซึ่งในส่วนนี้ก็มีกำหนดอายุความเรื่องละเมิด คือ อายุความสองปีนับจากวันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงต้องใช้เงินเป็นค่าสินไหมทดแทนเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นกรอบอายุความที่จะบังคับทางปกครองอยู่ด้วย ประการที่สามคือปัญหาเกี่ยวกับการแจ้งผลการพิจารณาหรือการตรวจสอบของกระทรวงการคลัง และประการที่สี่คือปัญหาของการให้ความเป็นธรรมแก่ผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง จึงควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อให้การปฏิบัติราชการของหน่วยงานทางปกครองมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายของพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ในส่วนที่ว่าด้วย การบังคับตามคำสั่งทางปกครอง โดยกำหนดเพิ่มเติมให้มีการบังคับโดยหน่วยงานบังคับทางปกครอง ซึ่งกำหนดให้มีการจัดตั้งหน่วยงานบังคับทางปกครองขึ้นมา เพื่อเป็นหน่วยงานเฉพาะที่ทำหน้าที่บังคับทางปกครอง โดยจัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานเฉพาะในกระทรวงการคลัง เนื่องจากการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ จะต้องมีความเกี่ยวพันกับกระทรวงการคลังโดยตลอด เพื่อให้การบังคับทางปกครองเกิดผลในทางปฏิบัติและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองนิติการ. กลุ่มงานที่ปรึกษากฎหมาย นิติกรรมและสัญญา กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กองคุ้มครองแรงงาน. หลักการใช้ดุลพินิจ [Online]. Available URL: https://protection .labour.go.th/images/Manual/0001.pdf.
กองละเมิดและแพ่ง กรมบัญชีกลาง. เกร็ดกฎหมายน่ารู้ หลักสูตรการสอบสวนและตรวจสอบด้านความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่. กรุงเทพมหานคร: บริษัท คอมม่า ดีไซน์แอนด์พริ้นท์ จำกัด, 2559.
จิดาภา มุสิกธนเสฏฐ์. “ขั้นตอนการออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ชดใช้เงินกับขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญ.” วารสารกรมประชาสัมพันธ์ คอลัมน์กฎหมายใกล้ตัว (กุมภาพันธ์ 2558).
ชาญชัย แสวงศักดิ์. กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่และความรับผิดชอบของรัฐโดยปราศจากความผิด. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2560.
. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน,
. คำอธิบายกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2559.
บรรเจิด สิงคะเนติ. สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) หมวดสิทธิเสรีภาพ เรื่อง หลักความเสมอภาค. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า, 2543.
บรรเจิด สิงคะเนติ และสมศักดิ์ นวตระกูลพิสุทธิ์. “หลักความได้สัดส่วนตามหลักกฎหมายของ
เยอรมันและฝรั่งเศส.” วารสารศาลรัฐธรรมนูญ 1, 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2542).
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. กฎหมายมหาชน เล่ม 3 : ที่มาและนิติวิธี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2538.
ปิยะ ปะตังทา. หัวข้อ : หลักนิติธรรม เรื่อง : บทบาทของศาลปกครองในการตรวจสอบการใช้อำนาจตามกฎหมายของฝ่ายปกครองภายใต้หลักนิติธรรม [Online]. Available URL: https://www.constitutionalcourt.or.th/occ_web/ewt_dl_link.php?nid=1405, 2566 (มกราคม, 22).
ประนัย วณิชชานนท์. หลักกฎหมายและคดีปกครองเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2562.
เพลินตา ตีนรังสรรค์. กองกฎหมายปกครอง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โครงการสัมมนาพัฒนาและกฎหมายปกครอง. สรุปการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์ใหม่ในการบังคับทางปกครอง : หลักการและแนวทางปฏิบัติ, หน้า 58-59.
ฤทัย หงส์สิริ. ศาลปกครองและการดำเนินคดีในศาลปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2561.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. หลักความชอบด้วยกฎหมายและกิจกรรมของฝ่ายปกครอง. เอกสารประกอบการอบรม “โครงการอบรมประกาศนียบัตรกฎหมายปกครอง.” สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตย
สภา. 2559.
วรนารี สิงโต. รายงานการวิจัยเรื่อง การบังคับทางปกครองในระบบกฎหมายเยอรมัน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2551.
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองโดยเจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งทางปกครอง. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2557.
ศุภวัฒน์ สิงห์สุวงษ์. รายงานการวิจัยเรื่อง การบังคับทางปกครองในระบบกฎหมายฝรั่งเศส. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2551.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. “บันทึกเรื่อง แนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่.” เรื่องเสร็จที่ 757/2552.
สมยศ เชื้อไทย. หลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2553.
สามารถ วราดิชัย. คู่มือปฏิบัติราชการทางปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2556.
สุริยา ปานแป้น และอนุวัฒน์ บุญนันท์. คู่มือสอบกฎหมายปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2558.
สวัสดิการสำนักงานศาลปกครอง. แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครอง เล่ม 7. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประชาชน จำกัด, 2555.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539.
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562.
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539.
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559.
Chapus, Renée. Droit Admimistratif Général. Paris: Montchrestien, 1999.
de Malberg, R. Carré. Contribution ã la Théorie Général de L’Etat. Paris: Recueil Sirey, Réprimé par CNRS, 1962.
Maurer, Hartmut. Droit Administrative Allemande. Traduit de L’allemand par Michel Fromont. Paris: Librairie Générale de Droit et de Jurisprudence, 1992.