บทบัญญัติของกฎหมายแรงงานในส่วนที่ ไม่เป็นธรรมต่อนายจ้าง
Main Article Content
Abstract
การใช้แรงงานมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่การใช้แรงงานจะเป็นในลักษณะของนายกับ ทาสในสังคมเกษตรกรรม จนมาถึงการใช้แรงงานโดยผู้ที่มีอำนาจมากกว่ากับผู้ที่มีอำนาจน้อย กว่าในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดนายจ้างและลูกจ้าง ในสมัยก่อนลูกจ้างยังเป็นผู้ที่ไม่มี ความรู้ไม่มีอำนาจในการต่อรองกับนายจ้าง จึงมีการบัญญัติกฎหมายเพื่อคุ้มครองลูกจ้างที่ เรียกว่ากฎหมายคุ้มครองแรงงานขึ้น แต่ในปัจจุบันสังคมมีการพัฒนาเทคโนโลยีและ วิทยาศาสตร์เป็นอย่างมากเพื่อความเป็นสากลหรือโลกาภิวัตน์ ทำให้ลูกจ้างในปัจจุบันมี ความรู้ความสามารถมากขึ้น ประกอบกับกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่มุ่งคุ้มครองลูกจ้าง และจาก ประสบการณ์ในการทำงาน ทำให้เห็นได้ว่านายจ้างยังได้รับความเป็นธรรมไม่เพียงพอในเรื่อง
(1) การหยุดกิจการชั่วคราว ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2551
(2) การบอกกล่าวล่วงหน้าในสัญญาจ้าง ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2551 และ
(3) การนัดหยุดงานในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
เนื่องจากการพัฒนาประเทศทางเศรษฐกิจต้องมีการจ้างแรงงาน ซึ่งนายจ้างก็นับเป็น ผู้ลงทุนในกิจการที่ต้องมีการจ้างแรงงาน เมื่อลูกจ้างในปัจจุบันมีความรู้เพิ่มมากขึ้นจากอดีต จึงสามารถนำกฎหมายที่ให้สิทธิ อำนาจมาเป็นเครื่องต่อรองนายจ้างมากเกินควร กฎหมายจึงควรที่จะบัญญัติคุ้มครองนายจ้างให้เพิ่มขึ้น เพราะในยุคโลกาวิวัฒน์มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว รวมทั้งตัวลูกจ้างเองด้วย เมื่อกฎหมายพัฒนาไม่ทันหรือไม่ปรับเปลี่ยนความคิดตาม การพัฒนาที่เกิดขึ้น ทำให้กฎหมายกลายเป็นสิ่งล้าสมัยไม่เป็นธรรมในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เมื่อ กฎหมายยังไม่มีการปรับปรุงในจุดนี้ นายจ้างจึงยังไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกฎหมาย แรงงาน ในขณะที่ลูกจ้างกลับได้รับความคุ้มครองมากขึ้นตามกาลเวลาที่ผ่านไป จึงน่าจะมี การคุ้มครองนายจ้างเพื่อสนับสนุนให้เกิดการลงทุนทางภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นและเพื่อให้ นายจ้างได้รับความเป็นธรรมจากกฎหมายเพิ่มขึ้น
The Unfair Terms of Labour Laws Toward the Employer
Looking back, we can see that labour is one of an old factor in the society from ancient times. In those days of the agricultural society, “slave” was mentioned as one who worked for land owners or masters. Then came the industrial revolution which changed the labour system from slave-master to working class-ruling class. People who were more power and rich considered as the bosses. While those who were less power and poor were workers. Most of the workers were uneducated and had no power to negotiate with their bosses. Later the laws were legislated in order to protect the workers as Labour Protection Act. According to the high technology development and sciences in the globalization era, the workers or employees are more educated and the Labour Protect Act aims to overprotect them. Thus, it is unfair to the employers in some cases such as;
(1) The act regarding the protection of employee in case of temporary cessation/closure of operation of Labour Protection Act. B.E.2551 (2008)
(2) Advance notice of termination, Labour Protection Act. B.E. 2551 (2008)
(3) Absenteeism/strike, Labour Relation Act. B.E. 2518 (1975)
Due to economic development, the investor or employer must hire the employees to work in all kind of business. Nowadays the employees know more about the laws and some law’s regulations overprotect the employee’s rights to bargain with the employer. Therefore, there should be the act that protect the employer as well. Currently, because of the rapid changes of globalization, the law should be developed and moving to suit the new visionary unless all those acts will be out of date and unfair to the employer. Amending the law to protect and justify the employer may boost the industrial investment.