มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการขายทอดตลาดความลับทางการค้า

Main Article Content

รศวุฒิ วุฒิ

Abstract

ในกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาหรือ คำสั่งเสร็จสิ้นแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องทำการยึดการอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม คำพิพากษามาไว้ในการดูแลของเจ้าพนักงานบังคับคดีให้แล้วเสร็จ จึงจะทำการจำหน่ายหรือ ขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญอันเป็นการแปลงทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม คำพิพากษาให้เป็นเงินเพื่อนำมาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หากว่าทรัพย์สินของ ลูกหนี้เป็นความลับทางการค้าที่มีลักษณะพิเศษที่เกิดจากการสร้างสรรค์ทางปัญญาของ มนุษย์และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเฉพาะซึ่งไม่อาจยึดถือครอบครองได้อย่าง ทรัพย์สินทั่วไปดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น ความลับทางการค้า จึงไม่เป็นทั้งอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ประกอบกับความลับทางการค้านั้นมี ลักษณะเฉพาะที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลและถือว่าข้อมูลนั้นจะต้องเป็นความลับอยู่เสมอ อีกทั้งข้อมูลดังกล่าวต้องมีประโยชน์ในการใช้เชิงพาณิชย์

ผลการศึกษาพบว่า การขายทอดตลาดความลับทางการค้าตามหลักเกณฑ์ทางกฎหมาย ที่มีอยู่ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากลักษณะของความลับทางการค้านั้นไม่สามารถทำการ เปิดเผยได้ การเปิดเผยความลับทางการค้าทำให้ข้อมูลความลับทางการค้าสิ้นสภาพของการเป็นความลับ อีกทั้งยังไม่มีมาตรการเฉพาะหรือวิธีการที่เหมาะสมในการให้ความคุ้มครอง ความลับทางการค้าระหว่างการขายทอดตลาด เพื่อไม่ให้ถูกเปิดเผยรวมถึงไม่มีบทบัญญัติ ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีในการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่เป็นความลับทางการค้า

 

Legal Measures Related to Trade Secrets at Public Auctions

In the compulsory execution process, after the court delivers judgment or issues an order, executing officers must seize and garnish the belongings of debtors in accordance with the judgment of the court as taken into the care of executing officers. After this, these belongings will be sold or auctioned. This is an important step since it involves exchanging the belongings of debtors for cash in accordance with the ruling that said debtors must repay debts owed creditors in cash.

In cases in which the belongings of debtors involve trade secrets, they have special characteristics derived from human intellectual creativity and therefore receive protection through the application of specific laws. These trade secrets cannot be possessed in the same way as other belongings as stipulated in the Civil and Commercial Code. Therefore, trade secrets are not immovable property or movable property. Trade secrets have specific characteristics that invoke the importance of information and take into account that such information must remain secret. This is because information such as this may well lead to benefits when used for commercial purposes.

Findings show that trade secrets at public auction cannot be legally sold by reference to current legal standards. This is because the characteristics of trade secrets cannot be disclosed. The disclosure of trade secrets will lead to trade secrets being no longer secret. There are also no specific measures or appropriate methods to provide protection for trade secrets during public auctions to prevent them from being disclosed. There are also no provisions granting authority to executing officials in the operations of auctioning property involving trade secrets.

Article Details

Section
บทความ (Articles)