โมเดลปัจจัยการบริหารเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออก

Main Article Content

ปาริชาติ เวเบอร์
ภารดี อนันต์นาวี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์(1)เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาค ตะวันออก (2)เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (3)เพื่อตรวจสอบ ความเป็นไปได้ของการนำโมเดลดังกล่าวไปใช้ในการปฏิบัติโดยผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นครูวิชาการโรงเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออก จำนวน 720 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้วยสถิติบรรยาย ส่วนการพัฒนาและตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลใช้โปรแกรม LISREL และตรวจสอบความเป็นไปได้ในการนำโมเดลไปใช้ ด้วย การอภิปรายกลุ่มสนทนาแบบเจาะจงโดยผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออก ประกอบด้วย ภาวะผู้นำทางวิชาการ พฤติกรรมการบริหาร ความผูกพันต่อองค์การของครู ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยรวมสูงสุด คือภาวะผู้นำทางวิชาการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง คือภาวะผู้นำทางวิชาการและ ความผูกพันต่อองค์การของครู โดยร่วมกันทำนายผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออกได้ร้อยละ 43 ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อม ได้แก่ พฤติกรรมการบริหาร ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา การจัดการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และโมเดลดังกล่าวมีความกลมกลืนสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับดี ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่าโมเดลมีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ได้

Article Details

How to Cite
เวเบอร์ ป., & อนันต์นาวี ภ. (2018). โมเดลปัจจัยการบริหารเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออก. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(2), 60–69. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/spurhs/article/view/112146
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. 2551. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ดุจฤดี อ้วนคำ. 2553. “ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของครูกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของผู้เรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดเลย.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

พรรณี เทพสูตร. 2556. “รูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 ที่พัฒนาองค์ความรู้ร่วมกับชุมชน.” วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยวัดผลและสถิติการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

พีระ เสมพืช. 2551. “การศึกษากระบวนการบริหารที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผ่านเกณฑ์ระดับชาติทุกกลุ่มประสบการณ์: กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลพังงา.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

วันดี สมมิตร. 2552. “ผลกระทบของการสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานที่มีต่อพฤติกรรมการสอนของครูในเขตกรุงเทพมหานคร : การวิจัยแบบผสม.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. 2555. วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : ดิถาดาพลับลิเคชั่น.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. 2559. คะแนนผลการสอบของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออก ตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการขอใช้ประโยชน์จากผลคะแนนในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สทศ.

สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์. 2555. “การพัฒนา โรงเรียนให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้.” วารสารวิทยบริการ 23, 1 : 17-30.

สุชีรา เลิศมณีรัตน์. 2557. “พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยี การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. 2552. ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552- 2561). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. 2554. คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554- 2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับสถานศึกษา พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : สมศ.

Christensen, G.J. 1995. “The Role of the Principal in Transforming Accelerated Schools : A Study Using the Critical Incident Technique To Identify Behaviors of Principals.” Doctoral Dissertation : Stanford University.

Cotton F., and Ashley, B. 2003. Instructional leadership proficiencies of Elementary. Boston : Harvard Business school.

Creswell, J. W. 2013. Research Design : Qualitative, Quantitative and Mixed Methods Approaches. (2nd edition). Thousand Oaks, CA : Sage publications.

Diya Dou, Geert Devos and Martin Valcke. 2015. “Exploring the effects of principal leadership,School climate, teachers’ psychological factors on teachers’ job satisfaction and Organization commitment.” Social Sciences Gent University Journal Barcelona Spain 15 : 8113-8121.

Hair, J. et al. 2006. Multivariate Data Analysis. (6th edition) Upper Saddle River, NJ : Prentice-Hall.

Miller R.J., et al. 2010. Instructional Leadership: A Pathway to Teacher Collaboration and students’ Achievement. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2558. จาก https://pdfs.semanticScholar.org/1131

Prytula, M., Noonan, B., Hellsten, L. 2013. “Toward Instructional Leadership : Principals’Perceptions of Large – Scale Assessment in Schools.” Canadian Journal of Educational Administration and Policy 3,12 : 237-244.

Sarah Basu. 2016. “Professional Commitment and Job Satisfaction among Secondary School Teacher.” Journal of Education and Applied Social Sciences 7,3 : .255-259.

Senge, P. M. 1990. The fifth discipline : The art and practice of the learning Organization. New York : Doubleday.

Steers, R. M., Mowday, R. T., & Porter, L. W. 1979. “The measurement of Organizational commitment.” Journal of Vocational Behavior 14: 224-247.