แนวทางการพิจารณาคดีความผิดทางแพ่งและทางอาญาของ ผู้ประกอบวิชาชีพเฉพาะ : ศึกษากรณีวิชาชีพทนายความ และวิชาชีพแพทย์
Main Article Content
Abstract
บทความนี้ได้เรียบเรียงจากการศึกษาวิจัยเรื่อง “แนวทางการพิจารณาคดีความผิดทางแพ่ง และทางอาญาของผู้ประกอบวิชาชีพเฉพาะ : ศึกษากรณีวิชาชีพทนายความและวิชาชีพแพทย์” ซึ่งเป็นการศึกษาถึงแนวคิดและมาตรการทางกฎหมาย ตลอดจนศึกษาวิเคราะห์และเสนอแนะ มาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาคดีความผิดทางแพ่งและทาง อาญาของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความและผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ โดยศึกษาวิจัยข้อมูลของ ประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ประกอบด้วยประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายจารีตประเพณี ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สาธารณรัฐ ฝรั่งเศส และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
คำว่า “วิชาชีพ” หมายถึงอาชีพที่มีลักษณะเป็นผู้มีความรู้ชั้นสูงที่จะต้องผ่านการศึกษา อบรมเป็นเวลาหลายปีจนมีความรู้ความชำนาญ และเป็นอาชีพที่เป็นหมู่คณะ มีขนบธรรมเนียมและ จรรยาบรรณของตนโดยเฉพาะ แต่บทบาทหน้าที่และการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพทั้ง สองต่างก็มีผลกระทบต่อประชาชนผู้รับบริการและต่อสังคมโดยรวม จึงมีการออกกฎหมายเฉพาะโดยมีหลักการและวัตถุประสงค์ในการควบคุมการประกอบวิชาชีพโดยการจัดตั้งองค์กรวิชาชีพ กำหนดมาตรฐานและจริยธรรมวิชาชีพ กำหนดคุณสมบัติผู้ประกอบวิชาชีพต้องได้รับการฝึกอบรม มีความรู้ในวิชาชีพอย่างเป็นระบบ และได้มีการขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ คือการ ประกอบวิชาชีพของทนายความ มีพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 กำหนดให้สภา ทนายความเป็นองค์กรวิชาชีพ และการประกอบวิชาชีพของแพทย์มีพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 กำหนดให้แพทยสภาเป็นองค์กรวิชาชีพ ทั้งนี้ ในการประกอบวิชาชีพของทนายความ และแพทย์หากเกิดความเสียหายต่อประชาชนผู้รับบริการ นอกจากต้องมีความผิดตามกฎหมายการ ประกอบวิชาชีพแล้ว อาจต้องมีความผิดในทางแพ่งและหรือทางอาญาอีกด้วย หากมีการกระทำผิด เข้าเงื่อนไขและองค์ประกอบของกฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา ในการพิจารณาคดีความผิด เกี่ยวกับกฎหมายวิชาชีพของทนายความและแพทย์นั้น องค์กรวิชาชีพทั้งของไทยและต่างประเทศ จะมีแนวทางและมาตรการที่ค่อนข้างสอดคล้องกันคือการใช้กระบวนการมาตรฐานทางจริยธรรม วิชาชีพ โดยอาศัยกฎระเบียบ ข้อบังคับองค์กร เพื่อดำเนินกระบวนการสอบสวนและการลงโทษ ภายในองค์กร โดยมีโทษตั้งแต่ขั้นตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักการใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตาม ระยะเวลาที่กำหนด และเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ตามความหนักเบาแห่งคดี ในกรณี มาตรฐานวิชาชีพของทั้งสองวิชาชีพ พบว่านอกจากยังมีปัญหาและข้อจำกัดในบางประเด็น เช่น การกำหนด คุณสมบัติผู้ประกอบวิชาชีพไว้ค่อนข้างต่ำ การกำหนดใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตลอดชีวิต การไม่มี ระบบการตรวจสอบ ติดตามประเมินผล และระบบการศึกษาต่อเนื่องแล้ว ในส่วนของกระบวนการ พิจารณาคดีจริยธรรมวิชาชีพทั้งทนายความและแพทย์ยังมีปัญหาในประเด็นความโปร่งใส ความเป็น กลาง การกำหนดระยะเวลาสอบสวน ตลอดจนถึงประเด็นเรื่องสิทธิในการอุทธรณ์ภายในของฝ่าย ปกครองอีกด้วย ในการพิจารณาคดีความผิดทางแพ่งของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความและ แพทย์นั้น กระบวนการพิจารณาคดีความผิดทางแพ่งเป็นไปตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง แต่โดยที่ได้มีคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์กำหนดให้การฟ้องคดีที่เกี่ยวกับ ค่าว่าจ้างทนายความและการฟ้องคดีเกี่ยวกับการบริการทางการแพทย์หรือสาธารณสุข ถือเป็นคดี ผู้บริโภค จึงต้องถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ที่มีหลักการ แตกต่างจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหลายประการ เช่น การยื่นคำฟ้องหรือ คำให้การ คู่ความอาจกระทำด้วยวาจาได้ การยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมให้แก่ผู้บริโภคหรือผู้มี อำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค ภาระการพิสูจน์ (Burden of Proof) ที่ใช้หลัก Res Ipsa Loquitur โดยผลักภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่อยู่ในความรู้เห็น โดยเฉพาะของผู้ประกอบธุรกิจให้ตกแก่ ผู้ประกอบธุรกิจ รวมทั้งการให้ศาลมีบทบาทเชิงรุกในการนำระบบการไต่สวน (Inquisitorial System) มาใช้ในการพิจารณาคดี โดยให้อำนาจศาลในการพิจารณาค้นหาความจริงเพื่อนำมา วินิจฉัยและตัดสินคดี โดยศาลมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร ศาลเป็น ผู้ซักถามพยานเอง คู่ความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อศาลอนุญาต สภาพปัญหาอัน เกิดขึ้นจากการพิจารณาคดีความผิดทางแพ่ง โดยเฉพาะสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในคดีแพทย์คือ ในการ พิจารณาคดี ศาลยังไม่มีบทบาทในเชิงรุกมากนัก โดยยังไม่ได้นำระบบการพิจารณาคดีแบบไต่สวน มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ เพราะความเคยชินกับระบบกล่าวหาแบบเดิมที่ให้คู่ความทั้งสองฝ่ายได้ นำเสนอพยานหลักฐานของตนให้ศาลเป็นผู้พิจารณา จำนวนคดีผู้บริโภคที่มาสู่ศาลต่าง ๆ มีจำนวน คดีค่อนข้างมาก ตลอดจนปัญหาในการพิจารณามาตรฐานวิชาชีพของแพทย์และการรับฟังพยาน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ โดยศาลไทยยังมีข้อจำกัดในการรับฟังพยานผู้เชี่ยวชาญทั้งในเรื่องของ ความเชื่อถือ มาตรฐานหรือระดับความเชี่ยวชาญตลอดจนความเป็นกลางในการให้ความเห็น ในขณะ ที่สหรัฐอเมริกา อังกฤษ สาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้ให้ความสำคัญกับพยาน ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เป็นอย่างมาก โดยพยานผู้เชี่ยวชาญมีหน้าที่ในการให้รายละเอียดและ ความเห็นในข้อเท็จจริงของรูปคดีต่อศาล นอกจากนั้นยังมีปัญหาในส่วนของการกำหนดค่าเสียหายทาง แพ่งของศาลซึ่งไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนแน่นอน สำหรับการพิจารณาคดีความผิดทาง อาญาของทนายความและแพทย์นั้น กระบวนการพิจารณาคดีอาญาเป็นไปตามบทบัญญัติของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่ใช้ระบบกล่าวหา ยึดถือหลักการดำเนินคดีอาญาตามหลัก ภาระการพิสูจน์ (Burden of Proof) หลักการพิสูจน์จนสิ้นสงสัย (Prove beyond a reasonable doubt) โดยอาศัยพยานผู้เชี่ยวชาญทางแพทย์ อีกทั้งการยอมรับหลักการว่าด้วยเรื่องความสัมพันธ์ ระหว่างการกระทำและผล (Causation) โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับคดีทุรเวชปฏิบัติทางการแพทย์ (Medical Malpractice) มีปัญหาในเรื่องภาระการพิสูจน์ ที่ตกแก่ผู้เสียหายเป็นหลัก ปัญหาในการหา และเข้าถึงพยานหลักฐาน โดยเฉพาะเรื่องมาตรฐานวิชาชีพ และเวชระเบียน (Medical Record) ที่ไม่มี กฎหมายกำหนดชัดเจน ตลอดจนความไม่เชื่อถือในพยานผู้เชี่ยวชาญจากสภาวิชาชีพ การชั่งน้ำหนัก พยานหลักฐานที่ต้องเป็นการกระทำให้เกิดความเสียหายโดยชัดแจ้ง และโดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวกับการ กระทำโดยประมาทของแพทย์ซึ่งกฎหมายไทยใช้หลักความประมาทเลินเล่อในทางแพ่ง (Negligence) ในขณะที่สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) การกระทำของแพทย์ที่จะเป็นความผิดทาง อาญา ต้องเป็นการกระทำโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (Gross Negligence) โดยมี เจตนาร้าย (Mens Rea) เท่านั้น
คณะผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาด้านการพิจารณาคดี ความผิดตามกฎหมายวิชาชีพของทั้งสองวิชาชีพ โดยปรับปรุงมาตรฐานวิชาชีพให้มีความชัดเจน ปรับปรุงคุณสมบัติด้านอายุของผู้ประกอบวิชาชีพ และระบบการติดตามประเมินผล การศึกษา ต่อเนื่องให้มีความเหมาะสม จัดให้มีระบบฐานข้อมูลกลางของผู้ประกอบวิชาชีพ ปรับปรุง กระบวนการสอบสวนคดีจริยธรรมให้มีความชัดเจน เป็นธรรมและสอดคล้องกับหลักการของ กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และให้มีการเพิ่มโทษปรับทางปกครอง เพื่อความเหมาะสม ในระดับของการลงโทษ และให้มีการจัดตั้งกองทุนเยียวยาความเสียหายเบื้องต้นให้กับผู้ได้รับความ เสียหายจากการประกอบวิชาชีพ
ในการพิจารณาคดีความผิดทางแพ่งของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ สมควรนำกฎหมาย วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคมาใช้กับคดีบริการของวิชาชีพทนายความด้วย เพราะจะทำให้เกิดความเป็น ธรรมต่อประชาชนหรือลูกความผู้เสียหาย เนื่องจากมีความสะดวก ประหยัด รวดเร็ว ภาระในการ พิสูจน์ข้อเท็จจริงเป็นของทนายความผู้ประกอบธุรกิจบริการ สำหรับวิชาชีพแพทย์ ในการนำระบบ ไต่สวนมาใช้ในการพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับการบริการทางการแพทย์ สมควรให้ศาลปรับปรุงระบบการ พิจารณาคดีในเชิงรุกให้มากขึ้น มีบทบาทในการเป็นผู้แสวงหาข้อเท็จจริงมากขึ้น โดยเฉพาะ ข้อเท็จจริงที่เป็นความเห็นทางการแพทย์หรือเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพ ให้มีการรับฟังพยาน ผู้เชี่ยวชาญซึ่งศาลแต่งตั้งและขึ้นบัญชีเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญของศาล ซึ่งผ่านความเห็นชอบร่วมกัน กับแพทยสภาและราชวิทยาลัยในแต่ละสาขา เพื่อให้ได้ผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีความรู้และมีมาตรฐาน วิชาชีพที่แท้จริง ตลอดจนนำระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายวิธีพิจารณาคดี ผู้บริโภคมาใช้สำหรับคดีแพทย์ทุกคดี นอกจากนั้น คณะผู้วิจัยเห็นด้วยกับความเห็นที่ว่าคดีบริการ ทางการแพทย์มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากคดีผู้บริโภคทั่วไป ดังนั้น จึงอาจจำเป็นต้องมีมาตรการ หรือวิธีพิจารณาคดีที่แตกต่างไปจากคดีผู้บริโภคในบางประเด็น เช่น การกำหนดอายุความ การกำหนดมาตรการในการกลั่นกรองคดีการฟ้องแพทย์ การกำหนดระยะเวลาในการนัดพิจารณา ให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม เป็นต้น โดยมีลักษณะของวิธีพิจารณาที่สร้างความเป็นธรรม ให้กับคู่กรณีคือประชาชนผู้เสียหายและผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ โดยคำนึงถึงหน้าที่และเกียรติภูมิ ในการประกอบวิชาชีพ และสำหรับวิธีพิจารณาความผิดทางอาญา ในส่วนของวิชาชีพทนายความ ควรกำหนดให้มีการไต่สวนในคดีละเมิดอำนาจศาลทุกกรณี และในส่วนของวิชาชีพแพทย์ ควรปรับปรุงหลักความรับผิดโดยประมาทให้การกระทำของแพทย์ที่จะเป็นความผิดทางอาญา ต้องเป็นการกระทำโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น
The Approach to Trial on Civil and Criminal Liabilities of the Professions: Case Studies on the Lawyers and Medical Professions
This article was compiled from research. "The Approach to Trial on Civil and Criminal Liabilities in the Professions: Case Studies on the Legal and Medical Professions." It is a study of the concept itself, and of legal measures to support it. The study analyzes the problem and proposes appropriate legal measures to be adopted in the trials of civil and criminal offenses by professionals, specifically lawyers and medical professionals. The study compares data to the legal systems of other countries. The methodology included the written law of the United Kingdom, the United States, the French Republic, and the Federal Republic of Germany.
The term "professional" derives from "profession" which means in Latin “devoted herself for a life time.” In many countries, the term “profession” carries a similar connotation to “vocation” (English), and “Beruf,” (German), which means a profession that requires a high level of knowledge and training for many years, followed by the passing of a professional license examination administered by an entity controlling norms and ethics. Since the role and performance of professionals directly affects the public and society, it is indispensable to promulgate laws and regulations to provide principles and objectives to regulate the profession. This is best done by establishing a Commission that will set the standard and the code of conduct, stipulate the requirement for applicants, and administer applications for a professional license. In Thailand, the Lawyers Act B.E. 2528 vested this power in the Lawyer Society of Thailand as regards lawyers. The Medical Professions Act B.E. 2525 vested a similar power in the Medical Council. Lawyers and doctors are responsible for civil or criminal liability if they breach the elements of civil or criminal law. Regarding the professional responsibility of lawyers and medical professionals, their professional boards in Thailand and foreign countries are similar in employing guidelines and measures of ethical standards and professional responsibility to carry out unbiased investigations and impose appropriate punishments. These range from a warning, probation, or suspension, to a revocation of licenses. Nevertheless, there are several problems, including: a low requirement for qualification; life-time licensing; an absence of measures to monitor performance; and no requirement for continuing education.
Examining the procedure for professional ethics cases raises problems such as lack of transparency, doubtful neutrality, the determination of the inquisition time, and the right to appeal within the administrative body. In a civil case against a lawyer or a medical doctor, trial procedure in the past followed the Civil Procedure Code. However, recently the Chief Justice of the Appeals Court has ruled that a case against a lawyer for legal fees, or a lawsuit against a medical professional, must be treated as a consumer case, and must comply with the Consumer Procedure Act B.E. 2551. There are many procedural differences between the Civil Procedure Code and the Consumer Procedure Act B.E. 2551, such as the method of filing a complaint, the nature of verbal testimony, potential waiver of the Court’s fee, and the requirement of a legal representative to submit a case to the Court. The burden of proof is different as well, with the Consumer Procedure Act using the Res Ipsa Loquitur principle, which shifts the burden of proof from the consumer to the business provider. The act also provides for a judge’s proactive role in utilizing the inquisitorial system to seek out the truth by ordering evidence to be proved in the court as appropriate. Judges can directly examine witnesses, but the litigants or their representatives can only inquire of the witnesses after receiving permission from the court. In medical malpractice cases, the court is not as active as the system requires. A judge does not employ the full extent of the inquisitorial role, as he or she is accustomed to the long tradition that both parties present their evidence. Also troublesome is the large number of consumer cases that are filed with the court. Furthermore, the standards of the medical profession regarding expert witnesses hamper the role of the court in hearing expert testimony due to reliability issues, the criteria for the qualification of experts, and doubtful neutrality. In the United States of America, the United Kingdom, the Republic of France and the Federal Republic of Germany, the emphasis is placed on the expert witness’s duty to provide reliable information and expert opinions to the court. Additionally, there is the problem of estimating damages in the civil cases due to the vague and uncertain criteria.
As for criminal proceedings against lawyers and medical professions, the provisions of the criminal procedure code require that the criminal proceedings must comply with the burden of proof principle. The plaintiff must prove his case beyond a reasonable doubt, and he may employ medical expert witnesses. Furthermore, the principle of the relation of the cause and direct effect (Causation) must be adopted. In medical malpractice cases, the burden of proof mainly falls with the injured person. There are also many difficulties for the injured person in their search for and access to evidence. Professional standards and medical records may be difficult to obtain; stipulated regulations may be unclear; and unreliable testimony by expert witnesses from professional councils may obstruct the injured person from gathering evidence. Under the Thai law, the proof for medical imprudence employs the civil negligence principle, which means the plaintiff must prove by conclusive evidences the cause of the damage and directly relate that cause to negligence in the civil case. In contrast, in the United States of America and the United Kingdom, the conclusive evidence must indicate gross negligence with a pure bad faith (Mens Rea).
The researchers, therefore, propose the following guidelines and measures to resolve the problems in malpractice case proceeding: implementing clearer professional standards; increasing the minimum age qualification; creating an effective evaluation process and monitoring system; providing continuing education; constructing a central database of professionals; improving disciplinary investigative procedures with clearer provisions in accordance with the principles of administrative law; and increasing the administrative fine for a suitable penalty. An initial remedies fund should also be established to benefit persons injured by professional malpractice.
In a civil case related to professional malpractice by lawyers, the researchers propose that the Consumer Procedure Act should apply to this type of legal cases. That would provide justice to all people and the injured client because the procedure is convenient, economical and fast. The burden of proof shall fall upon the lawyer who offered the service. In case of medical professionals, the Court must play a more active role in searching for evidence in malpractice cases. The Court should also insure that the appointed and registered expert witnesses proposed by the Medical Council and Specialized Medical Board are actually true professional experts with the knowledge that the standard requires. Also, mediation under the Consumer Procedure Act should be applied in all medical malpractice cases. Moreover, the researchers conclude that since medical malpractice cases possess some unique characteristics, the procedural laws should be different from other consumer cases. Those laws include: statutes of limitation; the requirement of prima facie proof; the appropriate and justified determination of the hearing time so as to provide a fair trial for both parties, the injured persons and the medical professions, to maintain the duties and dignity of the professions. In a criminal case related to the professional malpractice of a lawyer, the researchers are of the opinion that there should be a hearing for contempt of court in every case. For the medical profession, it is essential that deliberate intention, or gross negligence with Mens Rea, shall be required for criminal liability.