การจัดเก็บและการใช้ดีเอ็นเอผู้กระทำผิดในประเทศ สหรัฐอเมริกา: กรณีศึกษาสำหรับประเทศไทย

Main Article Content

พลอยไพลิน บุญธวัชศักดิ์

Abstract

การจัดทำระบบข้อมูลสารพันธุกรรม (Deoxyribonucleic acid หรือ DNA) ของ ผู้กระทำผิดในประเทศสหรัฐอเมริกาได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ในช่วงปี 1970 โดยเริ่มมีการเก็บดีเอ็นเอ จากผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเพศและความรุนแรงก่อน ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ให้ ความสำคัญกับการป้องกันผู้กระทำผิดหลบหนี การกระทำผิดซ้ำ ดังนั้น ในปี 1994 สภาคองเกรส จึงได้ออกกฎหมายรับรองการเก็บดีเอ็นเอของผู้ต้องขัง นอกจากนี้ กฎหมายบางฉบับ เช่น กฎหมายพักการลงโทษได้กำหนดเงื่อนไขให้สามารถปล่อยตัวนักโทษออกมาได้ก่อนกำหนด หากเข้าเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด ส่งผลให้ประชาชนเกิดความหวั่นเกรงว่านักโทษที่ได้รับ การปล่อยตัวจะกระทำผิดซ้ำอีกในภายหลัง อีกทั้งยังกระทบต่อความเชื่อมั่นในหน่วยงานของ รัฐ และจะมีมาตรการป้องกันภัยอันตรายอันอาจเกิดขึ้นจากบุคคลเหล่านี้ได้ดีเพียงใด คนใน สังคมจึงได้แค่คาดหวังว่าระบบการติดตามตรวจสอบความประพฤติของผู้ต้องขังรวมถึงอดีต ผู้ต้องขังที่มีประวัติการก่ออาชญากรรมอยู่บ่อยครั้ง จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถกำกับ ดูแลพฤติกรรมและความเคลื่อนไหวของผู้ต้องขังได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีการเก็บ ข้อมูลดีเอ็นเอและข้อมูลของผู้ต้องขัง แม้จะพบเพียงซากชิ้นส่วนในที่เกิดเหตุก็สามารถระบุตัว บุคคลได้ ผลจากการส่งเสริมในเรื่องดังกล่าวทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกาได้นำระบบจัดทำ ระบบข้อมูลสารพันธุกรรม (DNA) ของผู้กระทำผิดมาบัญญัติรองรับไว้ในกฎหมายพร้อมกับ ส่งเสริมให้เป็นนโยบายหลักของประเทศในการปกป้องพลเมืองของตนจากอันตรายที่อาจเกิด จากอาชญากรเหล่านี้ แม้ว่าการเก็บสารพันธุกรรม (DNA) จะถือเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาการของกระบวนการยุติธรรม แต่อย่างไรก็ตามการมีบทบัญญัติที่ครอบคลุมการจัดเก็บ และใช้สารพันธุกรรม (DNA) ของผู้ต้องขังหรือผู้ที่พ้นโทษแล้วที่ชัดเจนเป็นเรื่องที่ต้อง พิจารณาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะในทางปฏิบัติการเก็บ สารพันธุกรรม (DNA) มีข้อที่ต้องพิจารณาอย่างละเอียดถึงผลดี-ผลเสีย และความคุ้มค่าใน ระยะยาว ซึ่งหากประเทศไทยได้มีบทบัญญัติในเรื่องนี้ ต้องมีวิธีการจัดเก็บและใช้สาร พันธุกรรม (DNA) อย่างระมัดระวัง

 

Collection and using of DNA identification information from offenders in the US:

The case study for Thailand In 1970, the states in the US began enacting laws that required collecting DNA samples from sex and violence offenders. As the US focus on the prevention of escape and recidivism, in 1994, Congress enacted legislation to authorize the creation of a national DNA database, as a powerful tool for law enforcement and investigations. According to parole law, the prisoners might be released with condition before completing their sentencing. As a result, people require the measures for preventing recidivism. More importantly, the creating DNA database of offenders would be crime-solving tool for the police and prosecutors. Now, the US has law enforcement agencies and DNA profiling of offenders which can be used to link criminals or suspects to unsolved crimes and to prevent recidivism. Despite, DNA identification has moved on an experimental technique to an established crime-solving tool for police and prosecutors in criminal justice system. However, the enactment of collection and use of DNA identification information from offenders act should be viewed as a balancing act between human rights, civil liberties, and privacy and security.

Article Details

Section
บทความ (Articles)