มาตรการทางกฎหมายในการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 85(2)

Main Article Content

มาโนช สุขสังข์

Abstract

ในบทความนี้ได้วิเคราะห์ถึงมาตรการทางกฎหมายในการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ 8 แนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาตรา 85 (2) รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่โดยตรงของรัฐที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ แต่จากการศึกษาพบว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการถือครองที่ดินของไทยมีหลายฉบับ อาทิ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ฯลฯ ทั้งนี้ กฎหมายแต่ละฉบับยังมีปัญหาในการบังคับใช้ การตีความ และการอุดช่องว่างของกฎหมายอยู่หลายประการ ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการกระจายการถือครองที่ดินให้แก่ประชาชนอย่างเป็นธรรม

 

Legal Measures Governing the Fair Distribution of Land Ownership in Accordance with Section 85(2)

Land is a natural resource of great importance to human beings. Livelihoods depend on land as a medium for earning a living and the locus for human dwellings. Land is also a fundamental factor of production in addition to being a basic natural resource wherein is found other essential natural resources, including oil, coal and minerals. However, fertile land suitable for farming is not abundant and is decreasing in view of insatiable human demand for natural resources. This state of affairs is ineluctably incompatible with the increased need for fertile land as a consequence of burgeoning world population growth. All countries must accordingly make haste in properly distributing land so that all residents can equally benefit from the use of land.

Article Details

Section
บทความ (Articles)