บทบาทของพนักงานอัยการต่อการดำเนินคดีอาญาในคดีแข่งขันทางการค้า

Main Article Content

พสิษฐ์ อันทรินทร์
นิสิต อินทมาโน

Abstract

          การวิจัยนี้มุ่งศึกษาสภาพปัญหาและข้อคิดเห็นทางกฎหมายเกี่ยวกับบทบาทของพนักงานอัยการต่อการดำเนินคดีอาญาในคดีแข่งขันทางการค้า วิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีแข่งขันทางการค้าของพนักงานอัยการของประเทศไทย และต่างประเทศ และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีแข่งขันทางการค้าของพนักงานอัยการ ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุดและข้อแนะแนวทางระดับสากลที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ปัญหา การพัฒนามาตรการกฎหมายไทย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ


          จากการศึกษาพบว่าการดำเนินคดีแข่งขันทางการค้าของพนักงานอัยการ มีปัญหากฎหมายอยู่หลายประการ ดังนี้ ปัญหาคุณสมบัติของพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบสำนวนคดีความผิดตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาการส่งสำนวนการสอบสวนจากคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าไปยังพนักงานอัยการล่าช้า ปัญหาของข้อจำกัดในอำนาจการแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมของพนักงานอัยการ เสนอแนะให้แก้ไขระเบียบการคัดสรรพนักงานอัยการเข้าอบรมแล้วขึ้นบัญชีรายชื่อให้อธิบดีอัยการจ่ายสำนวนคดีแข่งขันทางการค้าตามลำดับในบัญชีรายชื่อ แก้ไขระเบียบให้คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าส่งรายงานการสอบสวน พยานเอกสารและความเห็นพร้อมสำนวนไปยังพนักงานอัยการภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการลงความเห็น และแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้อธิบดีอัยการ สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มีอำนาจสอบสวนหรือมอบหมายให้พนักงานอัยการเข้าสอบสวนหรือเข้าร่วมสอบสวนกับคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าในคดีแข่งขันทางการค้า

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

จิรัช ชูเวช. “การรวบรวมพยานหลักฐาน.” พิมพ์ครั้งที่ 4. ใน ประมวลสาระชุดวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและพยานชั้นสูง, หน้า 15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564.

น้ำแท้ มีบุญสล้าง. กระบวนการยุติธรรมทางอาญาเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร: สูตรไพศาล,

บุญสงค์ ทองอินทร์. บทวิเคราะห์รัฐธรรมนูญ เรื่อง รัฐธรรมนูญ หมวด 13 องค์กรอัยการ. กรุงเทพมหานคร: สารวุฒิสภา, 2562.

พรชัย วิสุทธิศักดิ์. กฎหมายแข่งขันทางการค้า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2564.

ภวัลกรณ์ จารุธรรม. “การปรับใช้มาตรการลงโทษทางแพ่งในพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563.

รัชนีกร โชติชัยสถิต. “กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี.” ใน แนวการศึกษาชุดวิชาการบริหารงานยุติธรรมเปรียบเทียบชั้นสูง. หน่วยที่ 6, หน้า 6-25. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565.

ศักดา ธนิตกุล. กฎหมายกับธุรกิจระหว่างประเทศกฎหมายแข่งขันทางการค้าของประเทศสมาชิกอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2560.

_______. คำอธิบายและกรณีศึกษาพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2553.

ศักดา ธนิตกุล และคนอื่นๆ. กฎหมายแข่งขันทางการค้าในประเทศญี่ปุ่น สหภาพยุโรป สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เกาหลีใต้ และสิงคโปร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2562.

ศิระ บุญภินนท์. “กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศญี่ปุ่น.” ใน ประมวลสาระชุดวิชาการบริหารงานยุติธรรมเปรียบเทียบชั้นสูง. หน่วยที่ 7, หน้า 26-27. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565.

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์. “กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี.” ใน ประมวลสาระชุดวิชาการบริหารงานยุติธรรมเปรียบเทียบชั้นสูง. หน่วยที่ 6, หน้า 33-35. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565.

อรรถพล ใหญ่สว่าง. “บทบาทของพนักงานอัยการในการดำเนินคดีอาญา.” พิมพ์ครั้งที่ 4. ใน ประมวลสาระชุดวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและพยานชั้นสูง, หน้า 5-7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564.