การจัดรูปแบบยุทธวิธีในการฝึกอบรมผู้พิพากษาสมทบเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Authors

  • พรรณี หงส์พันธ์
  • อรวรรณ ศรีลิขิตตานนท์
  • พชรพรรณ กุลปวโรภาส
  • อาวุธ ปะเมโท

Keywords:

ผู้พิพากษาสมทบ, ยุทธวิธี, รูปแบบยุทธวิธีในการฝึกอบรม, องค์ประกอบเชิงมนุษย์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบด้านภูมิหลัง ประสบการณ์ การอบรมและการศึกษาของผู้พิพากษาสมทบในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อสร้างรูปแบบยุทธวิธีในการฝึกอบรมผู้พิพากษาสมทบเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการวิจัยนี้
จะเป็นประโยชน์ต่อการวางโครงการฝึกอบรมผู้พิพากษาสมทบเกี่ยวกับการประนอมข้อพิพาทในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้พิพากษาสมทบที่มีส่วนร่วมในการประนอม
ข้อพิพาทในชุมชน ทั้ง 19 จังหวัด จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 250 คน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผลการวิจัยพบว่า

ข้อพิพาท เนื่องจากต้องใช้ความสามารถและความอดทนเป็นอย่างมากในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะการผ่านการฝึกอบรมสัมมนาหลักสูตรระยะสั้น ๆ ทางด้านกฎหมาย และมีประสบการณ์
จากการทำงานร่วมกับหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชน ผู้พิพาทสมทบหรือผู้ประนอมข้อพิพาทส่วนใหญ่เป็นข้าราชการบำนาญและนักธุรกิจในชุมชนท้องถิ่นเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งมีความคุ้นเคยและง่ายต่อการปฏิบัติงานเป็นการร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหาสังคมได้เป็นอย่างดี

  1. ด้านภูมิหลัง ประสบการณ์ การอบรมและการศึกษาในระบบ ผลการวิเคราะห์พบว่าตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบ ส่วนใหญ่เป็นผู้พิพากษาสมทบที่มีบทบาทในการประนอมข้อพิพาท มีการไกล่เกลี่ยเพื่อลดความขัดแย้งอาจเนื่องจากเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับคนในชุมชน ส่วนใหญ่เคยผ่านการฝึกอบรมการประชุมสัมมนาและลงเรียนเสริม ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจและเป็นงานที่ท้าทายเกี่ยวกับการประนอม เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสัมภาษณ์
  2. ด้านองค์ประกอบเชิงมนุษย์ของผู้พิพากษาสมทบ ผลการวิเคราะห์พบว่า องค์ประกอบเชิงมนุษย์ของผู้พิพากษา มีความสำคัญมากในการจัดเตรียมการ เพื่อฝึกอบรมการประนอมข้อพิพาท
    การเข้าใจเกี่ยวกับการประนอมข้อพิพาท ในการประนอมข้อพิพาทควรจะเริ่มจากปัญหาและความต้องการของคนในชุมชนท้องถิ่น การประนอมข้อพิพาทใด ๆ ในชุมชนจะขึ้นอยู่กับผู้ที่มีวัยวุฒิและคุณวุฒิ หรือผู้ที่น่าเชื่อถือเป็นส่วนใหญ่ ผู้พิพากษาสมทบหรือผู้ประนอมข้อพิพาทควรทำงานร่วมกับกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน ข้อมูลที่เกี่ยวกับความรู้ซึ่งเกี่ยวกับแหล่งวิชาการของชุมชน

3. รูปแบบยุทธวิธีการจัดฝึกอบรม ผู้พิพากษาสมทบหรือผู้ประนอมข้อพิพาทคิดว่าวิธีการ
ที่เหมาะสมและสามารถปฏิบัตินั้น ควรจัดฝึกอบรมหลังที่ได้รับมอบหมายแต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษาสมทบ ปฏิบัติงาน และจัดฝึกอบรมเมื่อผู้พิพากษาสมทบหรือผู้ประนอมข้อพิพาทเข้าปฏิบัติหน้าที่แล้ว การฝึกอบรมก่อนผู้พิพากษาหรือผู้ประนอมข้อพิพาทจะปฏิบัติหน้าที่ควรฝึกอบรมก่อนปฏิบัติหน้าที่ต้องจัด 5 วัน การฝึกอบรมระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ฝึกอบรมทบทวน หรือฝึกอบรมเพิ่มเติมนั้น ควรจัดใน
การฝึกอบรมระหว่างปฏิบัติโดยคำนึงถึงสถานที่และค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม ทั้งงบประมาณส่วนบุคคลและงบประมาณจากส่วนกลาง

Downloads

Published

2018-01-30

Issue

Section

บทความวิจัย