หลักการพิพากษาไม่เกินคำขอในคดีปกครอง
Main Article Content
Abstract
หลักการพิพากษาไม่เกินคำขอเป็นหลักการที่ศาลทุกระบบนำมาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดี โดยหลักการดังกล่าวมีทั้งที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีแพ่งคดีแรงงาน คดีปกครองเยอรมัน เป็นต้น และที่ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่จะปรากฏอยู่ในคำพิพากษาของศาล เช่น คดีปกครองของไทยและฝรั่งเศส ซึ่งหลักการดังกล่าวมีทั้ง ส่วนที่เป็นข้อบังคับให้ศาลต้องปฏิบัติ คือเป็นหลักการที่บังคับให้ศาลต้องตัดสินคดีไปตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อหา และส่วนที่เป็นข้อห้ามศาล คือ เป็นหลักการที่ห้ามมิให้ศาลพิพากษาเกินคำขอของคู่ความ แต่หลักการ ดังกล่าวก็ไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาด เนื่องจากมีกฎหมายบัญญัติบทผ่อนคลายให้ศาลสามารถพิพากษาเกิน คำขอได้ในบางกรณี ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แต่การที่กฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครองของไทยยังไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักการพิพากษาไม่เกินคำขอและข้อยกเว้นหลักการดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน แม้ศาลปกครองของไทยจะได้นำหลักการพิพากษาไม่เกินคำขอมาใช้บังคับในฐานะเป็นหลักกฎหมายทั่วไปก็ตาม แต่จากการศึกษาแนวคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดของไทยแล้ว จะพบปัญหาอยู่หลายประการ
The Principle of Judgments Not Exceeding the Contents of Motions in Administrative Cases
Findings show that the principle of judgments not exceeding the contents of motions is a principle utilized in judging cases by all of the courts of the legal systems examined by the researcher. This principle is prescribed in written form in codes of civil procedure, labor cases, and administrative cases in Germany and elsewhere. However, this principle is not codified in written form but appears in court judgments, including administrative cases, in Thailand and France.
In the last two legal systems, this principle is incorporated into regulations governing court procedures. The upshot is that this principle forces courts to comply by rendering judgments with reference to all the charges brought by plaintiffs in complaints brought before the courts. In application, the principle forbids courts from rendering judgments in which the judgment exceeds the contents of the plaintiff’s motion. Nevertheless, the principle does not constitute an absolute prohibition, inasmuch as in some cases the court can provide relief to the plaintiff in excess of the contents of the motion in view of appeals to principles of equity.
However, in Thai administrative law, procedures do not have clearly stated provisions concerning the principle of judgment not exceeding the contents of motions, or even less unambiguously stated exceptions to this principle. Although the Thai Administrative Court system has used this principle as a general principle of law, a study of Supreme Administrative Court judgments shows that many problems remain.