มาตรการบังคับใช้กฎหมายการขับรถขณะมึนเมา
Main Article Content
Abstract
ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับ การขับรถขณะมึนเมาหลายฉบับ แต่ยังคงพบว่า มีปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายการขับรถขณะมึนเมา ได้แก่ ปัญหาการกำหนดระดับแอลกอฮอล์ ที่มีการกำหนดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงเกินไปปัญหาการฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานที่ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ มีการกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อย ทำให้ผู้ขับขี่เลี่ยงที่จะรับการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ ปัญหาการกำหนดโทษกรณีการขับรถขณะมึนเมา ยังไม่มีความสอดคล้องกับความเสียหายที่เกิดขึ้น และปัญหาการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาล ซึ่งยังไม่มีมาตรการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทศกาลวันปีใหม่และเทศกาลสงกรานต์ จึงเห็นสมควรที่จะศึกษาถึงการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับการขับขี่รถขณะมึนเมา เพื่อหามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการขับรถขณะมึนเมา และเพื่อเป็นแนวทางให้แก่รัฐในการแก้ไขกฎหมาย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นสำหรับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชนต่อไป
The Enforcement of Laws on Driving While Intoxicated
There are many laws on the books about driving while intoxicated, but there are many problems with the enforcement of these laws. These include the problem of determining the level of alcohol in the blood. Also, the illegal level of alcohol in the blood is currently too high. Currently, refusal to submit to blood alcohol testing only results in a small fi ne (not to exceed 1,000 Bath). This approach is clearly too lenient. Violators easily avoid submitting themselves to blood testing. Another problem is the sale of alcoholic beverages during festivals. There are currently no bans in place forbidding the sale of alcohol during major festivals, such as New Year’s Day and Songkran. It is necessary to examine the enforcement of laws relating to driving while intoxicated in order to seek legal measures to avoid the accidents that result when people drive drunk. The government should be guided in amending the current laws to improve public confidence and increase the safety of life and property.