ปัญหาการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288: ศึกษากรณีฆ่าทารกขณะคลอด

Main Article Content

นิธิกานต์ สนสระน้อย

Abstract

จากการศึกษาพบว่า การตีความ คำว่า “ผู้อื่น” ที่หมายถึง มนุษย์โดยทั่วไป (Human Being) และ “ความเป็นมนุษย์เริ่มแต่เมื่อใด” ตามถ้อยคำในทางแพ่ง ส่งผลต่อการคุ้มครองทารกขณะคลอด เนื่องจากขณะที่ทารกอยู่ในครรภ์ถ้ามีผู้ใดไปกระทำให้ทารกถึงแก่ความตาย ผู้นั้นมีความผิดฐานทำให้แท้งลูก และถ้าคลอดออกมาสมบูรณ์ หมดทั้งตัวแล้ว มีผู้ใดไปกระทำให้ถึงแก่ความตาย ผู้นั้นก็จะมีความผิดฐานฆ่าคนตาย แต่การกระทำต่อทารกขณะคลอดที่ถือว่ามีชีวิตที่พร้อมจะออกมาสู่โลก ภายนอกกลับไม่มีกฎหมายคุ้มครอง ทำให้เกิดปัญหาว่าการตีความและเมื่อนำถ้อยคำในทางแพ่งมาใช้ ทำให้เกิดช่องว่างของกฎหมายในความผิด ฐานฆ่าผู้อื่น เนื่องจากการเริ่มต้นสภาพบุคคลในทางแพ่ง เป็นการกำหนดถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ไม่ใช่เป็นการเริ่มต้นของชีวิตมนุษย์และเมื่อพิจารณาถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 พบว่าเป็นการฆ่า ที่กระทำต่อผู้อื่น ซึ่งก็คือมนุษย์ (Human Being) ไม่ใช่การกระทำต่อสภาพบุคคล และทำให้เกิดปัญหาในการลงโทษผู้กระทำความผิดฐานทำให้ทารกที่อยู่ “ระหว่างคลอด” ออกมาเสียชีวิตลง มีความผิดฐานทำให้แท้งลูกตามประมวลกฎหมายอาญา เนื่องจากองค์ประกอบความผิดฐานทำให้แท้งลูก ถือว่าทารกที่โผล่อวัยวะออกมาเพียงบางส่วน ยังเป็นทารกที่อยู่ภายในครรภ์และยังไม่มีสภาพความเป็นบุคคล การกระทำดังกล่าวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการฆ่าผู้อื่นตามความหมายในกฎหมายอาญาแต่อย่างใด ส่งผลให้อัตราโทษที่ผู้กระทำความผิดได้รับไม่เหมาะสมกับผลแห่งการกระทำความผิด

 

Problems Related to The Enforcement of Article 288 of The Penal Code: A Case Study of The Murder of An Infant During Childbirth

This thesis identifies a gap in the proscriptive capabilities of the Penal Code of Thailand regarding the killing of an infant in the act of being born. It also has the objective of examining the philosophical construct of the beginning of human life. The goal is not only to suggest legal language that would allow a clearer description of the birth process, but also to suggest legal strategies that would better cover all eventualities. The Civil Code of Thailand allows prosecution of any individual who causes the death of a fetus in utero by inducing abortion. The Penal Code of Thailand allows for the prosecution for murder of any individual who kills a newborn infant where the infant has completely separated from the mother and has begun to breathe. The gap exists when the fetus has migrated to the birth canal at the time of childbirth or is otherwise demonstrably in the act of being born but not yet completely separated from the mother. The most urgent need is new code sections to specifically cover the act of causing the death of a child during the process of birth itself. This would close the gap identified in the research for this thesis, and it would offer full protection for the lives of children at the very beginning of life.

Article Details

Section
บทความ (Articles)