การใช้อำนาจและการควบคุมการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง: ศึกษากรณีพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

Main Article Content

นิติณัฏฐ์ นุเวศวงษ์กมล

Abstract

           การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐเป็นการกระทำทางปกครองของฝ่ายปกครอง ในการปฏิบัติตามหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์สาธารณะ และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญ แต่การใช้อำนาจดังกล่าวก็อาจทำให้เกิดปัญหาจากการใช้อำนาจโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้จึงต้องมีการควบคุมการใช้อำนาจในกรณีที่ประชาชน หรือเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้อำนาจโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติตามหน้าที่แต่เกิดความเสียหาย       


          ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้เขียนพบว่า ยังคงมีปัญหาบางประการจากการใช้อำนาจและการควบคุมการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้


          ประการแรก ปัญหาจากการใช้อำนาจและการควบคุมการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง


          ประเด็นปัญหาเรื่องคำนิยามของ คำว่า “คำสั่งทางปกครอง” ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 คำว่า “ระหว่างบุคคล” ที่ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้


          ประเด็นปัญหาเรื่องคำนิยามของ คำว่า “คำสั่งทางปกครอง” ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 คำว่า “สิทธิหรือหน้าที่” ที่มิได้ครอบคลุมถึงลักษณะของคำสั่งทางปกครองที่กระทบต่อ “เสรีภาพ”


            ประเด็นปัญหาเรื่องข้อยกเว้นของเจ้าหน้าที่ในการพิจารณาทางปกครองตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ประกอบกฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ. 2566 ที่ทำให้เกิดปัญหาความไม่เป็นกลางในการพิจารณาทางปกครองของเจ้าหน้าที่ได้


        ประเด็นปัญหาเรื่องคำสั่งทางปกครองที่อาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณีตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ที่มิได้ครอบคลุมถึงลักษณะของคำสั่งทางปกครองที่กระทบ “เสรีภาพและหน้าที่”


        ประเด็นปัญหาเรื่องระยะเวลาในการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองตามมาตรา 44 วรรคหนึ่ง   แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ที่กำหนดให้สิทธิในการอุทธรณ์ แก่ผู้อุทธรณ์เป็นระยะเวลาน้อยเกินไป เปรียบเทียบมาตรา 45 วรรคหนึ่ง ที่ให้สิทธิระยะเวลาในการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ที่มากกว่าผู้อุทธรณ์ และเปรียบเทียบกับ มาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551


        ประเด็นปัญหาเรื่องกรณีคำอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนตามมาตรา 44 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ที่กฎหมายมิได้กำหนดไว้ว่าให้เจ้าหน้าที่ ผู้รับคำอุทธรณ์นั้นดำเนินการอย่างไรต่อไป


          ประการที่สอง ปัญหาจากการใช้อำนาจและการควบคุมการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่


          ประเด็นปัญหาเรื่องไม่มีคำนิยามของ “ความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง” ตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539


          ประเด็นปัญหาเรื่องการพิจารณาเกี่ยวกับ “ความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง”  ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการพิจารณา คือ คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ที่จะเป็นผู้ใช้อำนาจดุลพินิจในการพิจารณาเรื่องความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงและเรื่องของจำนวนที่กำหนดให้ไม่เกิน 5 คน ตลอดจนเรื่องแต่งตั้งจากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นหรือหน่วยงานของรัฐอื่นตามที่เห็นสมควร


        ประเด็นปัญหาเรื่องการจำกัดสิทธิฟ้องคดีของผู้เสียหายกับหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 เปรียบเทียบกับมาตรา 7 วรรคหนึ่ง


ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการแก้ไขปรับปรุงและเพิ่มเติมของกฎหมาย ดังนี้


  1. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

  2. กฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ. 2566 และ

  3. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กมลชัย รัตนสกาวงศ์. “ความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับดุลพินิจฝ่ายปกครองของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐ

เยอรมัน.” วารสารกฎหมายปกครอง, 8 (2532): 5.

_______. สาระสำคัญและหลักกฎหมาย พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2539.

นิติณัฏฐ์ นุเวศวงษ์กมล. กฎหมายเกี่ยวกับระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (Law on

Administrative of State Affairs). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2565.

พัชฌา จิตมหึมา. ความเป็นกลางในการพิจารณาทางปกครอง เปรียบเทียบแนวคำวินิจฉัยของสภาพ

แห่งรัฐและหลักความเป็นกลางตามกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศส [Online]. Available

URL: https://www.krisdika.go.th/data/activity/act345.pdf, 2563 (กรกฎาคม 19).

_______. ปัญหาความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พิเคราะห์หลักเกณฑ์การพิจารณาและการแยกความรับผิด โดยเปรียบเทียบกับการจัดแบ่งความผิดตามกฎหมายฝรั่งเศส [Online]. Available URL: https://www.krisdika.go.th/data/activity/act13705. pdf, 2563 (กรกฎาคม, 19).

พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย. “บทสัมภาษณ์ความเห็นทางวิชาการ เรื่อง หลักนิติธรรมกับสภาพของสังคม

ประเทศไทย.” วารสารจุลนิติ (ธันวาคม 2554): 19-21.

ภูริชญา วัฒนรุ่ง. หลักกฎหมายมหาชน (Principles of Public Law). พิมพ์ครั้งที่ 14.

กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2562.

วรนารี สิงห์โต. ข้อสังเกตเกี่ยวกับหลักความเป็นกลางของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง:วิเคราะห์

เปรียบเทียบกฎหมายไทยและกฎหมายเยอรมัน [Online]. Available URL:

https://www.krisdika.go.th /data/activity/act282.pdf, 2560 (มกราคม, 22).

สิทธิกร ศักดิ์แสง. หลักกฎหมายมหาชน (Principle of Public Law). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2554.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. “บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการ

สอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดในกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดหลายหน่วยงานก่อให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐ เรื่องเสร็จที่ 392/2549.” 3 สิงหาคม 2549.

_______. “หนังสือ ที่ นร 0601/087 เรื่อง หารือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539.” 7 กุมภาพันธ์ 2540.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 [Online].

Available URL: https://dictionary.orst.go.th/index.php. (มิถุนายน, 17).

อุกฤษ มงคลนาวิน. “บทสัมภาษณ์ความเห็นทางวิชาการ เรื่อง หลักนิติธรรมกับสภาพของสังคม

ประเทศไทย.” วารสารจุลนิติ (พฤศจิกายน 2554): 3-4, 6.

Canadian Legal Information Institute. Conflict of Interest Act of 1988 [Online]. Available URL: https://

www.canlii.org/en/pe/laws/stat/rspei-1988-c-c-17.1/latest/rspei-1988-c-c-17.1.html, 2023 (March, 20).

U.S. Office of Government Ethics. Ethics Reform Act of 1989 [Online]. Available URL:

https://www.oge.gov/web/OGE.nsf/0/3942A940906D39B0852585B6005A15AE/$FILE/PL101-194.pdf, 2014 (June, 24).

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.

ประมวลกฎหมายอาญา.

พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539.

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551.

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539.

พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548.

กฎกระทรวงกำหนดกรณีอื่นที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ พ.ศ. 2566.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539.

คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 1789 – 1790/2518.

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.70/2552.

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.670/2554.

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.716/2554.

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.758/2558.

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1915/2559.

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.2032/2559.

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.2186/2559.

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 20/2564.