กรอบแนวความคิดในการยกร่างพระราชบัญญัติการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ พ.ศ. ....

Main Article Content

พันธ์เทพ วิทิตอนันต์

Abstract

        การศึกษาวิจัยนี้ใช้กระบวนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยเอกสาร การประชุมกลุ่มย่อยและการสัมมนารับฟังความคิดเห็นในเวทีสาธารณะ ผลการวิจัยพบว่าประเทศไทยยังขาดมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมและกำกับการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์     มีผลทำให้ผู้รับการวิจัยขาดหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานในกรณีการเข้าร่วมรับการวิจัยอย่างเพียงพอ ดังนั้น จึงสมควรกำหนดมาตรการทางกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ โดยมาตรการทางกฎหมายควรกำหนดถึงสาระสำคัญ ได้แก่ การกำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้รับการวิจัยให้มีความชัดแจ้ง การจัดตั้งองค์กรเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้รับการวิจัยขึ้น โดยเฉพาะการกำหนดหลักการเกี่ยวกับการแสดงความยินยอมในการเข้าร่วมรับการวิจัยและการกำหนดมาตรการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้รับการวิจัย

 

          This research was conducted using a qualitative method, specifically a documentary research focus-group and public discussion forum. The author found that Thailand at this moment lacks a specific law regarding research that involves human beings. As a result, human beings who participate in these research projects do not have sufficient protection by law.

          The author recommends that a specific law should be promulgated that would protect the rights of human subjects in scientific research projects or tests. The law should contain the following elements: 1) It should set forth the fundamental rights of the human subjects who participate in the research project; 2) It should establish an independent authority that would be responsible for the protection of the human subjects; and 3) The law should contain legal measures that would help any subjects who were injured in the course of the research.

Article Details

Section
บทความ (Articles)