การประเมินเชิงระบบโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลด้วยวิธีการประเมินเชิงระบบของ โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในระหว่างปี 2557-2558 ตามองค์ประกอบ 5 ด้าน คือด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านผลกระทบ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงสำรวจและการวิจัยพหุกรณีศึกษา สำหรับการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือโรงเรียนวิถีพุทธทั่วประเทศ 22,201 โรงเรียน ตัวอย่างจำนวน 635 โรงเรียน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน จากการพิจารณาค่า IOC ของแบบสอบถามแต่ละฉบับ มีค่าตั้งแต่ 0.80 – 1.00 การตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ที่เป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ ผลการวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวัดตัวแปรที่ใช้ในงานวิจัย ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาอยู่ระหว่าง 0.97-0.98 สำหรับผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้บริหารโรงเรียน หรือครูผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน 1 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการวิจัยพหุกรณีศึกษา คือโรงเรียนวิถีพุทธ 3 โรงเรียน โดยเลือกแบบเจาะจง โรงเรียนวิถีพุทธ 3 ประเภท คือ โรงเรียนวิถีพุทธทั่วไป โรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ และโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างและแบบสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลักแต่ละโรงเรียนคือ ผู้อำนวยการ 1 คน ครูประจำชั้น จำนวน 5 คน และนักเรียน จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าฐานนิยม และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า(1) ด้านบริบท พบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธมีความเหมาะในระดับมากที่สุด (2) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่าคุณภาพผู้บริหาร คุณภาพครู และคุณภาพระบบการบริหาร มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ทุกประเด็น (3) ด้านกระบวนการ พบว่า การปฏิบัติตามแนวทางการจัดการศึกษาตามอัตลักษณ์ 29 ประการ สู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธนั้น มีการปฏิบัติในระดับมาก (4) ด้านผลผลิต พบว่า นักเรียนโรงเรียนวิถีพุทธ มีคุณลักษณะทางกาย สังคม จิตใจ และปัญญา อยู่ในระดับมาก (5) ด้านผลกระทบ พบว่า การดำเนินงานของโรงเรียนวิถีพุทธ ที่ส่งผลต่อบ้าน วัด และโรงเรียนโดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกประเด็น
Article Details
1. กองบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
2. บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ข้อความและเนื้อหาในบทความที่ตีพิมพ์เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว มิใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
3.การคัดลอกอ้างอิงต้องดำเนินการตามการปฏิบัติในหมู่นักวิชาการโดยทั่วไป และสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
References
กระทรวงศึกษาธิการ . 2547. โรงเรียนวิถีพุทธ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ชาตรี นามคุณ. 2552. “การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนแกนนำโรงเรียนวิถีพุทธเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต1.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฏฐกิตติ์ ศรีสันต์. 2548. “ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธในภาคตะวันออก.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
บดินท์ ธรรมสังวาล. 2553. “การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพโรงเรียนวิถีพุทธ.” วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนคริน ทรวิโรฒ.
พระพิพิธสุตาทร และคณะ. 2549. การขยายผลการสร้างเครือข่ายโรงเรียนวิถีพุทธตามแนวสาระพระพุทธศาสนา. รายงานการวิจัยสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ไพรัช สู่แสนสุข และบรรเจอดพร สู่แสนสุข. 2546. สู่เส้นทางโรงเรียนวิถีพุทธ. กระทรวงศึกษาธิการ.
รัตนะ บัวสนธ์. 2555. ทิศทางและอาณาบริเวณร่วมสมัยทางการวิจัยและประเมินผลการศึกษา (2555-2552) บทความทางวิชาการ: สืบค้นเมื่อวันที่
30 พฤศจิกายน 2558.
วิโรจน์ สารรัตนะ. 2554. การวิจัยทางการบริหารศึกษา: แนวคิดและกรณี ศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์อักษราพิพัฒน์.
สุรศักดิ์ หลาบมาลา และรสสุคนธ์ มกรมณี. 2551. รูปแบบนวัตกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรม จริยธรรมของต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม. สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้(องค์การมหาชน).
Guttentag, M., and Struening, E.L. 1975. Handbook of Evaluation Research. Beverly Hills CA : Sage Publications.
Rossi, P.H. & Freeman, H.E. 1985. Evaluation: A Systematic Approach. 3rd ed. New Delhi: Sage Publications.
Stufflebeam, D.L., et al. 1971. Educational Evaluation and Decision Making. Itasca Illinois: Peacock Publishing.