ปัญหามาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า ตามมาตรา 86 รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
Main Article Content
Abstract
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จะได้บัญญัติไว้ในมาตรา 86 (1) และ (3) ให้รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา พัฒนา และใช้พลังงานหมุนเวียน แต่ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีกฎหมายระดับพระราชบัญญัติด้านพลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะมารองรับเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญนี้ ส่งผลให้เกิดความไม่ชัดเจนและขาดเอกภาพในด้านกิจการพลังงานหมุนเวียน และไม่เกิดการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนได้อย่างเป็นรูปธรรม จากการศึกษาพบปัญหามาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อการผลิต กระแสไฟฟ้า แยกได้เป็น 4 ประการ ได้แก่ ประการแรกคือปัญหาเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยไม่มีการเอื้ออำนวยการจัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนแตกต่างจากโรงไฟฟ้าทั่วไป ประการที่สองคือปัญหามาตรการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนโดยไม่มี การให้ความสำคัญกับพลังงานหมุนเวียนเป็นอันดับแรกในการรับซื้อและเข้าถึงระบบสายส่งไฟฟ้าขาดมาตรการบังคับเชิงปริมาณ และระบบกลไกสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนนั้นไม่เหมาะสมและไม่ ครอบคลุมพลังงานหมุนเวียนทุกประเภท ประการที่สามคือปัญหาด้านหน่วยงานและกองทุนที่รับผิดชอบเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน โดยไม่มีหน่วยงานและกองทุนที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยเฉพาะในกิจการพลังงานหมุนเวียน และประการที่สี่คือปัญหามาตรการเตรียมการระยะยาวสำหรับพลังงานหมุนเวียน โดยไม่มีกฎหมายพลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะที่กำหนดมาตรการเตรียมการระยะยาว ทั้งในด้านองค์ความรู้ ด้านบุคลากร และด้านการป้องกันผลกระทบสำหรับกิจการพลังงานหมุนเวียน ดังนั้น เพื่อให้เกิดการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อการผลิตไฟฟ้าได้อย่างมี ประสิทธิภาพโดยแท้จริง จึงควรต้องมีการตราพระราชบัญญัติพลังงานหมุนเวียนขึ้นสำหรับกิจการด้านนี้โดยเฉพาะ
Problems Concerning Legal Measures in Promoting and Supporting the Use of Renewable Energy for Electricity Generation in Accordance with Section 86 of the Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2550
Even though it is clearly stated in Section 86 (1) and (3) of the Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2550 that the government must promote and support the study, development, and use of renewable energy, there is as yet no act to honor this intention. The result is a lack of clarity and unity in the renewable energy industry. Also, there cannot be concrete promotion and support of the use of renewable energy. The study of this matter shows that there are four major problems involving the legal measures for promoting and supporting the use of renewable energy for electricity generation. The first problem involves electricity generation itself. There is no law to specially facilitate the establishment of renewable energy power plants. Secondly, there exist no priority grid accesses, nor dispatch, nor quota obligations for electricity from renewable energy. Moreover, the main current renewable energy promotional measure is inappropriate. Thirdly, there is no agency solely responsible for the renewable energy business, and no funds to create one. Lastly, the fourth problem concerns the long-term preparation for the renewable energy sector. There is no current law to specify legal measures regarding knowledge, personnel, and safety measures for renewable energy. Therefore, in order to achieve the efficient promotion and support for the use of renewable energy for electricity generation it is vital that a renewable energy act be enacted for such industry specifically.