มาตรการในการคุ้มครองความลับทางการค้าของนายจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน

Main Article Content

สาต์นิธิ จานประดับ

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายความลับทางการค้าของ นายจ้างและลูกจ้าง เนื่องจากกฎหมายให้ความคุ้มครองเจ้าของความลับทางการค้า มิได้บัญญัติให้มี แนวทางใดที่เป็นบทบัญญัติให้นายจ้างทำสัญญาในการป้องกันความลับทางการค้าของนายจ้างไว้ เพราะ นายจ้างส่วนใหญ่มีความจำเป็นที่จะต้องให้ลูกจ้างของตนใช้ความลับทางการค้านั้นเพื่อประโยชน์ทาง ธุรกิจ ซึ่งแนวทางที่เป็นมาตรฐานจึงมีความสำคัญอย่างมากที่จะต้องนำมาพิจารณา เช่น ในกรณีที่มีคดี ขึ้นสู่ศาล อย่างไรจึงจะเป็นมาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาไว้เป็นความลับทางการค้า ตามคำนิยามใน มาตรา 3 ของพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 อีกทั้งข้อต่อสู้ในสิทธิของลูกจ้างที่จะเป็น เจ้าของความลับทางการค้า เนื่องด้วยการจ้างแรงงานที่เกี่ยวข้องกับความลับทางการค้า รวมถึงองค์กร หรือผู้มีอำนาจตรวจสอบสัญญาจ้างแรงงานที่เกี่ยวข้องกับความลับทางการค้าหรือสัญญารักษาความลับ ทางการค้า ซึ่งข้อตกลงในสัญญาเกี่ยวกับความลับทางการค้านี้เป็นเรื่องเฉพาะแตกต่างจากสัญญาชนิด อื่น ตามที่พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 มาตรา 21 บัญญัติให้คณะกรรมการความ ลับทางการค้า มีเพียงอำนาจเสนอความเห็นมาตรการในการคุ้มครองความลับทางการค้า หากบัญญัติ กฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการความลับทางการค้าจะทำให้มาตรการรักษาความ ลับมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

MEASURES IN TRADE SECRET PROTECTION OF EMPLOYERS IN ACCORDANCE WITH SERVICE CONTRACTS

In this thesis, the researcher examines problems concerning the law of trade secrets as applied to employers and employees. The researcher found that the law protects the owner of trade secrets, but it is devoid of previsions governing the making of contracts between employers and employees involving the safeguarding of employer is trade secrets. Most employers find it necessary to allow their employees access to trade secrets for business needs. As such, it is very important to develop standardized ways of handling this state of affairs. In considering relevant court cases, the researcher found that appropriate measures for securing trade secrets in the aforementioned circumstances must be pursuant to the definition given in Section 3 of the Trade Secrets Act, B.E. 2545 (2002). The employee’s right to own trade secret can be defended by service contracts governing trade secrets. There is an organization authorized to inspect service contracts involving trade secrets or contracts safeguarding trade secrets. Contractual agreements in regard to trade secrets differ from other contractual agreements. Section 21 of the Trade Secrets Act, B.E. 2545 (2002) prescribes that the Trade Secrets Board is only authorized to present opinions concerning measures pursuant to trade secret protection. If the law is amended whereby the Trade Secrets Board is given greater authority, then measures affecting the safeguarding of trade secrets will become more efficient.

Article Details

Section
บทความ (Articles)