วิเคราะห์และวิพากย์พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518

Main Article Content

ธงชัย โรจนกนันท์

Abstract

ประเทศไทยเริ่มมีพระราชบัญญัติการผังเมืองและชนบท พ.ศ. 2495 เป็นกฎหมายฉบับแรก เพื่อ การผังเมืองแต่ไม่เคยได้ใช้งานจริง กระทั่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 บังคับใช้มี 84 มาตรา แต่ในทางปฏิบัติอำนาจตามกฎหมายนี้กลับถูกนำมาใช้งานหลักเพียง 27 มาตรา หรือหมวดที่ 1 ถึงหมวดที่ 4 ว่าด้วยการวางผังเมืองรวม คำถามสำคัญ คือ จาก พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2558 รวม 40 ปี เกิดอะไรขึ้นในงาน ผังเมืองในประเทศไทย ทำไมกลไกของรัฐ เครื่องมือทางกฎหมาย และกระบวนการ ต่างๆ จึงไม่สามารถทำให้ชุมชนเมืองมีผังเมืองที่ดีและการพัฒนาที่ดี ขณะที่ในทางปฏิบัติจริงการผังเมือง ประสบปัญหามากมายมาตลอด

การวิเคราะห์กฎหมายผังเมืองและการบังคับใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2558 รวม 40 ปี จึงเป็นสาระที่น่าสนใจควบคู่กับคำถามเชิงวิจัยถึงสาเหตุ ปัญหา อุปสรรค และผลกระทบของการบังคับใช้กฎหมาย ผังเมืองในประเทศไทย โดยให้ความสำคัญเรื่อง “ข้อเท็จจริง” (Facts) มากกว่า “ความจริง” (Truth)

แม้ข้อมูลสำคัญในอดีตจำนวนหนึ่งสูญหาย ไม่สามารถค้นหาเพื่อศึกษาได้อย่างละเอียด แต่ยัง มีผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และให้ความกระจ่างชัดถึงปัญหาการผังเมืองในอดีต นับตั้งแต่การผังเมืองยังเป็นหน่วยราชการเพียงระดับแผนกที่ไม่มีผู้ใดสนใจหรือให้ความสำคัญใน กรมโยธาเทศบาล กระทั่งรัฐบาลตั้ง “สำนักผังเมือง” เป็นหน่วยราชการระดับกรมในปี พ.ศ. 2505 พัฒนาการต่างๆ และมุมมองของผู้ที่เคยร่วมงานและมีส่วนร่วมในงานผังเมือง จึงเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งต่อการพัฒนาและก้าวไปข้างหน้าของการผังเมืองของประเทศไทยในอนาคต

 

Analysis and Arguments on the Town and Country Planning Act B.E. 2518

Planning regulations are considered to be a crucial legal tool for guiding and controlling urban development. Development direction should be in harmony with cultural, social, economic and natural environments. However, this does not occur in Thailand because of its poor development of planning regulations. What went wrong with the Town and Country Planning Act B.E. 2518 is an interesting question for this paper. Causes and effects are discussed in association with some primary legal loopholes. Consequences in terms of urban disaster and urban climate resilience are pointed out by giving the great fl ood in 2011 as an obvious example. There are strong arguments that misleading and poor understanding about planning leave a gloomy hope for the future of urban planning in Thailand.

Article Details

Section
บทความ (Articles)