หน้าที่ในการบอกกล่าว เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผล ต่อความรับผิดของลูกหนี้ร่วม

Main Article Content

ธชธร ประตังถาโต

Abstract

           ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยได้กำหนดหลักการให้การกระทำบางประการของลูกหนี้ร่วม
คนหนึ่งที่ได้ไปกระทำต่อเจ้าหนี้ หรือการกระทำบางประการของเจ้าหนี้ต่อลูกหนี้ร่วมคนหนึ่ง อาจจะมีผลกระทบถึงลูกหนี้ร่วมคนอื่นด้วย อย่างไรก็ดี กฎหมายกลับไม่ได้มีการอธิบายว่าลูกหนี้ร่วมคนอื่น ๆ ซึ่งต้องผูกพันในผลของการกระทำเหล่านั้นด้วย จะทราบถึงการกระทำนั้นได้อย่างไร


          จากการศึกษาพบว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยและของต่างประเทศได้ยอมรับหลักการว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่สำคัญบางประการขึ้น บุคคลที่มีส่วนกระทำให้เกิดผลกระทบต่อความรับผิดและ
จะกล่าวอ้างสิทธิโดยอาศัยผลของเหตุการณ์ที่กระทบต่อความรับผิดของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในมูลหนี้นั้น ควรเป็น
ผู้มีหน้าที่ในการบอกกล่าวไปยังผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยหากฝ่าฝืนหน้าที่ดังกล่าว ย่อมไม่สามารถอ้างสิทธิของตน
โดยอาศัยผลของเหตุการณ์ที่กระทบต่อความรับผิดของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในมูลหนี้ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในมูลหนี้ทุกฝ่ายควรที่จะต้องปฏิบัติต่อกันด้วยความสุจริต รวมถึงพึงมีหน้าที่กระทำการปกป้องคุ้มครองสิทธิของกันและกันอันรวมถึงการบอกกล่าวให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในมูลหนี้ทราบถึงเหตุการณ์ที่กระทบต่อความรับผิดของเขาด้วย


          ผู้เขียนจึงเห็นว่าควรกำหนดให้ลูกหนี้ร่วมที่จะเข้าชำระหนี้หรือได้ชำระหนี้แล้ว หรือลูกหนี้ร่วมที่ได้รับการปลดหนี้นั้น มีหน้าที่ในการบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ร่วมคนอื่น ว่าตนจะชำระหนี้หรือตนได้มีการชำระหนี้หรือตนได้รับการปลดหนี้จากเจ้าหนี้แล้ว

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กิตติศักดิ์ ปรกติ. “หลักความสุจริตและเหตุแทรกซ้อนเหนือความคาดหมายในการชำระหนี้.” ใน เอกสารประกอบการศึกษาวิชาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย คณะนิติศาสตร์. หน้า 92. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554.

จิ๊ด เศรษฐบุตร. หลักกฎหมายแพ่งลักษณะหนี้. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556.

จิตติ ติงศภัทิย์ และยล ธีรกุล. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 มาตรา 241 ถึงมาตรา 452. พระนคร: โรงพิมพ์ไทยพิทยา, 2503.

จรัญ ภักดีธนากุล. กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยผลและความระงับแห่งหนี้. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษีท พี. เพรส จำกัด, 2561.

ชะลอ ว่องวัฒนาภิกุล. คำอธิบายเรียงมาตราประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหนี้. กรุงเทพมหานคร: เดือนตุลา, 2549

ชิฎา หลีประเสริฐ. “หน้าที่ข้างเคียงในการชำระหนี้.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.

ดาราพร ถิระวัฒน์. กฎหมายหนี้ : หลักทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2563.

_______. กฎหมายหนี้ : หลักทั่วไป. พิมครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561.

ธิติรัตน์ สง่าแสง. “ผลของอายุความสะดุดหยุดลง เปรียบเทียบระหว่างกรณีลูกหนี้กับผู้ค้ำประกันและระหว่างลูกหนี้ร่วม.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556.

นิลบุล เลิศนุวัฒน์. กฎหมายค้ำประกัน. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563.

ปัญญา ถนอมรอด. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2564.

ปิติกุล จีระมงคลพาณิชย์. กฎหมายประกันด้วยบุคคลและทรัพย์ ค้ำประกัน จำนอง จำนำ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2558.

ปรีดี เกษมทรัพย์. กฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการบริการทางวิชาการ, 2526.

ไพโรจน์ วายุภาพ. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหนี้. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2559.

พระยาเทพวิฑูรฯ (บุญช่วย วณิกกุล). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตอนที่ 1. กรุงเทพมหานคร: กองทุนศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2476.

_______. และ ยล ธีรกุล. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรียงมาตราว่าด้วยหนี้ บรรพ 2 มาตรา 194 – 353. กรุงเทพมหานคร: กองทุนศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554.

วิชัย วิวิตเสวี. การปลดหนี้ให้ลูกหนี้ร่วม. โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. คำอธิบายนิติกรรม-สัญญา พร้อมคำอธิบายในส่วนของ พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2550 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง. พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2564.

_______. คำอธิบายหลักพื้นฐานของกฎหมายเอกชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2562.

_______. คำอธิบายกฎหมายลักษณะหนี้ (ผลแห่งหนี้). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2560.

ศุภวิชญ์ ธีรจันทรางกูร. “หน้าที่ในการให้ความร่วมมือการชำระหนี้.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563.

สุนทร มณีสวัสดิ์. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ : หนี้. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2557.

เสนีย์ ปราโมช. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้ เล่ม 1 (ภาค 1-2). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2561.

_______. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้ เล่ม 2 (ภาคจบบริบูรณ์). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2560.

_______. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ว่าด้วยค้ำประกัน จำนอง จำนำ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติบรรณาการ, 2512.

โสภณ รัตนากร. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหนี้. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติบรรณการ, 2553.

Basil Markensinis, Hannes Unberath and Anhus Johnston. The German Law of Contract: A Comparative Treatise. 2nd ed. Oregon: Hart Publishing, 2006.

Beatson, Jack and Daniel Friedmann. Good Faith and Fault in Contract Law. New York: Clarendon Press, 1997.

Bénédicte Faurarque-Cosson and Denis Mazeaud Mazeaud. European Contract Law: Materials for a Common Frame of Reference: Terminology Guiding, Principles, Model Rules. Walter de Gruyter, 2009.

Cohn, E.J. Manual of German Law Volume I. Dobbs Ferry, N.Y.: Oceana Publications, Inc., 1968.

De Becker, J.E. The Principle and Practice of The Civil Code of Japan. London: Butterworth&co, 1921.

De Becker, J.E. Annotated Civil Code of Japan. London: Butterworth&co, 1909.

Ebke, Werner F. and Matthew W. Finkin. An Introduction to German Law. Hague: Kluwer Law International, 1996.

Heinrich, Christian. Formale Freiheit und materiale Gerechtigkeit. Tübingen: Mohr Siebeck, 2000.

Otta von Gierke. Schuld und Haftungimallteren deutschen Recht : insbesondere die Form der Schul- und Haftungsgeschafte. Breslau: M & L.Macus, 1910.

Partners, City-Yuwa. Civil Code reform: amendment to guarantee obligations [Online]. Available URL: https://www.lexology.com/commentary/banking-financial-services/japan/city-yuwa-partners/civil-code-reform-amendments-to-guarantee-obligations#4, 2022 (February, 27).

Schuster, Ernest J. The Principle of German Civil Law. Oxford: The Clarendon Press, 1907.

Shimada, Makoto. “Termination of a continuous contract and good faith under Japanese and English law.” Keio law journal 38 (2017).

Zimmermann, Reinhard. The New German Law of Obligations: Historical and Comparatives.

New York: Oxford University Press, 2010.