ปัญหาในการนำหลัก Principal Purpose Test มาใช้ในประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
หลัก Principal Purpose Test (“PPT”) เป็นหลักการที่ใช้ในการพิสูจน์ความแท้จริงของธุรกรรมหรือการจัดการในทางระหว่างประเทศ ซึ่งมีสาระสำคัญว่าหากธุรกรรมหรือการจัดการของผู้เสียภาษีมีวัตถุประสงค์หลักหรือหนึ่งในวัตถุประสงค์หลักในการเข้ารับสิทธิประโยชน์ภายใต้อนุสัญญาภาษีซ้อนโดยปราศจากวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจหรือธุรกิจ เจ้าหน้าที่สรรพากรมีอำนาจปฏิเสธสิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้อนุสัญญาภาษีซ้อนได้
ประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาพหุภาคีเพื่อป้องกันการกัดกร่อนฐานภาษีและการโยกย้ายกำไร โดยมีผลบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา อันส่งผลให้ประเทศไทยต้องรับเอาหลัก PPT มาใช้ในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในปัจจุบัน ประเทศไทยมิได้มีกฎหมายหรือมาตรการในการพิสูจน์วัตถุประสงค์ของธุรกรรมหรือการจัดการของผู้เสียภาษี ดังนั้น การขาดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนจึงอาจก่อให้เกิดปัญหาหลายประการอันนำไปสู่การขาดประสิทธิภาพในการปรับใช้หลัก Principal Purpose Test ดังกล่าว บทความฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาถึงแนวคิดที่มาและสาระสำคัญของหลัก Principal Purpose Test ตลอดจนตัวอย่างในการปรับใช้ และวิเคราะห์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อประเทศไทยได้นำเอาหลัก Principal Purpose Test มาใช้ รวมถึงข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Fuest, Clemens and others. “Profit Shifting and ‘Aggressive’ Tax Planning by Multinational Firms: Issues and Options for Reform.” ZEW - Centre for European Economic Research Discussion Paper 13-078, (October 2013): 4-6.
Multilateral Convention to Implement Tax Treaty Related Measures to Prevent Base Erosion and Profit Shifting.
OECD. Action Plan on Base Erosion and Profit Shifting. OECD Publishing, 2013.
_______. OECD/G20 Base Erosion and Profit Shifting Project 2015 Final Report. OECD
Publishing, 2015.
Scott, David and Alexandra Felix. Principles of Administrative Law. London: Cavendish
Publishing.
Vienna Convention on the Law of Treaties 1969.
Weber, Dennis. “The Reasonableness Test of the Principal Purpose Test Rule in OECD BEPS Action 6 (Tax Treaty Abuse) versus the EU Principle of Legal Certainty and the EU Abuse of Law Case Law.” International Tax Law Review 1 (August 2017): 49.